การตลาดเชิงประสบการณ์และการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • อนิวัฒน์ สุขประเสริฐ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีความจริงเสมือน, การตลาดเชิงประสบการณ์, การยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือน, ความตั้งใจซื้อสินค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 4. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เคยเห็นการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test F-test และ Multiple Regression Analysis  

ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเห็นด้วยมากที่สุดกับการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน และมีการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนด้านประสาทสัมผัส ด้านความรู้สึก ด้านการกระทำ และด้านการเชื่อมโยงมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคโดยด้านการกระทำมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรู้สึก ด้านประสาทสัมผัส และด้านการเชื่อมโยงตามลำดับ ซึ่งการตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน สามารถอธิบายความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ร้อยละ 34.00 และพบว่า การยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือนของผู้บริโภคมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน มีอิทธิพลมากกว่าด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ซึ่งการยอมรับเทคโนโลยีความจริงเสมือน สามารถอธิบายความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ร้อยละ 28.90

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรยาพร เสมอใจ, สมคิด อิสระวัฒน์, และ สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ. (2545). การจัดการเชิงกลยุทธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลิดา อู่ผลเจริญ. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบการตลาดเชิงประสบการณ์ที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมผ่านแคมเปญสื่อสารการตลาด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. NIDA Wisdom Repository. https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5425

ชุตินันท์ เชี่ยวพานิชย์. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการ Application grab ของเจเนอเรชั่น C [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace at Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1423

ญาตาวี ทิพย์เที่ยงแท้. (2565). อิทธิพลของเทคโนโลยีความจริงเสริมที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางผ่านทัศนคติต่อเทคโนโลยี [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4576

ณัฐวรรธน์ คูณเอนกสิน. (2561). การตลาดเชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน ต่อความตั้งใจซื้อคอนโดของผู้บริโภค [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไพโรจน์ ไววานิชกิจ. (2561). การศึกษาการเติบโตของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน และความเป็นจริงเสริมกับผลกระทบที่มีต่อเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 5 จี. วารสาร กสทช, 2(2), 153-171. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/view/148550

ศุภากร นิลน้อย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเสมือนจริงในเกมออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือในช่วงโควิด-19 ของกลุ่ม Young mass audience [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4501

อดุลย์ จาตุรงคกุล, ดลพร สุนทรธรรม, และ ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Agarwal, R., & Prasad, J. (1997). The role of innovation characteristics and perceived voluntariness in the acceptance of information technologies. Decision Sciences, 28, 557-582. http://dx.doi.org/10.1111/j.1540-5915.1997.tb01322.x

Bishop, G., & Fuchs, H. (1992). Research directions in virtual environments: Report of an NSF Invitational Workshop, March 23-24, 1992. ACM SIGGRAPH Computer Graphics, 26(3), 153–177. https://doi.org/10.1145/142413.142416

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-339. https://doi.org/10.2307/249008

Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35, 982-1003. http://dx.doi.org/10.1287/mnsc.35.8.982

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and research. Addison-Wesley. https://people.umass.edu/aizen/f&a1975.html

Gigante, M. A. (1993). Virtual reality: Definitions, history and applications. In Virtual reality systems (pp. 3-14). Elsevier

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Prentice Hall.

Marshall, M., & McLuhan, E. (1988). Laws of media: The new science. University of Toronto Press.

Mathieson, K. (1991). Predicting user intentions: Comparing the technology acceptance model with the theory of planned behavior. Information Systems Research, 2(3), 173-191. http://dx.doi.org/10.1287/isre.2.3.173

Phuangthong, D., & Malisawan, S. (2005). A study of behavioral intention for 3g mobile internet technology: Preliminary research on mobile learning. In A proceedings of the 2nd international conference on e-learning for knowledge-based society, Bangkok.

Schmitt, B. H. (1999). Experiential marketing. Journal of Marketing Management, 15, 53-67. http://dx.doi.org/10.1362/026725799784870496

Taylor, S., & Todd, P. A. (1995). Understanding information technology usage: A test of competing models. Information Systems Research, 6(2), 144-176. http://dx.doi.org/10.1287/isre.6.2.144

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. Collier Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31