ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจไม้ประดับ (ไม้ล้อม) เพื่อการส่งออกในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ไม้ประดับ (ไม้ล้อม), การส่งออกทางตรง, การส่งออกทางอ้อม, ผู้ประกอบการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ และปัจจัยเชิงกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของการส่งออกไม้ประดับ (ไม้ล้อม) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการ จำนวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบครอบครัว ซึ่งจะส่งออกในประเทศแถบตะวันกลางเป็นหลัก โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ ได้แก่ 1. ปัจจัยด้านบุคลากรเป็นปัจจัยหลักของธุรกิจ โดยทุกคนจะได้รับการสอนงาน และสามารถปฏิบัติงานเหมือนกันได้ทุกตำแหน่ง 2. ปัจจัยด้านเงินทุนจะมีค่าใช้จ่ายหลักเป็นค่าจ้างพนักงาน 3. ปัจจัยด้านวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์จะพบว่าต้นไม้ที่จัดจำหน่ายในบางช่วงของฤดูกาลมีความไม่สัมพันธ์กับความต้องการของตลาด โดยต้นไม้ล้อมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ ต้นสะเดา และต้นหางนกยูง รองลงมา ต้นหูกระจง ต้นชงโค ต้นจามจุรีสีทอง และต้นคูณ 4. ปัจจัยด้านการบริหารจัดการพบว่า ผู้ประกอบการจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ตั้งแต่การแจกจ่ายงาน การวางแผนและจัดสรรเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ และการควบคุมปริมาณได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นระเบียบและบรรลุผลสำเร็จได้ สำหรับปัจจัยเชิงกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ด้านการส่งออกทางตรง ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสกระจายสินค้าที่มีอยู่ในมือได้เพิ่มมากขึ้น สินค้ามีการหมุนเวียนอยู่ตลอด และจะไม่โดนบวกราคาจากตัวแทนกลาง แต่ข้อเสียเปรียบคือ ลูกค้าอาจผิดนัดชำระเงินและการจัดเตรียมเอกสารทั้งหมดด้วยตนเอง และด้านการส่งออกทางอ้อม ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลด้านการผิดนัดชำระเงิน ความเสี่ยงด้านการขนส่ง กฎข้อบังคับของแต่ละประเทศ และไม่ต้องรับผิดชอบหากต้นไม้ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง แต่ข้อเสียเปรียบ คือ การไม่ได้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง และในระยะยาวการได้รับผลตอบแทนที่น้อยลง
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). ไม้ล้อม. ผู้แต่ง.
กรมส่งเสริมการเกษตร, กลุ่มส่งเสริมไม้ดอกและไม้ประดับ. (2564). ไม้ประดับ. ผู้แต่ง.
กิตติคุณ แสงนิล และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2562). การสร้างนวัตกรรมในธุรกิจการให้บริการทางกีฬา: กระบวนการสร้างมโนทัศน์. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ, 45(2), 14-32. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tahper/article/view/243316
กิตติมา ศรีสิงห์. (2559). การพัฒนาระบบบริหารจัดการวัสดุของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3664/1/20201112-Research_kittima_s_59.pdf
ชญานันท์ ใสกระจ่าง. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของบริษัทนำเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยการเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. NIDA Wisdom Repository. https://repository.nida.ac.th/items/3fa43b51-6c5e-4363-b376-8cd29cf2d327
ณัฐพร รัตคธา. (2555). การวิเคราะห์การประกอบการธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMUIR. http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/11499
เทียนศรี บางม่วงงาม. (2562). ปัจจัยที่มี่ความความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ผ่านโครงการอบรมวิศวกรใหม่ กรณีศึกษา: บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก]. https://alist.thailis.or.th/krirk/BibDetail.aspx?bibno=29126
ธนภร เหมือนใจ. (2562). ปัจจัยและกิจกรรมทางโลจิสติกส์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 จังหวัดนครนายก [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3749
ธีทัต ตรีศิริโชติ. (2564). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการด้านการพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ต่อการดำเนินธุรกิจ [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยบูรพา]. BUUIR. https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/4297/3/2565_179.pdf
นราเขต ยิ้มสุข. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ประกอบการกับความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม: กรณีศึกษาธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:123787
นฤมล เหรียญมหาสาร. (2558). กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกที่มีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มดิบของไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2491
นิภาพร มีชำนาญ. (2554). กลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับ: กรณีศึกษาหมู่บ้านดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/712
ปิยาพร ห้องแซง. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงาน สาขาธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Man/Piyaporn_H.pdf
มัทนา วิไลลักษณ์. (2560). การจัดการองค์กรทางศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษา มูลนิธิดุริยประณีต [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5423034247_8217_7271.pdf
รุ้งนภา เล่าเปี่ยม. (2556). การบริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. SURE. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/7189
วิเชียร พุทธศรี. (2561). การส่งออกไม้ขุดล้อมที่ใช้ในงานภูมิทัศน์ ข้อสังเกต: มาตรการทางภาษีในการควบคุมการส่งออก. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 213-224. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/163205
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. (2557, 8 เมษายน). Man money material management. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/573508
ศราพก จินามา. (2550). การซื้อขายไม้ดอกไม้ประดับในตลาดคำเที่ยงจังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMU Intellectual Repository. http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/7709
สัญญา บริสุทธิ์ และ นุจรี ภาคาสัตย์. (2562). คุณลักษณะผู้ประกอบการ ภูมิความรู้ความชำนาญที่นำไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 12(5), 1090-1107. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/179002
เสาวลักษณ์ กิตติธนวัตรกรม. (ม.ป.ป.). สถานการณ์และทิศทางไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทยในปี 2563. https://shorturl.asia/8qIZB
โสภณ พรโชคชัย. (2565, 31 พฤษภาคม). ราคากลางไม้ขุดล้อม ต.ชะอม 2562-2565. AREA. https://www.area.co.th/t/5607
อนุกูล โกมลอุปถัมภ์, ปาริชาติ ธีระวิทย์, และ ทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 252-270. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247149
อลงกต สารกาล, พุทธิพร พลอยผักแว่น, และ บารมี วรรณพงศ์เจริญ. (2565). การประยุกต์ใช้ 4M ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 20(3), 34-62. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/256513
อัศกร ปานเพชร. (2559). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการเข้าสู่ตลาดของกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3045
Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77-101. http://dx.doi.org/10.1191/1478088706qp063oa
Clausson, C, F., & Johansson, D. (2011). Entry mode strategy for entering a foreign market with a new product: A case study of a small Swedish firm and their access to the State of California. [Master’s Thesis, University of Gothenburg]. GUPEA. https://gupea.ub.gu.se/bitstream/handle/2077/26299/gupea_2077_26299_1.pdf?sequence=1
Khadka, B., & Akande, S. (2018). Market entry strategy: Case company- MAMTUS [Master’s Thesis, Oulu University of Applied Sciences]. Theseus. https://www.theseus.fi/bitstream/handle/10024/147140/Thesis%202018%20final.pdf?sequence=1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น