การพัฒนาสิทธิการครอบครองที่ดินให้เป็นแบบทางการ และผลสะเทือนต่อการกำกับดูแลที่ดินส.ป.ก.: กรณีการอนุญาตให้กิจการเหมืองแร่และปิโตรเลียมใช้ที่ดิน ส.ป.ก.

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ส.ป.ก. การปฏิรูปที่ดิน การพัฒนาสิทธิการครอบครองที่ดินให้เป็นแบบทางการ การกำกับดูแลที่ดิน อำนาจในการกีดกัน

บทคัดย่อ

นับตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษ 2550 การปฏิรูปที่ดินไทยตกอยู่ภายใต้กระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการที่ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมเข้าไปใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ที่ดินส.ป.ก.) เช่น การเข้าไปทำรีสอร์ทหรือหอพัก ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ที่ดินส.ป.ก.โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหวของชาวบ้านเพื่อคัดค้านการที่ธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่และธุรกิจพลังงาน อาทิ ปิโตรเลียม ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ใช้ที่ดินส.ป.ก.

จากการศึกษาเอกสารทางการที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 50 คน บทความชิ้นนี้เสนอว่า พัฒนาการของการปฏิรูปที่ดินไทยซึ่งได้กลายมาเป็น “การพัฒนาสิทธิการครอบครองที่ดินให้เป็นแบบทางการ” (land formalization) ก่อให้เกิดผลสะเทือนสำคัญ นั่นคือ ทำให้นับตั้งแต่ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา กิจการอุตสาหกรรมและพลังงานจำนวนหนึ่งได้รับอนุญาตให้สามารถขอใช้ที่ดินส.ป.ก. ซึ่งตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมของการปฏิรูปที่ดินมุ่งให้เป็นที่ดินของเกษตรกร ทั้งนี้ ในระดับนโยบาย การอนุญาตดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ได้แก่ การร่วมมือและต่อรองระหว่างตัวแสดงต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายแม่บทและการออกระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการอ้างอิงตรรกะนโยบาย "การใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ" ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการปฏิรูปที่ดินที่เป็นมิตรต่อตลาดและสอดรับกับความต้องการของตลาดโลกที่มีต่อทรัพยากรที่ได้มาจากการขุดเจาะ ส่วนในระดับพื้นที่นั้น เงื่อนไขที่เปิดทางให้ธุรกิจดังกล่าว สามารถเข้าไปดำเนินการบนที่ดินส.ป.ก. ได้ คือ “อำนาจในการกีดกัน” (power of exclusion) อันได้แก่ กฎระเบียบ ตลาด และความชอบธรรม ซึ่งอำนาจเหล่านี้มีปฏิบัติการที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับบทบาทของผู้นำท้องที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องของชาวบ้านต่อการดำเนินธุรกิจนั้นหรือที่คล้ายคลึงกัน และความคาดหวังของชาวบ้านต่อบทบาทของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง 

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

เดอะ อีสานเรคคอร์ด. (2558, ตุลาคม 8). คำสั่ง คสช. 1/2557 ตัดตอนอำนาจของท้องถิ่น ทำให้การเมืองภาคประชาชนอ่อนแอ. เดอะ อีสานเรคคอร์ด, 23 กรกฎาคม 2564. https://theisaanrecord.co/2015/10/08/คำสั่ง-คสช-12557-ตัดตอนอำนาจข/

ไทยรัฐออนไลน์. (2557, ตุลาคม 22). พะเยาโมเดล คืนที่ส.ป.ก.หน้ามหาวิทยาลัย ส่อเอาใจนายทุน. ไทยรัฐออนไลน์, 23 กรกฎาคม 2564. https://www.thairath.co.th/content/458387

ไทยรัฐออนไลน์. (2558, กรกฎาคม 7). ผลสรุปที่ดิน ส.ป.ก. ใช้เปิด 'พะเยาโมเดล' ได้ทั่วประเทศ. ไทยรัฐออนไลน์, 23 กรกฎาคม 2564. https://www.thairath.co.th/news/local/509906

ธัญลักษณ์ เหลืองวิสุทธิ์. (2537). ปฏิรูปที่ดินไทย ความสำเร็จหรือล้มเหลว. สุทธิปริทัศน์, 8(23), 91-95.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ, บุญมี ลี้ และเทพกร ณ สงขลา. (2545). รายงานวิจัย อุปสรรคด้านกฎหมายและนโยบายการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อความยากจนของคนไทย, 10 สิงหาคม 2564. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_182.pdf

ประชาชาติธุรกิจ. (2557, กรกฎาคม 20). ส.ป.ก.ไฟเขียว 6 บริษัทใช้ที่ดินทำเหมืองแร่. ประชาชาติธุรกิจ, 23 กรกฎาคม 2564. https://www.landactionthai.org/2012-05-18-03-24-45/news/item/489-6.html

ปิยาพร อรุณพงษ์. (2555). คู่มือการปฏิรูปที่ดิน. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาองค์ความรู้และรณรงค์การปฏิรูปที่ดินที่ยั่งยืนและเป็นธรรม.

ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา และคณะ. (2554). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยแนวทางการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มติชนออนไลน์. (2562, มิถุนายน 24). ‘เพชรบูรณ์’ เปิดเวทีถกปรับปรุง ‘ผังเมืองรวม’ หลังชาวบ้านไม่เอาเหมืองแร่-ชงแยกที่ดิน ส.ป.ก. ออกจากเขตอนุรักษ์ป่า. มติชนออนไลน์, 15 กรกฎาคม 2564. https://www.matichon.co.th/region/news_1552340

วีรวัฒน์ อริยะวิริยานันท์. (2552). วิวัฒนาการของการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีการออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน (พ.ศ.2475-พ.ศ.2518). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2535). นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของประเทศไทย, 7 กันยายน 2564. https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2013/04/N46.pdf

สมหมาย เตชวาล. (2546). สถานการณ์การพัฒนาแหล่งแร่ทองคำในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์. (2556). ประชาชนห้วยเม็ก หนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่ยอมรับโครงการขุดเจาะปิโตรเลียมแปลงสัมปทานหมายเลข L27/43, 10 สิงหาคม 2564. https://ewt.prd.go.th/ewt/prkalasin/ewt_news.php?nid=4059&nid=4059

อภิวัฒน์ รัตนวราหะ. (2558). เศรษฐกิจที่ดินของประเทศไทย: ปริทัศน์สถานภาพความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อาภาพรรณ พัฒนพันธุ์. (ม.ป.ป.). แนวคิดและรูปแบบของการปฏิรูปที่ดิน, 10 มกราคม 2565. http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_dl_link.php?nid=1400

ภาษาอังกฤษ

Bernstein, H. (2002). Land reform: Taking a long(er) view. Journal of Agrarian Change, 2(4), 433-463.

Borras, S. M., & Franco, J. C. (2010). Contemporary discourses and contestations around pro-poor land policies and land governance. Journal of Agrarian Change, 10(1), 1-32.

Borras, S. M., Kay, C., & Lodhi, H. A. (n.d.). Agrarian reform and rural development: Historical overview and current issues. The Hague: Institute of Social Studies.

Deininger, K., Jin, S., & Nagarajan, H.K. (2007). Land reforms, poverty reduction, and economic growth: Evidence from India. Washington, DC.: The World Bank.

Deininger, K. W., Selod, H., & Burns, A. (2012). The land governance assessment framework: Identifying and monitoring good practice in the land sector. Washington, DC: The World Bank.

Dwyer, M. B. (2013). The formalization fix? Land titling, state land concessions, and the politics of geographical transparency in contemporary Cambodia. The Hague: The Land Deal Politics Initiative.

FAO. (1999). March towards sustainable development. Bangkok: FAO.

FAO. (n.d.). Land governance and planning. Retrieved July 23, 2020, from https://www.fao.org/land-water/land/land-governance/fr/

Hall, D., Hirsch, P., & Li, T. M. (2011). Powers of exclusion: Land dilemmas in Southeast Asia. Singapore: NUS Press.

Herring, R. J. (1983). Land to the tiller: The political economy of agrarian reform in South Asia. New Haven: Yale University Press.

Hirsch, P., & Scurrah, N. (2015). The political economy of land governance in the Mekong Region. Vientiane: Mekong Region Land Governance.

Kelly, A. B. & Peluso, N. L. (2015). Frontiers of commodification: State lands and their formalization. Society and Natural Resources, 18(5), 473-495.

Palmer, D., Fricska, S., & Wehrmann, B. (2009). Towards improved land governance. Retrieved July, 23, 2020, from www.fao.org/3/ak999e/ak999e.pdf

Trivedi, P. K. (2016). (Ed). Land to the tiller: Revisiting the unfinished land reform agenda. New Delhi: ActionAid.

White, B., Borras, S. M., & Hall, R. (n.d.). Land reform. Retrieved July 11, 2020, from https://idl-bnc-idrc.dspacedirect.org/bitstream/handle/10625/51570/IDL-51570.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Yueh, J. (2009). Land-to-the-tiller program transformed Taiwan. Retrieved July 11, 2020, from https://taiwantoday.tw/news.php?unit=10&post=15716

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28