แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของประชาชนในระดับฐานรากอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
หนี้ครัวเรือน, ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน, นวัตกรรมชุมชน, ความสามารถของชุมชนฐานรากบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของหนี้และความจำเป็นในการใช้จ่ายของครัวเรือนระดับฐานราก และ 2) ค้นหาปัจจัยความสำเร็จและการขับเคลื่อนการจัดการหนี้ครัวเรือน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และศึกษากรณีศึกษา
ผลการศึกษาพบว่ามีข้อค้นพบสำคัญ 2 ประการ ดังนี้ 1) สภาวะของหนี้ครัวเรือน เคลื่อนตัวในทางตรงกันข้ามกับหนี้ครัวเรือนในระดับมหภาค กล่าวคือ หนี้ครัวเรือนของประชาชนในระดับฐานราก มีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ครัวเรือนในอัตราที่เพิ่มขึ้น และศูนย์จัดการกองทุนชุมชน 3 ใน 4 ศูนย์ของกรณีศึกษา สามารถลดสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในปี พ.ศ. 2562 2) ปัจจัยความสำเร็จที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจาก “กลไกขับเคลื่อนความสำเร็จ” 3 กลไก ได้แก่ (2.1) ความสามารถในการปฏิบัติการขององค์กรชุมชน ร่วมกับคำแนะนำจากกรมการพัฒนาชุมชน (2.2) การทำงานร่วมกันของสถาบันการเงินในชุมชนและศูนย์จัดการกองทุนชุมชน และ (2.3) กระบวนการทำงานที่นำเอาเรื่องเศรษฐกิจมาเกี่ยวข้องกับการจัดการหนี้ โดยมุ่งสื่อสารทำความเข้าใจต่อเรื่องหนี้และการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่ไม่สอดคล้องกับรายได้จากภาคเกษตรที่มีลักษณะเป็นฤดูกาลและผันผวน
และมีข้อเสนอ 2 ประการ ได้แก่ (1) ข้อเสนอในระดับปฏิบัติการ คือ ขยายพื้นที่การดำเนินโครงการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนให้ครอบคลุมทั่วประเทศ (2) ข้อเสนอในระดับนโยบาย คือ ควรยกระดับวัตถุประสงค์จากการจัดการหนี้ครัวเรือน ไปสู่ “การแก้ปัญหาความยากจนและการสร้างเศรษฐกิจชุมชนในระดับฐานรากอย่างยั่งยืน”
Downloads
References
ชนาภิวัฒน์ ขันทะ และสุภาค์พรรณ ตั้งตรงไพโรจน์. (2564) หนี้ครัวเรือนไทยกับแนวทางแก้ไขให้ยั่งยืน.
วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 8(1): 131-145
พลภัทร บุราคม. (2549) กระบวนทัศน์ใหม่ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับปัญหาด้านประสิทธิภาพ
ในการจัดสรรและการกระจายผลประโยชน์ของรายจ่ายสาธารณะของไทย.วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA Development Journal, 46(2-4/2006), 19-56.
วีรบูรณ์ วิสารทสกุล และคณะ (2563) โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนากลุ่มองค์กรฐานราก
เพื่อรองรับต่อการจัดการปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ. เสนอ กรมการพัฒนาชุมชน,
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Buchen, Teresa; Drometer, Marcus; Oesingmann, Katrin; Wollmershäuser, Timo (2016).
Managing Household Debt in Croatia, CESifo Forum, ISSN 2190-717X, ifo Institut –
Leibniz-Institut für Wirtschaftsforschung an der Universität München, München, Vol.
, Iss. 1, pp. 12-16
Cahn, E. (2000). No more throwaway people: the co-production imperative. Washington:
Essential Books.
International Monetary Fund. ( 2 0 1 2 ) . World Economic Outlook: Growth Resuming,
Dangers Remain. Washington: International Monetary Fund.
Johnson, C (2014). An Institutional theory of participatory budgeting, paper presented for
presentation at American Political Science Association Annual Meeting, August,28, 2014.
Olafsson Stefan. (2012). The Icelandic Way Out of the Crisis: Welfarism, redistribution
and austerity (Working paper). University of Liceland.
Ostrom, E. (1996). Crossing the Great Divide: Coproduction, Synergy, and Development. Word
Development, 24(6): 1073-1087
Saigaran, N. Karupiah, P., and Gopal, P. (2015). The capability approach: comparing
Amartya-Sen and Martha Nussbaum, USM international conference on social sciences (USM-ICOSS) 2015, 27th-28th August 2015.
Schumpeter, J. (1943). Capitalism, Socialism and Democracy. London and New York
Routledge
Souza, C. (2001). Participatory budgeting in Brazilian cities: limits and possibilities in building
democratic institutions. Environment & Urbanization, 13(1): 159-189
Yunus, Muhammad & Jolis, Alan. (1999). Banker to the Poor: The Autobiography of
Muhammad Yunus, Founder of Grameen Bank. Bangladesh: PublicAffairs.
Yunus, Muhammad. (2016). Grameen bank: the struggle of Dr. Muhammad Yunus.
Dhaka: Adorn Publication.
Zabai, Anna. (2017). Household debt: recent developments and challenges. Basel: Bank of International Settlements
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Weeraboon Wisartsakul, Soontorn Koonchaimang, Aree Kongjam
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.