การบริหารจัดการที่ดินของเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาการเผาทำลายและปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน ในพื้นที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ณัฐทิยา วัฒนศิริศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กรชนก สนิทวงศ์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ไฟป่า, จัดสรรที่ดิน, เกษตรกร, การจัดการที่ดิน, สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน)

บทคัดย่อ

บทความเรื่องการบริหารจัดการที่ดินของเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาการเผาทำลายและปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินในพื้นที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มและสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ 2) เพื่อศึกษาแผนการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งสองกลุ่ม 3) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนากลุ่มฯ เพื่อให้เป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่ม/องค์กรชุมชน แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และแนวคำถามเป็นเครื่องมือวิจัย ส่วนวิธีการเก็บข้อมูลใช้วิธีการเข้าพบสมาชิกกลุ่มและการจัดประชุมกลุ่มย่อย

เกษตรกรในพื้นที่ตำบลดอยฮางบางส่วนเข้าร่วมโครงการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์เชียงรายซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้ชักชวนให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินและเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจและใช้วิธีเผาทำลายเพื่อปรับที่ดินในช่วงฤดูแล้งในทุกๆปีเข้าร่วมกลุ่มฯ ทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (บจธ.) ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มสมาชิกผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินทำกินและกลุ่มสมาชิกที่มีที่ดินทำกินอื่นนอกเหนือจากที่ดินที่ได้รับการจัดสรร ส่วนแนวทางการพัฒนาของกลุ่มพบว่า ได้มีการวางแนวทางโดยกำหนดให้สมาชิกแต่ละคนปลูกพืชผักในแปลงของคนเองโดยให้คำนึงถึงรายได้เป็นรายวัน รายเดือนและรายปี ส่วนใหญ่ปลูกพืชตามที่กำหนดไว้แต่ยังไม่สามารถจำหน่ายได้อย่างสม่ำเสมอ แต่สมาชิกส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาในด้านสภาพดินไม่เหมาะสมและขาดระบบสาธารณูปโภค การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยต้องการที่จะเพิ่มพื้นที่เพื่อเสริมสร้าง ความมั่นคงทางอาหารให้กับครอบครัวและชุมชน สังคม สมาชิกของกลุ่มได้รู้จักกับการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ประหยัดและรู้จักการพึ่งตนเองเป็นสำคัญ

 

References

ภาษาไทย

สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน. (2558). ข้อบังคับว่าด้วย การได้มาซึ่งที่ดิน การใช้ประโยชน์ หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดหาและพัฒนาที่ดินแก่เกษตรกรผู้ยากจน ผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ที่ดิน และองค์กรชุมชน พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ.

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยาน (ดอยอินทรีย์). (มปป.) กฎระเบียบของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยาน (ดอยอินทรีย์) ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. เชียงราย.

_________________________. (มปป.). โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ (บ้านฟาร์ม). เชียงราย.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2549). การประยุกต์และการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โฟร์เพซ.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และ พิทยา ว่องกุล. (2556). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2563). รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันจากข้อมูลดาวเทียม ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ. กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สื่อออนไลน์

สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน. (มปป.). บทบาทและภารกิจ, 13 สิงหาคม 2563. https://www.labai.or.th/ %e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88/

รัฐบาลไทย. (2563). รมช.ธรรมนัส ประชุมขับเคลื่อนการจัดที่ดินทำกิน พร้อมมอบนโยบาย ลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีที่ทำกินและอาชีพที่ยั่งยืน, 4 ส.ค. 2563. https://www.thaigov.go.th/ news/contents/details/33933

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28