การศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนด้วยทุนทางสังคมของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบางราวนก หมู่ 7 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย สายบุญจวง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อน, ทุนทางสังคม , การจัดการชุมชน, ขยะ

บทคัดย่อ

การเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาระบบการคมนาคม การขยายฐานการผลิตไปสู่ภูมิภาคได้ก่อให้เกิดปัญหาขยะกับชุมชน แต่อย่างไรก็ดียังมีบางชุมชนได้ลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาโดยใช้ทุนทางสังคมที่เกิดจากความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เช่น ผู้นำ ภาคีการพัฒนามาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ชุมชนบางราวนก หมู่ 7 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นชุมชนที่พบปัญหาขยะและจากสภาพปัญหาชาวชุมชนได้ลุกขึ้นมาแก้ไขโดยการใช้ทุนทางสังคมของชุมชน ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะด้วยทุนทางสังคมโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าทุนทางสังคมที่นำมาใช้ขับเคลื่อนแก้ปัญหาระดับแรก คือทุนระดับบุคคล ได้แก่ผู้นำและแกนนำชุมชน เจ้าอาวาสวัดโคนอนมหาสวัสดิ์ ระดับที่สอง คือทุนระดับกลุ่มและองค์กรชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้นำ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กลุ่มจิตอาสา โรงเรียนและวัดโคนอนมหาสวัสดิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสวัสดิ์ ระดับที่สาม คือทุนทางสังคมระดับทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่คลองมหาสวัสดิ์ ระดับที่สี่ คือทุนทางสังคมระดับหน่วยงานและเครือข่าย ได้แก่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางกรวย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลมหาสวัสดิ์ สำหรับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะมีกระบวนการทำงานสำคัญ 3 ขั้นตอน 1.การสร้างความตระหนักให้กับประชาชนเห็นความสำคัญของปัญหาขยะ 2.การให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ 3.แกนนำร่วมมือกับหน่วยงานและตั้งกลุ่มธนาคารขยะเพื่อจัดการขยะให้เกิดความยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กานติ์ชนิต วรนัยพินิจ. (2554). ทุนทางสังคมกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนไทยซงดำ: กรณีศึกษาบ้านหนองหมู ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ร่างแผนปฏิบัติการดานการจัดการขยะของประเทศ. กรมควบคุมมลพิษ.

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ขนิษฐา นันทบุตรและคณะ. (2560). การวิจัยชุมชนด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 19

จริยา โกเมนต์, เฉลิมชัย ปัญญาดี และปานแพร เชาวน์ประยูรณ์. (2560). การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา :การวิจัยทางมานุษยวิทยาที่มากกว่าการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์.วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน. 8(2). 201

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโน. (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 6(ฉบับพิเศษ): 527-538.

นภาภรณ์ หะวานนท์, เพ็ญสิริ จีระเดชากุลและสุรวุฒิ ปัดไธสง. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 11

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์.(2548). ทุนทางสังคม. พิมพ์ที่โรงพิมพ์เดือนตุลา. 15

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2550). สวัสดิการชุมชน “ คนไม่ทิ้งกัน”. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. 7-10.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจ เอกชนเพื่อเป็นทุนทางสังคม. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 1-2

สรรเสริญ วงศ์ชอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง. 20-23.

สุพรรณี ไชยอำพร. (2549). วัฒนธรรมกับการพัฒนา : ศาสตร์ของการพัฒนาในระดับปฏิบัติการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 20-23

อรยา จันทมาลา, ไททัศน์ มาลา. (2565). ผลกระทบจากโรงงานกำจัดขยะพิษต่อชุมชนแห่งหนึ่งในตำบลห้วยโจด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 17(1) : 59-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28 — Updated on 2024-05-17

Versions