ภววิทยาของโครงสร้างพื้นฐานแก้มลิงบางบาล

ผู้แต่ง

  • คมลักษณ์ ไชยยะ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ภววิทยา, แก้มลิง, พื้นที่ลุ่มต่ำบางบาล, โครงสร้างพื้นฐาน, น้ำท่วม

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานแก้มลิงบางบาล 1 ใน 12 ทุ่งรับน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากการศึกษาพบว่า ‘แก้มลิงบางบาล’ เป็นโครงสร้างพื้นฐานชลศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน ลื่นไหล และยากต่อการรับรู้เข้าใจของคนทั่วไป เนื่องจากแก้มลิงบางบาลไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐานที่คงรูปถาวรหรือเป็นเพียงภาชนะว่างเปล่าที่สามารถผันน้ำเข้าไปกักเก็บในพื้นที่ได้ทันที ในความเป็นจริงแก้มลิงบางบาลเกิดขึ้นจากการผสานรวมสภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่อันกว้างใหญ่ ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกันทางวัตถุของสิ่งต่างๆ ดังเช่น ชุมชน บ้านเรือน ทุ่งนา ถนน ระบบชลประทาน บ่อทราย ฯลฯ นอกจากนี้ปฏิบัติการเปลี่ยนพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงจะเกิดขึ้นเฉพาะในปีที่น้ำท่วมวิกฤติ ซึ่งน้ำอาจจะท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้แก้มลิงบางบาลจึงไม่ได้ดำรงอยู่ตลอดเวลา จึงยากที่จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของแก้มลิงบางบาลได้จนกว่าแก้มลิงจะเริ่มทำงาน อย่างไรก็ตามโครงสร้างพื้นฐานชลศาสตร์เหล่านี้ ยังส่งผลสัมพันธ์ต่อคนในท้องถิ่นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในสถานการณ์น้ำท่วม การทำความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นแก้มลิงบางบาล จึงอาจช่วยให้เข้าใจสภาพปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำบางบาลได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น. 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมทรัพยากรน้ำ. (2550). ๘๐ พรรษาพระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ ร้อยใจเป็นหนึ่งสร้าง ๘ หมื่นฝายต้นน้ำถวายในหลวง. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรน้ำ.

กิตติ ตันไทย. (2527). คลองกับระบบเศรษฐกิจของไทย (พ.ศ. 2367-2453). ฉัตรทิตย์ นาถสุภา (บรรณาธิการ).ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484. (น.227-262.) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมศาสตร์.

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล. (2565, 16 มีนาคม). ข้อมูลพื้นฐานพื้นที่ลุ่มต่ำ. เว็บไซต์โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล. http://irrigation.rid.go.th/rid10/bangban/home.html

จักรกริช สังขมณี. (2560). ชาติพันธุ์วรรณาว่าด้วยโครงสร้างพื้นฐาน. วารสารธรรมศาสตร์, 36(2), 33-57.

จันทนี เจริญศรี. (2559). ศาสตร์ อศาสตร์: เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน (บทนำ). จันทนี เจริญศรี (บรรณาธิการ). ศาสตร์ อศาสตร์: เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน. (น.18-42). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล. (2544). การแก้ไขปัญหาน้ำเหนือหลากและน้ำท่วมขังแบบยั่งยืนของพื้นที่ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ อุทาหรณ์จากเหตุการณ์น้ำท่วมชุมชนหาดใหญ่ 24-25 พฤศจิกายน 2543, วิศวกรรมสาร มก., 15(43), 64-73.

ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล และคณะ. (2551). โครงการนำร่องการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่รับน้ำนองเพื่อการบรรเทาอุทกภัยขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตามแนวพระราชดำริแก้มลิงพื้นที่บางบาล (1) เล่มที่ 2 (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). สำนักงานกองทุนส่งเสริมการวิจัย (สกว.).

เซร์ฆิโอ ซิสมอนโด. (2566). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา: ความรู้ฉบับเบื้องต้น. (ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย,

ผู้แปล) กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์.

ไททัศน์ มาลา. (2560). การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ: พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ ผู้สร้างมรดกทางภูมิปัญญาแห่งการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างยั่งยืน. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(4), 155-179.

ประยูร เย็นใจ. (2563). การบริหารจัดการน้ำและประเมินผลสัมฤทธิ์การใช้พื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรณีศึกษาทุ่งผักไห่ ปี 2560. กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2555, 16 กุมภาพันธ์). ปูลงพื้นที่กรุงเก่าติดตามการบริหารจัดการน้ำ.https://mgronline.com/local/detail/9550000021521

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์. (2560). แก้มลิง. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

เรณู กสิกุล และคณะ. (2564). โครงการการมีส่วนร่วมในการเสริมศักยภาพแหล่งกักเก็บน้ำทางการเกษตรในพื้นที่ทุ่งรับน้ำบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ และพรพนา ก๊วยเจริญ. (2556). จากบางระกำผ่านบางบาลถึงนครปฐม ประชาชนอยู่ไหน?. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สปริงนิวส์. (2565, 11 ตุลาคม). เปรียบเทียบทุ่งรับน้ำภาคกลางแค่ 3 วัน ปริมาณน้ำไหลเข้าเกินความจุ.https://www.springnews.co.th/news/infographic/831009.

สปริงนิวส์. (2565, 15 ตุลาคม). น้ำเข้าทุ่งรับน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก-ตะวันออก 15 ต.ค. แค่ไหนแล้ว เช็คเลย.https://www.springnews.co.th/news/news/831155.

สุรศักดิ์ เชื้องาม. (2555). การปรับเปลี่ยนและการดำรงอยู่ของวิถีชีวิตชาวนากบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่พ.ศ.2500 ถึง พ.ศ.2549 [ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2563, 14 สิงหาคม ). 9 แผนงานเพื่อบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยา.https://www.youtube.com/watch?v=9dAONLQT5hw

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). พระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น. (2542). การศึกษาเรื่องแผนรวมเพื่อการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มเจ้าพระยา. เล่มที่ 6 รายงานสรุปฉบับผู้บริหาร. บริษัท ซี ที ไอ เอ็นจีเนียริ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอ. เอ็น. เอ. จำกัด.

อาทิตย์ ภูบุญคง. (2566). การจัดการน้ำในพื้นที่รับน้ำบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ผลกระทบและการต่อรองของผู้คนในพื้นที่. วารสารอยุธยาศึกษา. 15(1), 96-112.

Barnes, J. (2017). State of maintenance: Power politics and Egypt’s irrigation Infrastructure. Environment and Planning D: Society and Space. 35(1), 146-164. https://doi.org/10.1177/0263775816655161

Bichsel, C. (2016). Water and the (Infra-)Structure of Political Rule: A Synthesis. Water Alternative. 9(2), 356-372.

Haraway, D. (2016). A Cyborg Maniffesto: Science, Technology, And Socialist-Feminism in The Late Twentieth Century. University of Minnesota Press. https://doi.org/10.5040/9781474248655.0035

Kien, G. (2009). Actor-Network Theory: Translation as Material Culture. In Phillip Vannini (ed.), Material culture and technology in everyday life: ethnographic approaches. (pp.28-44). Peter Lang Publishing Inc.

Latour, B. (1990). On actor-network theory: A few clarifications plus more than a few complications. Soziale Welt. 47, 369-381.

Law, J. (2008). On Sociology and STS. The Sociological Review. 56(4), 623-649. https://doi.org/10.1111/j.1467-954X.2008.00808.x

Morita, A. (2014). A Cyborg Delta: The Interplay of Infrastructures in the Amphibious Space in the Lower Chao Phraya River Basin in Thailand. http://ikms.jp/files/sites/2/A-Cyborg-Delta-20110128Submission.

Pinch,T. & Bijker, W. (1984). The Social Construction of Facts and Artefacts: Or How the Sociology of Science and the Sociology of Technology might Benefit Each Other. Social Studies of Science. 14(3), 399-441. https://doi.org/10.1177/030631284014003004

Sangkhamanee, J. (2018). Infrastructure in the Making: The Chao Phraya Dam and the Dance of Agency. Trans Regional and National Studies of Southeast Asia. 6, 47-71. https://doi.org/10.1017/trn.2017.19

Strang, V. (2016). Infrastructural Relations: Water, Political Power and Rise of a New ‘Despotic Regime’. Water Alternative. 9(2), 292-318.

Susan, S. (1999). The Ethnography of Infrastructure. American Behavioral Scientist, 43(3), 377-391. https://doi.org/10.1177/00027649921955326

Winner, L. (1993). Upon Opening the Black Box and Finding It Empty: Social Constructivism and the Philosophy of Technology. Science, Technology, & Human Values. 18(3): 362-378. https://doi.org/10.1177/016224399301800306

Wittfogle, K. (1957). Oriental Despotism. A Comparative Study of Total Power. Yale University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01