ปัจจัยประชากรศาสตร์และคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าหลัง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 : กรณีศึกษา ร้านอาหารระดับกลาง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภูมิระพี สุขบาง สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ธฤตวัน เจริญพร สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ปิยะนาฏ จันทร์กระจ่าง สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • กษิดิ์เดช ตรีทอง สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

ประชากรศาสตร์, คุณภาพการบริการ, การตัดสินใจใช้บริการ, ร้านอาหารระดับกลาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์และปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารระดับกลาง (Casual Dining Restaurant) หลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในกลุ่มลูกค้าแบบนั่งรับประทานในร้าน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการร้านอาหารนั่งรับประทานในร้าน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยทฤษฎีการเลือกกลุ่มตัวอย่างของ Cochran งานวิจัยนี้ใช้การเก็บแบบสอบถามในการเก็บรวบรวม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ที่ระดับ 0.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบ Stepwise

การวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ในด้านรายได้มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารมากที่สุด ตามด้วยปัจจัยด้านอายุ อาชีพ สถานภาพการสมรส และเพศ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารที่นั่งรับประทานในร้าน ตามลำดับ และด้านคุณภาพการให้บริการ การตอบสนองต่อลูกค้าและการให้ความเชื่อมั่นมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารระดับกลางมากที่สุด ส่วนความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ การรู้จักและเข้าใจ และความเป็นรูปธรรม อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยอย่างมากต่อการตัดสินใจใช้ร้านอาหารระดับกลาง

References

กฤษติยาภรณ์ อินต๊ะ. (2563). คุณภาพบริการของแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดเชียงราย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

กานต์ณัฐ ณ บางช้าง และ จิราวัลย์ จิตรถเวช. (2556). การคัดเลือกตัวแปรในตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นพหุโดยใช้วิธีการค้นหาแบบต้องห้าม. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 41(1), 250-261. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249101

เกตุวดี สมบูรณ์ทวี และ มณียา สายสนิท. (2565). อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีและบทบาทตัวแปรกำกับด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคไทย. วารสารปาริชาต, 35(2), 129–147. https://doi.org/10.55164/pactj.v35i2.249875

จารุชา เหมไพบูลย์. (2563). การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารยกยอริมคลองสมุทรสาคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม. https://e-research.siam.edu/kb/the-decision-making-of-going-to-eat/

จิรศักดิ์ ชาพรมมา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:90943

ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2552). คุณภาพการให้บริการภาครัฐ : ความหมาย การวัดและการประยุกต์ ในระบบบริหารภาครัฐไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 7(1), 105-146

ณนนท์ แดงสังวาลย์, ประสพชัย พสุนนท์, และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2563). การศึกษาสภาพการณ์ของการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นในกลุ่มจังหวัดเมืองรองเขตภาคกลาง: การวิจัยแบบผสมวิธี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 14(1), 121–138. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/253534

ณัฐวุฒิ รุ่งเสถียรภูธร. (2559). ประเภทของร้านอาหาร คุณภาพของอาหาร คุณภาพการบริการและสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2109

ณิชยา ศรีสุชาต. (2561). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าอาหารผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานคร. WMS Journal of Management, 9(3), 1-15. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wms/article/view/243617

นันท์นภัส สําราญรื่น และ สายพิณ ปั้นทอง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(1), 61-79. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/256724

พรชัย ขันทะวงค์, ชัชชติภัช เดชจิรมณี, ทศพล อัครพงษ์ไพบูลย์, และ จุฑามาส เอี่ยมจินดา. (2564). การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 1-17. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/251402

ภัสสร ธนาสุวิชากร, ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา, และอิงอร ตั้นพันธ์. (2563). คุณภาพการบริการร้านอาหารครัวไม้น้ำ. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(1), 86-96. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/240268

วัตตภรณ์ เอี่ยมปาน. (2565). ความแตกต่างด้านประชากรศาสตร์ของพนักงานเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Generation X) ที่มีผลต่อเรื่องความเครียดในการทํางานจากที่บ้าน (Work from home) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4738

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). Food delivery ช่องทางการขายที่จำเป็นแม้เผชิญความท้าทายสูง. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Food-Delivery-FB-20-09-2022.aspx

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). จำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2555-2565. https://data.go.th/en/dataset/https-sme-go-th-th-page-php-modulekey-348

Joshua, A. J., & Koshy, M. P. (2011). Usage patterns of electronic banking services by urban educated customers: Glimpses from India. Journal of Internet Banking and Commerce, 16, 1-12. https://www.icommercecentral.com/open-access/usage-patterns-of-electronic-banking-services-by-urban-educated-customers-glimpses-from-india.php?aid=38138

Kotler, P. (2000). Marketing management (millennium ed.). Prentice Hall.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41–50. https://doi.org/10.2307/1251430

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40. https://www.researchgate.net/publication/225083802_SERVQUAL_A_multiple-_Item_Scale_for_measuring_consumer_perceptions_of_service_quality

Riquelme, H. E., & Rios, R. E. (2010). The moderating effect of gender in the adoption of mobile banking. International Journal of Bank Marketing, 28(5), 328-341. http://dx.doi.org/10.1108/02652321011064872

Weinstein, J., & Pillai, V. K. (2015). Demography: The science of population (2nd ed.). Rowman & Littlefield.

Zeithaml, V. A., Bitner, M. J., & Gremler, D. D. (2006). Services marketing: Integrating customer focus across the firm (4th ed.). McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31