ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบ New e-Filing ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตของสำนักงานบัญชีในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
New e-Filing, สำนักงานบัญชี, การยอมรับเทคโนโลยี, การชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตบทคัดย่อ
ในปัจจุบันกรมสรรพากรให้ความสำคัญกับการปรับการให้บริการ โดยเริ่มการพัฒนาและปรับปรุงระบบให้มีความพร้อมด้านการให้บริการ และยกระดับการให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ หรือที่เรียกว่า New e-Filing และจังหวัดชลบุรีถือเป็นจังหวัดที่มีสำนักงานบัญชีมากที่สุดในภาคตะวันออก จำนวน 164 แห่ง นอกจากนี้จังหวัดชลบุรีมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จึงถือเป็นเมืองท่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคตะวันออกอีกทั้งจังหวัดชลบุรีมีบริษัทที่เป็นนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ในปี 2564 จำนวน 4,659 แห่ง ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบ New e-Filing ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานบัญชีในจังหวัดชลบุรี ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารและพนักงานที่ทำงานในสำนักงานบัญชี ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 ราย โดยการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ระบบ New e-Filing ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต มาเป็นระยะเวลา 1-2 ปี และมีความเห็นต่อระบบ New e-Filing เกี่ยวกับทางด้านของความน่าเชื่อถือ ประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยี การฝึกอบรม การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ และการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับการยอมรับมาก ทั้งนี้ปัจจัยการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ และด้านการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งาน มีอิทธิพลทางตรงต่อการยอมรับระบบ New e-Filing ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานบัญชีในจังหวัดชลบุรี โดยปัจจัยทางด้านความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี มีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ New e-Filing และปัจจัยประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยี และด้านการฝึกอบรม มีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งานระบบ New e-Filing
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). รายชื่อบริษัทนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ในจังหวัดชลบุรี. ผู้แต่ง.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). รายชื่อสำนักงานบัญชีในจังหวัดชลบุรี. ผู้แต่ง.
ทัตเทพ ทวีไทย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการในการฝึกอบรมของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 57-70. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/WTURJ/article/view/256212
ธนภัทร จอมแก้ว. (2558). อิทธิพลของการรับรู้ถึงประโยชน์ ความน่าเชื่อถือและการจัดการความรู้ต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการกูเกิล (Google) ในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2245
นิชานันท์ ชาวนา. (2559). ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ต ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1 [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56750104.pdf
บัณฑิตา โนโชติ. (2564). ประสบการณ์และการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงวัยหลังเกษียณ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีผลต่อความเต็มใจใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/27028
ปฐมาภรณ์ บำรุงผล. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพระบบสารสนเทศที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้ยื่นภาษีในธุรกิจภาคอุตสาหกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3075
ก้อย ประชาชาติ. (2561, 6 กรกฎาคม). ทำไมต้องชลบุรี. ประชาชาติธุรกิจ. https://www.prachachat.net/columns/news-186268
ประสิทธิ์ เผด็จพาล. (2563). ปัจจัยและการยอมรับในเทคโนโลยีในระบบของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี และการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต (บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล) [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Prasit.Pla.pdf
พัชรี ชยากรโศภิต. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับในเทคโนโลยีสารสนเทศของพนักงาน ในบริษัทโรงงานแม่รวย จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์, 9(1), 88-97. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/243887
ฟ้ารฬิณฑ์ ฟ้าฎิษฐกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้มีเงินได้ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่]. CMRUIR. http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2276
ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศกรณีศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่]. CMRUIR. http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1521
ศศิพร เหมือนศรีชัย. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ ERP software ของผู้ใช้งานด้านบัญชี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:121437
สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2558). ทฤษฎีเกี่ยวกับการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1), 1-21. http://www.it.kmitl.ac.th/~journal/index.php/main_journal/article/view/2/4
สุดารัตน์ เสงี่ยมชื่น. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการฝึกอบรมผ่านเว็บของพนักงานธนาคารแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2105
หรรษา ศรีสมบูรณ์. (2551). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบุคลากรสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/7706
อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษากรมการพัฒนาชุมชนศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/933
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley and Sons.
Maji, S. K., & Pal, K. (2017). Factors affecting the adoption of e-Filing of income tax returns in India: A survey. IUP Journal of Accounting Research & Audit Practices, 16(1), 46-66. https://ssrn.com/abstract=3100051
ANN, S., Daengdei, J., & Vongurai, R. (2021). Factors affecting acceptance and use of e-tax services among medium taxpayers in Phnom Penh, Cambodia. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(7), 79-90. https://doi.org/10.13106/jafeb.2021.vol8.no7.0079
Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS quarterly, 27(3), 425-478. http://dx.doi.org/10.2307/30036540
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น