การตลาดดิจิทัลและความคิดเห็นที่ส่งผลต่อเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก สะอาดแก้ว วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุกัญญา สิงห์ตุ้ย วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ชุติธารรัฐ อุตมะสิริเสนี วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การตลาดดิจิทัล, เส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้า, ความคิดเห็นต่อการรับชมไลฟ์สตรีมมิ่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของการตลาดดิจิทัลและความคิดเห็นที่มีต่อเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของกลุ่มผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริโภค Gen Y ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2524-2539 และอาศัยอยู่ในจังหวัด
สุราษฎร์ธานีที่เคยซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งจำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test F-test และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส แตกต่างกัน มีเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในซื้อสินค้าทางไลฟ์สตรีมมิ่ง นอกจากนี้ ยังพบว่า การตลาดดิจิทัลสามารถอธิบายเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของกลุ่มผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ 71.80% (R2 = 0.516) โดยการตลาดดิจิทัลที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านเว็บไซต์ รองลงมา คือ ด้านตลาดเชิงเนื้อหา ด้านตลาดบนมือถือและแอพพลิเคชั่น ด้านตลาดแบบไวรัล และด้านประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ตามลำดับ ผลการศึกษายังพบว่า ความคิดเห็นสามารถอธิบายเส้นทางพฤติกรรมลูกค้าในการซื้อสินค้าผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งของกลุ่มผู้บริโภค Gen Y ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ 77.80% (R2 = 0.606) โดยความคิดเห็นที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านธุรกิจ รองลงมาคือ ด้านการสื่อสาร ด้านการแสดงออกถึงตัวตน ด้านการบันเทิง และด้านผลกระทบต่อสังคม ตามลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำผลวิจัยนี้ ไปวางแผนสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคและเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการเลือกช่องทางการทำการตลาดได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ในอันที่จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมการตลาดดิจิทัลเพื่อกระตุ้นผู้ซื้อได้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการทำธุรกิจต่อไป

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูล. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

ชลิตา จังวิจิตรกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับชมการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live streaming) [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2828

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัย: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2565). Digital marketing 8th edition concept, case & tools (2022) (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไอดีซี พรีเมียร์.

ธนารัตน์ สุธีลักษณ์ และ ปราณี เอี่ยมละออภักดี. (2567). การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลและเส้นทางประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้าที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 14(1), 123-132. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/269913

นิปุณ ปวรางกูร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านการรับชม Live commerce [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตล, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4529

พัสพล เฉลิมบงกช. (2564). การตัดสินใจซื้อของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมความงามในกลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่ซื้อสินค้าออนไลน์กรณีศึกษา Central online [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4208/1/TP%20BM.060%202564.pdf

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมี บุ๊คส์.

ศาสตะสิน ก้อนชัยภูมิ. (2564). การตลาดแบบดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตอบสนองต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครในช่วงสถานการณ์โควิด 19 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Sattsin.Kon.pdf

ศุภรานันท์ กาญจนกุล. (2560). พฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครต่อการรับชม Live video streaming [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Supparanum.Kan.pdf

สุพินดา วงษ์บุรี. (2547). ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการจัดตั้งและการเปิด คณะวิชาของวิทยาเขตสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรเดช สุเมธาภิวัฒน์. (2562). กลยุทธ์ส่งเสริมการขายมุ่งสู่ผู้บริโภคในยุค Digital Marketing. วารสารวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 172-177. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/176858

เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/519

PACKHAI. (2566, 4 สิงหาคม). ไลฟ์สดขายของมีข้อดียังไง เหมาะกับสินค้าแบบไหน ทำไมร้านค้าออนไลน์ยุคนี้ถึงต้องทำ. https://packhai.com/what-is-sale-live-streaming/

Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Son.

Dewey, J. (1910). How we think. D.C. Heath. https://bef632.wordpress.com/wp-content/uploads/2015/09/dewey-how-we-think.pdf

Kemp, Simon. (2023, Febuary 13). Digital 2023: Thailand. DATAREPORTAL. https//datareportal.com/reports/digital-2023-thailand

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13