การศึกษากลไกการคุ้มครองทางสังคมโดยชุมชน กรณีศึกษาผ่าน โครงการพัฒนารูปแบบการทำงานของชุมชนนำร่องกับทีมสหวิชาชีพในการคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคล ในครอบครัว มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล

ผู้แต่ง

  • ปุณิกา อภิรักษ์ไกรศรี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การคุ้มครองทางสังคม, การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว, ชุมชนนำร่อง

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการศึกษากลไกเสริมสร้างงานคุ้มครองทางสังคมโดยชุมชน กรณีศึกษาผ่านโครงการพัฒนารูปแบบการทำงานของชุมชนนำร่องกับทีมสหวิชาชีพในการคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลในครอบครัว มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกเสริมสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมโดยชุมชน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีแนวคิดการคุ้มครองทางสังคมเป็นฐาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แกนนำชุมชนที่เป็นอาสาสมัครคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว ในพื้นที่ 4 ชุมชน ได้แก่ (1) ชุมชนบ้านคำกลาง จ.อำนาจเจริญ (2) ชุมชนซอยพระเจน กรุงเทพมหานคร (3) ชุมชนวัดโพธิ์เรียง กรุงเทพมหานคร และ (4) ชุมชนวัดสวัสดิวารีสีมาราม กรุงเทพมหานคร จากการศึกษาพบ กลไกการคุ้มครองทางสังคมโดยชุมชน คือ (1) ชุมชนบ้านคำกลาง ได้แก่ กลไก “ทีมสหวิชาชีพชุมชน” กลไก “ทัพหน้า ทัพหลัง” กลไก “วิธีคิด เสริมสร้าง วิถีคิด” กลไก “ใจแลกใจ”  (2) ชุมชนซอยพระเจน ได้แก่ กลไก “พัฒนาและยกระดับคนต้นแบบ” กลไก “พัฒนาแกนนำอย่างต่อยอด ต่อเนื่อง” กลไก “ทีมสหวิชาชีพหลัก” (3) ชุมชนวัดโพธิ์เรียง ได้แก่ กลไก “แกนนำทำงานรุก เร่งรัดทันท่วงที” กลไก “สหวิชาชีพยอมรับ ทำงานร่วม” กลไก “แสวงแนวร่วมข่ายชุมชนคุ้มครอง” กลไก “เสริมสร้างความเชื่อมั่น รังสรรค์สัมพันธภาพ รักษาความลับ” และ (4) ชุมชนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม ได้แก่ กลไกการบริหารบทบาทหน้าที่เหมาะสมตามธรรมชาติบุคลิกภาพ กลไกระบบติดตาม ประกบติด ต่อเนื่อง กลไกเชื่อมร้อย/บูรณาการกิจกรรม กลไกสหวิชาชีพเป็นทีมปฏิบัติงาน เหล่านี้สะท้อนงานคุ้มครองทางสังคมโดยชุมชน ใน “รูปแบบ 3 พัฒนาการ 2 ระบบคุ้มครอง” เป็นบทเรียนสำคัญ โดยมีข้อท้าทายถึง การสร้างความยั่งยืนของงานคุ้มครองทางสังคมโดยชุมชน จะเป็นระบบปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลในครอบครัวให้เกิดขึ้นจริง

References

คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิภาพสตรีและเด็ก. ผู้หญิงกับความรุนแรง. กรุงเทพมหานคร: สมชายการพิมพ์, 2548.

จะเด็จ เชาวน์วิไล และคณะ. นวัตกรรมผู้ชายเลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, 2551.

_______. ลด ละ เลิก สร้างสุข ให้ครอบครัวและชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายรักลูก พับลิชซิ่ง เซอร์วิส บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด, 2553.

ระพีพรรณ คำหอม. การพิทักษ์สิทธิ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด, 2549.

_______. หลักการและกระบวนการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์จุลภาค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล และคณะ. คู่มือการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในกระบวนการคุ้มครองเด็ก. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก, 2547.

โสภณ พรโชคชัย. แก้ปัญหาสังคมด้วยวิชาชีพสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: ส วีรัชการพิมพ์, 2552.

สุรางรัตน์ วศิรารมณ์. ทักษะการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: เจปริ้นส์, 2553.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2555 – 2559. 2554.

องค์การแรงงานระหว่างประเทศและคณะทำงานร่วมกับองค์การสหประชาชาติในประเทศไทย พ.ศ.2556. การประเมินการคุ้มครองทางสังคมจากการปรึกษาหารือระดับชาติ เพื่อก้าวสู่การคุ้มครองทางสังคมภายใต้บริบทของประเทศไทย. 2556.

อัญมณี บูรณากานนท์ และคณะ. วิธีการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด, 2554.

อภิญญา เวชยชัย. การถอดบทเรียนการปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์ด้านการทำงานกับเด็ก. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด, 2556.

_______. การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.

_______. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็กในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทริปเปิ้ล เอ ก๊อปปี้, 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28