ISSN: 3057-1324 (Online)

วารสารรัชต์ภาคย์ (Rajapark Journal) เป็นวารสารวิชาการในเครือสถาบันรัชต์ภาคย์ ได้รับการรับรองคุณภาพวารสารวิชาการจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index Center: TCI เป็นวารสารกลุ่มที่ 2 (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ระหว่างปี 2568-2572 วารสารมีความมุ่งมั่นส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเผยแพร่บทความที่มีคุณภาพของนักวิชาการ นักวิจัย และนิสิต นักศึกษาทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ครอบคลุมสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารการศึกษา บริหารธุรกิจ บัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว ศิลปศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โดยเปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทุกบทความผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review) จำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องและมาจากหลากหลายสถาบัน โดยมิได้เป็นสถาบันเดียวกันกับเจ้าของบทความ และดำเนินงานตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทย

แจ้งปรับเปลี่ยนระยะเวลาเผยแพร่ และใช้เลข ISSN ใหม่

2025-03-11

วารสารรัชต์ภาคย์ (Rajapark Journal) แจ้งสมาชิกวารสารทุกท่าน ในปี 2568 นี้ ทางวารสารได้ปรับเปลี่ยนระยะเวลาเผยแพร่ จากเดิมราย 2 เดือน 6 ฉบับ/ปี  เปลี่ยนเป็นราย 3 เดือน 4 ฉบับ/ปี

ในการนี้ได้ดำเนินการยกเลิกเลขมาตรฐานสากล ISSN: 1905-2243 (Print) สิ้นสุด ณ ปีที่ 18/2567

และใช้เลขมาตรฐานสากล ISSN: 3057-1324 (Online) ซึ่งเป็นเลขใหม่ เริ่มปีที่ 19 ฉบับที่ 62 เดือน มกราคม-มีนาคม 2568 เป็นต้นไป

 

ปีที่ 19 ฉบับที่ 62 (2025): มกราคม - มีนาคม

บทบรรณาธิการ

                วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 62 มกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2568 วารสารรัชต์ภาคย์ (Rajapark Journal) เป็นวารสารวิชาการในเครือสถาบันรัชต์ภาคย์ ได้รับการรับรองคุณภาพวารสารวิชาการจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index Center: TCI เป็นวารสารกลุ่มที่ 2 (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ระหว่างปี พ.ศ. 2568-2572 ซึ่งจากเดิมวารสารอยู่ในกลุ่มที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2564-2567 ของ TCI เนื่องจากหลักการในการพิจารณาของคณะกรรมการ TCI เกณฑ์หลัก คือ วารสารมีการจดทะเบียนเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ไม่ตรงกับชื่อภาษาอังกฤษของวารสาร และเกณฑ์รอง คือ วารสารมีรายการอ้างอิงที่ไม่เป็นรูปแบบเดียวกันมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์

จากข้อเท็จจริงเกณฑ์หลักการจดทะเบียนเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ไม่ตรงกับชื่อภาษาอังกฤษของวารสารรัชต์ภาคย์ เป็นรูปแบบการจดทะเบียนโดยหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งใช้ชื่อเฉพาะภาษาอังกฤษแบบทับศัพท์ชื่อภาษาไทยว่า “Warasan Ratchaphak” แต่เพื่อให้การดำเนินงานของวารสารเป็นไปตามมาตรฐานสากลให้ถูกต้องกับหลักการและเกณฑ์การพิจารณาของทาง TCI กองบรรณาธิการวารสารรัชต์ภาคย์ จึงได้ดำเนินการแจ้งการเปลี่ยนแปลงกับทางหอสมุดแห่งชาติ เพื่อแก้ไขให้ตรงตามกรอบมาตรฐานสากล และทางกองบรรณาธิการมุ่งมั่นที่จะรักษาคุณภาพของการบริหารเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิจัยและวิชาการแก่สมาชิกวารสารต่อไป

โดยวารสารฯ มีความมุ่งมั่นส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเผยแพร่บทความที่มีคุณภาพ ของนักวิชาการ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษา ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ซึ่งครอบคลุมสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารการศึกษา บริหารธุรกิจ บัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว ศิลปศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ(Academic Article) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer-review) จำนวน 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องและมาจากหลากหลายสถาบัน โดยมิได้เป็นสถาบันเดียวกันกับเจ้าของบทความ และดำเนินงานตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทย ซึ่งในปี พ.ศ. 2568 วารสารฯ ได้ปรับเปลี่ยนกำหนดการเผยแพร่วารสารเป็นปีละ 4 ฉบับ (ราย 3 เดือน) ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม, ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน, ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน, ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม ทั้งนี้ วารสารฯ ได้กำหนดค่าความซ้ำซ้อนของผลงานอ้างอิงจากโปรแกรม CopyCatch ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index Center ดังนี้ บทความวิจัย ไม่เกิน 15% และบทความวิชาการ ไม่เกิน 10%

สำหรับบทความที่น่าสนใจในฉบับนี้คือ “TEM-NACC” An Excellent Management Model of The National Anti-Corruption Commission of Thailand” ของ Jeerabhan Chanwichian, Nattapong Techarattanased, Bundit Pungnirund, Tanapol Kortana ที่ค้นพบองค์ความรู้ใหม่คือ Based on both quantitative and qualitative research results, it is possible to create and apply a management model of the National Anti-Corruption Commission Office towards excellence, which is derived from empirical data, as shown in the following figure.

From the above model, it is known that the management model of the National Anti-Corruption Commission towards excellence, which consists of (1) Leading and Leadership, is in the middle. The reason is that the leader and the leader's leadership are the starting point and the spark that will lead the organization in the direction the leader wants. The model presents the leader as the creator of the starting point to lead the NACC towards excellence, following the guidelines and methods that the NACC wants. (2) The connection of Leadership with the operation to respond to the management of external stakeholders (stakeholder Management), participation and social responsibility (Participation and Social Responsibility), and management according to the principles of good governance (Cooperate Good Governance), which are the 3 main parts that the organization must respond to create a balance in the organization's operations through strategic planning and command to implementation. (3) The executives drive the factors considered for managing all 3 parts through strategic planning linked to the operation that is passed on. Management that focuses on the organization's personnel (Value of  Human Resources) must be carried out in 3 areas: Knowledge Management, Process Management, and Resource Management to create the ability to operate efficiently (4) where all operations of the NACC affect the Performance Management that will create excellence where the results of operations and all processes must be evaluated through ADLI and LeTCi and (5) all operations must be based on the approach of Excellence Management Based to be carried out in a tangible, comprehensive, and interconnected manner.

ดร. ธันยนันท์ จันทร์ทรงพล

บรรณาธิการ

 

เผยแพร่แล้ว: 2025-03-01

“TEM-NACC” An Excellent Management Model of The National Anti-Corruption Commission of Thailand

Jeerabhan Chanwichian, Nattapong Techarattanased, Bundit Pungnirund, Tanapol Kortana

1 - 26

กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

เมทิกา พ่วงแสง, ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์, โอปอ สุรารักษ์, วราพร อภิธนาพงศ์

122 - 141

แบบจำลองการสร้างประสิทธิภาพให้กับธุรกิจดูแลผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน ในเขตกรุงเทพมหานคร

จิณห์จุฑา ศรีเหรา, ณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์, บัณฑิต ผังนิรันดร์, ธนพล ก่อฐานะ

242 - 262

การยอมรับนวัตกรรมทางการเงินของประชาชนกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ดรินทิพย์ มรรคา, พรพนา ศรีสถานนท์, อนิรุทธิ์ ผ่องแผ้ว, พุฒินันท์ คล้ายสุด

263 - 276

ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีราคาผู้บริโภคในประเทศไทย

ศิรินภา ช่วยตรึกตรอง, บุญธรรม ราชรักษ์, อุบลวรรณ ขุนทอง

293 - 307

การปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในสถาบันอุดมศึกษา

วัชรีพร พวงเพชร, ฟ้าใส สามารถ, เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

374 - 387

การจัดการธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ในยุคดิจิทัล

เจนจิรา ชูชัยมงคล, ฟ้าใส สามารถ, รัชยา ภักดีจิตต์

388 - 402

แนวคิดการจัดการศูนย์การค้าเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้า

ธนนรินทร์ ทองบุญดำรง, ชัยฤทธิ์ ทองรอด, ฐิติมา โห้ลำยอง

403 - 414

กลยุทธ์การปรับตัวและพัฒนาในอุตสาหกรรมผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า

ธีระศักดิ์ พฤกษนันต์, ชัยฤทธิ์ ทองรอด, ฐิติมา โห้ลำยอง

415 - 430

การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนนวัตกรรม

กิติศักดิ์ พงษ์สุระ, เฉลิมพล มีชัย, ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง

431 - 443

ดูทุกฉบับ