การสร้างความหมายการต่อสู้เชิงอำนาจของผู้หญิงในภาพยนตร์ไทย ผ่านตัวละครผู้หญิงประเภทบู๊

ผู้แต่ง

  • กฤชณัท แสนทวี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สตรีนิยม, ภาพตัวแทน, ภาพยนตร์บู๊

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการสร้างความหมายการต่อสู้เชิงอำนาจของผู้หญิงผ่านภาพตัวแทนของตัวละครหญิงบู๊ที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทย 2)  ศึกษาการรับรู้ และการตีความหมายความหมายการต่อสู้เชิงอำนาจของผู้หญิงจากมุมมองกลุ่มผู้รับสารที่มีประสบการณ์ทางสังคมที่แตกต่างกัน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารจากภาพยนตร์ เรื่อง “ดื้อ สวย ดุ” และภาพยนตร์ เรื่อง “บัวผัน ฟันยับ” ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้รับสาร จำนวน 9 คน ด้วยการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง เป็นเพศหญิง 7 คน และเป็นเพศชาย 2 คน มีอายุระหว่าง  27 – 46 ปี ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพยนตร์ไทยทั้ง 2 เรื่อง นำเสนอภาพตัวแทนของตัวละครผู้หญิงบู๊ที่มีความแข็งแกร่ง เด็ดเดี่ยว ต้องต่อสู้และดิ้นรน โดยมีการประกอบสร้างความเป็นจริงผู้หญิงบู๊ที่เกิดจากขึ้นจากการที่ผู้ชายไม่เห็นคุณค่าของผู้หญิงว่ามีความเท่าเทียมกับผู้ชาย จึงทำให้ตัวละครมีความคิดต่อต้านและต่อสู้กับอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ ภาพตัวแทนผู้หญิงประเภทบู๊ในภาพยนตร์มีพฤติกรรมเชิงลบมีความขัดแย้งกับบรรทัดฐานทางสังคมของผู้หญิงไทย มีการใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ตามแบบของผู้ชาย มีการนำเสนอทางเลือกและอุดมการณ์ตามแนวคิดสตรีนิยมตามกลุ่มสตรีนิยมแนวถอนราก 2) ผู้รับสารยอมรับความหมายที่ภาพยนตร์นำเสนอด้านความขัดแย้งกับบรรทัดฐานทางสังคมไทย แต่มีความเห็นต่อต้านความหมายที่ภาพยนตร์นำเสนอด้านลักษณะทางประชากร ด้านพัฒนาการของตัวละครหญิงบู๊ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครผู้หญิงบู๊กับผู้อื่น ด้านทางเลือกและอุดมการณ์ โดยเห็นว่าผู้หญิงในโลกทางกายภาพที่แสดงความสัมพันธ์เชิงอำนาจนั้นไม่จำเป็นต้องมีร่างกายที่แข็งแรงและใช้ความรุนแรงในการต่อสู้กับผู้อื่น และการต่อสู้เชิงอำนาจไม่ใช่การต่อสู้เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้แบบตัวละครผู้หญิงบู๊ที่ในภาพยนตร์ แต่เป็นการต่อสู้เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงมีบทบาททางสังคมตามมุมมองของกลุ่มสตรีนิยมแนวเสรีนิยม

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2535). ม่านแห่งอคติ: ความสัมพันธ์ระหว่างสตรีกับสถาบันสังคม. เจนเดอร์เพรส.

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. บริษัท เอดิสัน เพรสโปรดักส์ จำกัด.

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). สตรีศึกษา: โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). ความเรียงว่าด้วยสตรีกับสื่อมวลชน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. บริษัท เอดิสันเพรส โปรดักส์ จำกัด.

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). เพ่งพินิจและครุ่นคิดตามความบันเทิงในสื่อ. ในสื่อบันเทิง: อำนาจแห่งความไร้สาระ. ออล อเบ้าท์ พริ้นท์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

กำจร หลุยยะพงศ์ และสมสุข หินวิมาน (2551). หลอน รัก สับสน ในหนังไทย: ภาพยนตร์ไทยในรอบสามทศวรรษ

(พ.ศ.-2520-2547) กรณีศึกษาตระกูลหนังผี หนังรัก และหนังยุคหลังสมัยใหม่. ศยาม.

ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์. (2551). ภาพตัวแทนคนจนในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:125336

จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย.(2542). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชวาลิน เพ่งบุญ, นพวรรณ เมืองแก้ว, อธิปัตย์ นิตย์นรา และพิชัย แก้วบุตร. (2563). สตรีนิยมผ่านตัวละครเพศหญิง: กรณีศึกษา “ไป๋อิ๋นน่า หมู่บ้านลับลี้ริมฝั่งน้ำ” พระราชนิพนธ์แปล ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 8(1), 180-204.

ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน. (2539). วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเอกเป็นสตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. (2533). ศิลปะแขนงที่เจ็ด: เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์. เม็ดทราย

พนิดา หันสวาสดิ์. (2544). ผู้หญิงในภาพยนตร์: กระบวนการผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/1670?attempt=2&

พรจันทร์ เสียงสอน. (2557). การนำเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.https://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2557/b186097.pdf

ศิริพร ไฝศิริ. (2544). การสร้างสรรค์ในการผลิตซ้ำภาพยนตร์ไทยจากตำนานแม่นากพระโขนง [วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082544001300

สรารักษ์ โรจนพฤกษ์ และขจร ฝ้ายเทศ. (2557). การวิเคราะห์ภาพตัวแทนความเป็นสตรีในสื่อภาพยนตร์การ์ตูนวอลดิสนีย์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52 (น.518-525). สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิริวัฒน์ มาเทศ. (2553). อิสตรีที่มีความพยาบาทในละครโทรทัศน์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:122398

หลุยส์ อัลธูแซร์. (2566). อุดมการณ์และกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ [Ideology and Ideological State Apparatuses]. (กาญจนา แก้วเทพ, ผู้แปล; พิมพ์ครั้งที่ 3). สยามปริทัศน์.

Tasker, Y. (1993). Spectacular Bodies Gender, Genre and the Action Cinema. (1st ed.) Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01