การสื่อสารการตลาดดิจิทัล และคุณภาพการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาดดิจิทัล, คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์, แพลตฟอร์มดิจิทัล, โมเดิร์นเทรดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรด 2. เปรียบเทียบการตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรด จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ 3. ศึกษาผลกระทบของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่มีต่อการตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรด และ 4. ศึกษาผลกระทบของคุณภาพการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีต่อการตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ จากผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยเห็นหรือเคยใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรด จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย t-Test F-test และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ที่เป็นตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรดอยู่ในระดับมาก และพบว่า ผู้ที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และสถานภาพสมรสที่แตกต่างกัน มีการตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรดแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า การสื่อสารการตลาดดิจิทัลด้าน Remarketing และด้านการตลาดเนื้อหา ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถอธิบายความตั้งใจซื้อได้ร้อยละ 3.5 (Adjusted R2 = 0.035) และพบว่า คุณภาพการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการชดเชยลูกค้าเมื่อเกิดความเสียหาย และด้านการทำให้บรรลุเป้าหมาย ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลโมเดิร์นเทรด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งตัวแปรทั้งสองสามารถอธิบายความตั้งใจซื้อได้ร้อยละ 24.9 (Adjusted R2 = 0.249) ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงธุรกิจที่ต้องการการพัฒนาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คุณภาพในการให้บริการธุรกิจค้าปลีกบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อนำไปปรับปรุงในใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด และสามารถตอบสนองความต้องการให้กับผู้บริโภคได้
References
กณิศา อุปพงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มฟังก์ชั่นนัลประเภทน้ำดื่มเติมวิตามินของผู้บริโภค Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3938
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์. (2566, 19 เมษายน). ttb คาดตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวอีก 5.5% ในปี 66 แนะ SME รับมือพร้อมโต. Thairath Money. https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/banking_bond/2683521
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขนิษฐา ศาลางาม. (2562). ปัจจัยด้านคุณภาพให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการผ่านระบบธุรกรรมออนไลน์ของธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต]. RSUIR at Rangsit University. https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/277
ชลันธร สุขสถาน. (2565). คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเช่ารถยนต์ผ่านเว็บไซต์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:306217
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2564, 29 มกราคม). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2564-2566: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. วิจัยกรุงศรี. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/io-modern-trade-21
นุชนันท์ รุ่นประพันธ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านการโฆษณาแบบรีทาร์เก็ตติ้งและโฆษณาแบบรีมาร์เก็ตติ้งผ่านอีเมล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:91067
ปาลินพันธุ์ พันธุ์งาม. (2560). ทิศทางบทความรีวิวและประเภทของเนื้อหาบทความรีวิวร้านอาหารบน Twitter ที่มีผลกระทบต่อทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค Generation Y [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:140023#
สิริบุญรัตน์ สังขนิตย์. (2563). อิทธิพลของคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการใช้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:185944
สุพรรณี อินทร์แก้ว. (2558). การบริหารการค้าปลีก (พิมพ์ครั้งที่ 3). ธนาเพรส.
อนุพงษ์ เกรียงไกรลิปิกร. (2566). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อการจองห้องพักแบบออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5498
อัฐพล วุฒิศักดิสกุล. (2560). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจใช้บริการขนส่งออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2829
Billewar, S. R., & Babu, D. H. (2012). Approach to improve quality of E-Commerce. International Journal of Recent Technology and Engineering, 31, 36-39.
Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques. John Wiley & Sons.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297–334. https://doi.org/10.1007/BF02310555
Khairunnisa, S., Hafidhuddin, D., & Tanjung, H. (2018). Online purchase intention: Study case Moslem (Islamic) fashion (hijup.COM). International Journal of Accounting, Finance and Business, 3(16), 35-47. https://myjurnal.mohe.gov.my/public/article-view.php?id=133328
Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). Pearson Education.
Laudon, K. C., & Traver, C. G. (2004). E-commerce: Business, technology, society (4th ed.). Pearson Education.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Malhotra, A. (2005). E-S-QUAL: A multiple-item scale for assessing electronic service quality. Journal of Service Research, 7(3), 213-233. https://doi.org/10.1177/1094670504271156
Santos, J. (2003). E-service quality: A model of virtual service quality dimensions. Managing Service Quality: An International Journal, 13(3), 233-246. https://doi.org/10.1108/09604520310476490
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น