การศึกษาเปรียบเทียบการใช้เทคนิคลีนในร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทฮอตพอต กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ภควัต ไศละสูต วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • เทียน เลรามัญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

เทคนิคลีน, แนวคิดแบบลีน, ความสูญเปล่า, ร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทฮอตพอต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็น การใช้เทคนิคลีนของผู้ประกอบการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ประเภทฮอตพอทขนาดที่แตกต่างกัน 2. เปรียบเทียบการใช้เทคนิคลีน จำแนกตามขนาดร้านอาหารบุฟเฟต์ ประเภทฮอตพอตที่แตกต่างกัน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 จำนวน ที่แตกต่างกันทั้ง 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก 1 จำนวน ขนาดกลาง 1 จำนวน และ 1 ขนาดใหญ่ 1 จำนวน โดยใช้เกณฑ์พื้นที่ใช้สอยเป็นตัวกำหนดในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ความแตกต่างระดับการใช้เทคนิคลีนด้วยสถิติการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน เพื่อตรวจสอบเทคนิคลีนทั้ง 8 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า ร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทฮอตพอต มีการใช้เทคนิคลีนที่แตกต่างกันตามขนาดของร้านและ ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างของการนำแนวคิดลีนต่อร้านอาหารทั้ง 3 ขนาดแตกต่างกันคือ ร้านขนาดเล็กยังขาดการนำแนวคิดการจัดการแบบลีนมาใช้ในด้านระบบปฎิบัติการ เช่น การขาดการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ไม่มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ พนักงานขาดประสิทธิภาพ และพนักงานมี Turnover Rate สูง ร้านขนาดกลางยังขาดการนำแนวคิดการจัดการแบบลีนมาประยุกต์ใช้ในด้านการปรับแต่งเครื่องมือด้วยตนเองอย่างเหมาะสม เช่น กล่องระบบตัด Compressor ของเครื่องปรับอากาศ การลดการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาโดยใช้หัวจ่ายน้ำระบบฉีดสเปรย์ ร้านขนาดใหญ่มีการนำแนวคิดและเทคนิคต่าง ๆ ของลีนนำมาใช้อย่างหลากหลาย แต่ยังสามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยด้านระบบปฎิบัติการ ด้านการเคลื่อนไหวของพนักงานและ ด้านการปรับแต่งเครื่องมือด้วยตนเองอย่างเหมาะสม พบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทฮอตพอตจะมีการเข้มงวดและเน้นย้ำเรื่องปัจจัยการลดค่าใช้จ่าย ด้านการควบคุมวัตถุดิบและด้านการเตรียมวัตถุดิบ แต่ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้ง 3 ขนาด ยังต้องทำความเข้าใจและตระหนักรู้ในการนำแนวคิดแบบลีนมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนในหลาย ๆ ด้าน เพื่อศึกษาเพิ่มพูนความรู้เทคนิคต่าง ๆ อันจะส่งผลทำให้การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและเพิ่มความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มากขึ้น

References

ชัยนันท์ ไชยเสน. (2565). ทำไมธุรกิจร้านอาหารไม่ประสบความสำเร็จและแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 16(2), 85-96. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/154334

ชุติมา ชูสิทธิ์. (2559). แนวทางในการจัดการธุรกิจร้านอาหารชาบูเพื่อความอยู่รอดในอนาคต [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1860

ทักษญา สง่าโยธิน. (2565). การปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเพื่อการดํารงอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารสยามวิชาการ, 24(42), 57-74. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/1665

พีรยา สมศักดิ์, อรไท เขียวชอุ่ม, และ ตะวัน วาทกิจ. (2566). อิทธิพลของการรับรู้ลักษณะเด่นของร้านอาหารบุฟเฟต์ชาบูในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการใช้บริการของผู้บริโภค. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(4), 45-58. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2347

วชรวิช รามอินทรา, ญฐพร สัจวิทย์วิศาล, และ ปานชนก จำรัสธนสาร. (2565). เงินเฟ้อโลก เงินเฟ้อไทยและทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง. ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-65-1/hightlight-65-1.html

วธูสิริ ชะลอกลาง และ สมหมาย อุดมวิทิต. (2565). มูลค่าขยะอาหารของธุรกิจร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองและอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(3), 85-96. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/257805

หม่าล่า-ปิ้งย่าง” โตแรง 6 เดือนร้านอาหารเกิดใหม่ ทะลุหลักแสน. (2566, 20 สิงหาคม). ฐานเศรษฐกิจ. https://www.thansettakij.com/business/marketing/573864

อมรินทร์ทีวี. (2565, 18 กุมภาพันธ์). สำนักงานสถิติแห่งชาติเผยกรุงเทพรายได้เฉลี่ยครัวเรือนสูงสุด เชียงรายน้อยสุด. https://www.amarintv.com/news/detail/122343

Donarumo, J., & Zandy, K. (2019). The lean builder: A builder’s guide to applying lean tools in the field. Lulu Publishing Service.

Du, W., Zhang, J., Li, Y., He, F. J., Zhou, X., Xu, Z., Gao, Y., Yin, L., Chang, X., Yan, W. Q., Tan, M., MacGregor, G. A., Luo, R., Zhang, P., & Wang, H. (2020). Restaurant interventions for salt reduction in China: Protocol for a randomised controlled trial. BMJ Open, 10(12), Article e038744. https://doi.org/10.1136/bmjopen-2020-038744

Figueiredo, J. O. (2021). How to integrate sustainability in the restaurant business: A case study of the first zero-waste Portuguese restaurant [Master’s thesis, Instituto Universitario De Lisboa]. iscte. https://repositorio.iscte-iul.pt/handle/10071/23894

Jacobs, F. R., & Chase, R. B. (2019). Operations and supply chain management: Core 5e (5th ed.). ‎McGraw Hill.

Wakamatsu, Y. (2017). The Toyota mindset, the ten commandments of Taiichi Ohno. ‎Productivity Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25