การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อความเสี่ยงขององค์กรการเงินชุมชน ภายใต้สภาวการณ์ COVID-19
คำสำคัญ:
องค์กรการเงินชุมชน, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, ความเสี่ยง, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยขององค์กรการเงินชุมชนทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน 2. ศึกษาความเสี่ยงขององค์กรการเงินชุมชน 3. วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงขององค์กรการเงินชุมชนภายใต้สภาวการณ์ COVID-19 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงขององค์กรการเงินชุมชน ภายใต้สภาวการณ์ COVID-19 กลุ่มตัวย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ สถาบันการเงินชุมชน จำนวน 10 แห่ง โดยเลือกตัวอย่างแบบโควตาแห่งละ 20 คน รวมเป็น 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการปรับโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันตัวแปรปัจจัยจูงใจ (FO) มีค่า CMIN/df=2.8072, CFI=0.945, IFI=0.938, RMR=0.046, RMSEA=0.044 และมีค่า p-value of Chi-square = 0.000 ตัวแปรปัจจัยค้ำจุน (FH) มีค่า CMIN/df=2.747, CFI=0.935, IFI=0.910, RMR=0.010, RMSEA=0.044 และมีค่า p-value of Chi-square = 0.000 ตัวแปรความเสี่ยงในการบริหารจัดการองค์กร (Risk) มีค่า CMIN/df=2.697, CFI=0.934, IFI=0.950, RMR=0.034, RMSEA=0.045 และมีค่า p-value of Chi-square = 0.000 ดังนั้น โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันดังกล่าว มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
กระทรวงการคลัง. (2562). สถาบันการเงินประชาชน. (2566, 15 ธันวาคม). http://pfi.fpo.go.th/pfi/
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะจิตวิทยา. (2559, 18 พฤศจิกายน). Job satisfaction: ความพึงพอใจในงาน. https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/job-satisfaction/
วรารัตน์ เขียวไพรี. (2560). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี]. Dhonburi Rajabhat University Intellectual Repository. https://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1266
อังคณา ประเสริฐศรี, ฤกษ์ชัย ฟูประทีปศิริ, และฆณการ ภัณณิพงศ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถาบันการเงินชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(2), 1-12. https://www.shorturl.asia/ob5XI
Arka’a, A. (2018). The effect of motivator factors and hygiene factors on employee work motivation. JEM: Jurnal Ekonomi dan Manajemen STIE Pertiba Pangkalpinang, 4(2), 1–15. https://mpra.ub.uni-muenchen.de/92155/
Azman, A. N. A., Salleh, S. K., Othman, J., Nejad, M. Y., Kassim, A. A. M., & Talib, Z. M. (2022). The factors affecting enterprise risk management in the public listed financial services sector. Journal of Management and Science, 20(1), 25-33. https://doi.org/10.57002/jms.v20i1.215
Bahadori, M., Raadabadi, M., Teymourzadeh, E., & Yaghoubi, M. (2022). Confirmatory factor analysis of the herzberg job motivation model for workers in the Military Health Organizations of Iran. Journal of Military Medicine, 17(2), 65–71. https://militarymedj.bmsu.ac.ir/article_1000589.html?lang=en
Bollen, K. A. (2014). Structural equations with latent variables. John Wiley and Sons.
Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission. (2017). Enterprise risk management: Integrating with strategy and performance. Author.
Grebel, P. V., & Rajmane, S. (2023). Proposed framework and method for integrating risks into an organizational setting. Journal of Enterprise and Business Intelligence, 3(3), 126-134. https://doi.org/10.53759/5181/jebi202303013
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1993). The motivation to work (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. R. (2008). Structural equation modelling: Guidelines for determining model fit. The Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53-60. https://academic-publishing.org/index.php/ejbrm/article/view/1224
Kline, R. B. (2016). Principles and practice of structural equation modeling (4th ed.). Guilford Press.
Kudaibergenov, Z., Bolatova, B., Kurmanalina, A., & Balginova, K. (2024). Analyzing the influence of hygienic and motivating factors on employee performance: Insights of HRM practices from university and industry settings. Journal of Eastern European and Central Asian Research, 11(2), 202-217. https://doi.org/10.15549/jeecar.v11i2.1429
Mahmood, R., Aziz, N., Ahmad, Z., Mulyana, M., & Nasir, W. F. W. (2023). The motivational factors and employee performance: An empirical study in Malaysian Public University. International Journal of Academic Research in Economics and Management and Sciences, 12(2), 255–271. https://doi.org/10.6007/IJAREMS/v12-i2/17241
Pham, H. V., & Nguyen, H. T. H. (2020). The effect of motivation and hygiene factors on employees’ work motivation in textile and apparel enterprises. Management Science Letters, 10, 2837–2844. https://doi.org/10.5267/j.msl.2020.4.025
Ybañez, R. (2024). Application of Herzberg's two-factor theory: Motivational factors and hygiene factors in the financial industry. Journal of Interdisciplinary Perspectives, 2(4), 92-101. https://doi.org/10.69569/jip.2024.0055
Zhang, Z. S., Hoxha, L., Aljughaiman, A., Arënliu, A., Gomez-Arizaga, M. P., Gucyeter, S., Ponomareva, I., Shi, J., Irueste, P., Rogl, S., Nunez, M., & Ziegler, A. (2021). Social environmental factors and personal motivational factors associated with creative achievement: A cross-cultural perspective. The Journal of Creative Behavior, 55(2), 410–432. https://doi.org/10.1002/jocb.463
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น