บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในยุคดิจิทัล ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง)

ผู้แต่ง

  • กิรชัญญา ของโพธิ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุรวี ศุนาลัย สำนักมาตรฐานและบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์การ, ประสิทธิภาพการทำงาน, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในยุคดิจิทัล และศึกษาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง) ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 311 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1. บุคลากรที่มีเพศ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และประเภทบุคลากรที่แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการทำงานในยุคดิจิทัลแตกต่างกัน และ 2. บรรยากาศองค์การสามารถอธิบายการผันแปรของประสิทธิภาพการทำงานในยุคดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง) ได้ร้อยละ 38.10 ตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนาย ได้แก่ การให้การสนับสนุน (X2) ความผูกพัน (X3) ความรับผิดชอบ (X5) และมาตรฐาน (X6) สมการวิเคราะห์ถดถอย คือ gif.latex?\hat{y}= 1.586 + 0.109(X2) + 0.116(X3) + 0.150(X5) + 0.189(X6)

References

กนกกรณ์ เซ็นกลาง. (2563). บรรยากาศในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานเอกชนในจังหวัดสระบุรี. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กัญศิฌา ศรีสุริยงค์. (2561, 16 สิงหาคม). ความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

นิ่มนวล ทองแสน. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอางในเขตจังหวัดปทุมธานี [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2625

นุชรา การุณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน. ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เบญจพร กลิ่นสีงาม. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. Knowledge Bank at Sripatum University. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5558

ปฏิมา ถนิมกาญจน์ และ เพ็ญพร ปุกหุต. (2565). บรรยากาศองค์การส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานผ่านคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมสุรนารี. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 3(1), 83-96. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/260315

ปนัดดา จันทร์ป่า. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรกรมบัญชีกลาง (ส่วนกลาง). [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มะลิวรรณ อรรคเศรษฐัง และ สายตา บุญโฉม. (2559). บรรยากาศองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่กาฬสินธุ์. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน (น. 531-537). วิทยาลัยนครราชสีมา.

ระวิพร โนนทิง และ อาคม อึ่งพวง. (2560). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อองค์การสมรรถนะสูงขององค์กรในกำกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(3), 205-215. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ/article/view/124358

วนิดา พลเดช. (2560). อิทธิพลของบรรยากาศแห่งความสุขและความอัศจรรย์ภายในองค์การที่มีต่อความรู้สึกพึงพอใจและความรู้สึกผูกพันของบุคลากร: กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(98), 233-244. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/244067

สมยศ แย้มเผื่อน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานปฏิบัติการ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. https://bitly.ws/ZHeC

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (ม.ป.ป.). Digital literacy project. สำนักงาน ก.พ.https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

สุพิชัย ชูกิตติกุล และ จันทนา แสนสุข. (2561). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพการทำงานของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเซนต์จอห์น, 21(29), 1-18. https://sju.ac.th/web_news/detail/25

สุรีวัลย์ ใจงาม. (2560). บรรยากาศองค์กร แรงจูงใจในการทำงานและความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร]. Intellectual Repository at Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. https://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/2943

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson Education.

Ogunleye, P. O., Adeyemo, S. A., & Adebayo, S. A. (2021). Organisational climate and job satisfaction: Evidence from hotels in Osun State, Nigeria. Global Journal of Applied, Management and Social Sciences (GOJAMSS), 22, 61–69.

Peterson, E., & Plowman, E. G. (1989). Business organization and management. Irwin.

Stringer, R. (2002). Leadership and organizational climate: The cloud chamber effect. Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22