คุณภาพบริการ และคุณค่าเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศุภวัชร์ พงษ์วัชรวัชฬ์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • พัทธ์ธีรา เพ่งพิศ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • รัตนากาล คำสอน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • สุชาดา ทรัพยสาร คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการ, คุณค่าเชิงประสบการณ์, ความตั้งใจใช้บริการซ้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบริการ และคุณค่าเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ลูกค้าหรือผู้ที่เคยใช้บริการทั้งชายและหญิงของธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนเมษายน–กรกฎาคม 2567 โดยกำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 400 ราย และทำการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพบริการในด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า และด้านความเข้าใจลูกค้า มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และสามารถอธิบายความผันแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามได้ร้อยละ 72.4 (R2 = 0.724) อีกทั้งคุณค่าเชิงประสบการณ์ในด้านคุณค่าทางการใช้งาน ด้านคุณค่าทางอารมณ์ และด้านคุณค่าทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และสามารถอธิบายความผันแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้าธุรกิจคลินิกเสริมความงามได้ร้อยละ 52.3 (R2 = 0.523)

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for windows (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย เมธาวิรุฬห์. (2567). อิทธิพลของการบริการโลจิสติกส์ต่อความผูกพันทางความรู้สึกและความตั้งใจซื้อซ้ำของลูกค้าในธุรกิจจัดส่งพัสดุ: วิเคราะห์ด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 18(2), บทความ e252999. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sjss/article/view/252999

ธนาคารไทยพาณิชย์, ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ. (2566). เปิดมุมมองความสวยยุคใหม่ โอกาสเติบโตของเวชศาสตร์ความงาม. https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/9466/gvbrn4yxhf/Health-and-Wellness-survey-2024-Aesthetic-Surgery-20240417.pdf

พรรัตน์ ชาญชวณิชย์, พอดี สุขพันธ์, และปรามศึก หวลประไพ. (2564). กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการคลินิกศัลยกรรมเสริมความงามในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 61-81. https://www.shorturl.asia/MNbRB

พิมพ์ภัสสร สุธงษา และกรวรรณ กฤตวรกาญจน์. (2566). ภาพลักษณ์และการสื่อสารการตลาดของคลินิกเสริมความงามต่อ การทำศัลยกรรมเสริมความงามของวัยรุ่นจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์, 7(3), 26-38. https://www.shorturl.asia/aCtiU

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566, 25 สิงหาคม). ตลาดศัลยกรรม และเสริมความงาม...แข่งขันรุนแรง เพื่อแย่งชิงลูกค้าที่มีศักยภาพ. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Surgery-FBC273-FB-25-08-2023.aspx

Baker, J., Parasuraman, A., Grewal, D., & Voss, G.B. (2002). The influence of multiple store environment cues on perceived merchandise value and patronage intentions. Journal of Marketing, 66(2), 120-141. https://doi.org/10.1509/jmkg.66.2.120.18470

Chang, W. J., Liao, S. H., Chung, Y. C., & Chen, H. P. (2020). Service quality, experiential value and repurchase intention for medical cosmetology clinic: Moderating effect of Generation. Total Quality Management & Business Excellence, 31(9-10), 1077-1097. https://doi.org/10.1080/14783363.2018.1463156

Chen, Z., & Dubinsky, A. J. (2003). A conceptual model of perceived customer value in E-commerce: A preliminary investigation. Psychology & Marketing, 20(4), 323–347. https://psycnet.apa.org/doi/10.1002/mar.10076

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. (2010). Multivariant data analysis. Pearson International Edition.

Joshi, Y., & Rahman, Z. (2015). Factors affecting green purchase behaviour and future research directions. International Strategic Management Review, 3(1-2), 128–143. https://doi.org/10.1016/j.ism.2015.04.001

Keng, C. J., & Ting, H. Y. (2009). The acceptance of blogs: Using a customer experiential value perspective. Internet Research, 19(5), 479-495. https://doi.org/10.1108/10662240910998850

Kim, J. (2021). Platform quality factors influencing content providers’ loyalty. Journal of Retailing and Consumer Services, 60, Article 102510. https://doi.org/10.1016/j.jretconser.2021.102510

Mamakou, X. J., Zaharias, P., & Milesi, M. (2023). Measuring customer satisfaction in electronic commerce: The impact of e-service quality and user experience. International Journal of Quality& Reliability Management, 41(3), 915-943. https://doi.org/10.1108/IJQRM-07-2021-0215

Mathwick, C., Malhotra, N., & Rigdon, E. (2001). Experiential value: Conceptualization, measurement and application in the catalog and Internet shopping environment. Journal of Retailing, 77(1), 39-56. https://doi.org/10.1016/S0022-4359(00)00045-2

Oliver, R. L. (1997). Satisfaction: A behavioral perspective on the consumer. McGrawHill.

Ozment, J., & Morash, E. A., (1994). The augmented service offering for perceived and actual service quality. Journal of the Academy of Marketing Science, 22(4), 352-363. https://doi.org/10.1177/0092070394224004

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Schmitt, B., Brakus, J. J., & Zarantonello, L. (2015). From experiential psychology to consumer experience. Journal of Consumer Psychology, 25(1), 166-171. https://doi.org/10.1016/j.jcps.2014.09.001

Sharma, A., & Bahl, D. S. (2019). Customer preferences for different service quality dimensions in selected e-commerce websites in India. Journal of Management, 6(3), 77-95. http://dx.doi.org/10.34218/jom.6.3.2019.010

Tuškej, U., Golob, U., & Podnar, K. (2013). The role of consumer-brand identification in building brand relationships. Journal of Business Research, 66(1), 53-59. https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2011.07.022

Varshneya, G., Das, G., & Khare, A. (2017). Experiential value: A review and future research directions. Marketing Intelligence & Planning, 35(3), 339-357. https://doi.org/10.1108/MIP-05-2016-0075

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13