ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าชุดคอสเพลย์ของกลุ่มเจเนอเรชั่น Y และเจเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, อิทธิพลของการบอกต่อ, การตัดสินใจเลือกเช่าชุดคอสเพลย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกเช่าชุดคอสเพลย์ของกลุ่มเจเนอเรชั่น Y และเจเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย และศึกษาอิทธิพลของการบอกต่อในการตัดสินใจเลือกเช่าชุดคอสเพลย์ของกลุ่มเจเนอเรชั่น Y และเจเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ซึ่งเคยเช่าชุดคอสเพลย์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรในการบริการและด้านกระบวนการให้บริการ ส่งผลต่อการตัดสินใจการตัดสินใจเลือกเช่าชุดคอสเพลย์ของเจเนอเรชั่น Y และ เจเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และอิทธิพลของการบอกต่อส่งผลต่อการตัดสินใจการตัดสินใจเลือกเช่าชุดคอสเพลย์ของเจเนอเรชั่น Y และ เจเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
จินตนา พงศ์เพิ่มกิจวัฒนา. (2557). การศึกษาระดับความคาดหวังของชุดคอสเพลย์ที่ตัด และทัศนคติของอิทธิพลของการบอกต่อของบุคคลอื่นที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านตัดชุดคอสเพลย์ของคอสเพลย์เยอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1118
ชนิดา พัฒนกิตติวรกุล. (2553). E-word of mouth มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา E-marketplace ในประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:122060
ณัฐชยา บุญมี. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเช่าชุดแต่งงานของประชาชนในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/161765.pdf
ณัฐพล ม่วงทำ. (2566, 16 พฤศจิกายน). สรุป Insight Gen X, Gen Y, Gen Z, Alpha และ baby boomer ปี 2024 จาก TCDC. Everydaymarketing. https://shorturl.asia/Wf9us
รมย์นลิน นิจบุญอนันต์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเช่าชุดราตรีและการสื่อสารแบบปากต่อปากของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1747
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). กลยุทธ์การตลาด: การบริหารการตลาดยุคใหม่. โรงพิมพ์ไดมอนอินบิสสิเน็ตเวิร์ล.
สมาคมอุตสาหกรรมคอสเพลย์ไทย. (2563). ประกาศเจตจำนงค์จัดตั้ง “สมาคมอุตสาหกรรมคอสเพลย์ไทย” กับโอกาสธุรกิจของคนรุ่นใหม่. Propsops. https://propsops.com/magazine/announcement-thai-cosplay-industry-association/
PPTV Online. (2566, 8 กรกฎาคม). ส่องโอกาสดัน “คอสเพลย์สัญชาติไทย” โตในตลาดเกมมูลค่า 4 หมื่นล้าน. PPTVHD36. https://shorturl.asia/JwNij
TerraBKK. (2562). Where Y? สัดส่วน Gen Y ในประเทศไทย. https://www.terrabkk.com/articles/191968.
Arizton Advisory & Intelligence. (2023, March). Cosplay costumes & wigs market-global outlook & forecast 2023-2028. https://www.arizton.com/market-reports/cosplay-costumes-and-wigs-market
Arndt, J. (1967). Role of product-related conversations in the diffusion of a new product. Journal of Marketing Research, 4(3), 291-295. https://doi.org/10.1177/002224376700400308
Belch, G., & Belch, M., (2009). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective. McGraw-Hill/Irwin.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley.
Hawkins, D. I., Best, R. J., & Coney, K. A. (2004). Consumer behavior: Building marketing strategy (7th ed.). McGraw-Hill Irwin.
Kotler, P. (2020). Marketing and value creation. Journal of Creating Value, 6(1), 10-11. https://doi.org/10.1177/2394964320903559
Swanson, S. R., & Charlene Davis, J. (2003). The relationship of differential loci with perceived quality and behavioral intentions. Journal of Services Marketing, 17(2), 202-219. https://doi.org/10.1108/08876040310467943
Westbrook, R. A. (1987). Product/consumption-based affective responses and postpurchase processes. Journal of Marketing Research, 24(3), 258–270. https://doi.org/10.2307/3151636
Yi, Y. (1990). A critical review of consumer satisfaction. In V. A. Zeithaml (Ed.), Review of marketing (pp. 69-123). American Marketing Association.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น