ประสบการณ์การย้ายถิ่นและความทรงจำของ อดีตแรงงานข้ามชาติไทยในแอฟริกา

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ สุวงศ์เครือ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้แรงงานไทยตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ 2) ทำความเข้าใจว่าแรงงานไทยมีความทรงจำในการไปทำงานในแอฟริกาทั้งก่อนไป ระหว่างอยู่ หลังกลับคืนถิ่น และมีการปรับตัวระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ที่แอฟริกา และ 3) เพื่อพิจารณาว่า ณ เวลาปัจจุบัน แรงงานไทยมีความทรงจำระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ที่แอฟริกาอย่างไร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกอดีตแรงงานชายจากจังหวัดลำปางที่มีประสบการณ์ไปทำงานในประเทศกาบอง คองโก แอฟริกาใต้ และลิเบีย ผ่านกรอบแนวคิดการอพยพย้ายถิ่นและความทรงจำ ผลการศึกษาพบว่ามี 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจไปทำงานที่ต่างประเทศ ปัจจัยแรกคือความต้องการยกสถานะทางเศรษฐกิจครัวเรือนและเป็นทุนการศึกษาให้ลูก ปัจจัยที่สองคือการสะสมทุนให้กับชีวิตของตนเองในอนาคต โดยส่วนใหญ่มีประสบการณ์ย้ายถิ่นทั้งในภูมิภาคและในประเทศ รวมถึงการไปเป็นแรงงานในต่างประเทศเช่นในตะวันออกกลางก่อนเดินทางไปทำงาน พวกเขายังมีความทรงจำเกี่ยวกับก่อนการย้ายถิ่นไปทำงานในแอฟริกาทั้งก่อนไป ระหว่างอยู่ และหลังกลับคืนถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องราวการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาหารการกิน การใช้ภาษา หรือการปรับตัวในสภาพสังคมที่มีศาสนาและวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างจากบ้านเกิด บางคนมีชีวิตทำงานในพื้นที่สมบุกสมบันกลางป่าลึกและทะเลทราย แรงงานข้ามชาติไทยโดยเฉพาะในลิเบียยังเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งต้องหนีสงครามกลับบ้านเกิด บทความนี้ยังศึกษาชีวิตเกี่ยวกับการปรับตัวของพวกเขาในฐานะคนย้ายถิ่นกลับ โดยสนใจการรื้อฟื้นประสบการณ์ผ่านความทรงจำของปัจเจกที่สะท้อนถึงการสร้างความทรงจำร่วมกันผ่านเหตุการณ์และวัตถุในฐานะแหล่งความทรงจำที่ข้ามผ่านห้วงเวลาและสถานที่

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการจัดหางาน. (2565, 9 มิถุนายน). โอกาสดี! กระทรวงแรงงาน เปิดรับสมัคร ชายไทยไปทำงานภาคเกษตรที่อิสราเอล ผ่านโครงการ “TIC”. https://www.doe.go.th/prd/main/news/param/site/1/cat/7/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/62722

กระทรวงการต่างประเทศ. (2552, 11 พฤศจิกายน). สาธารณรัฐกาบอง. https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1e15e39c306000a0ec?cate=5d5bcb4e15e39c3060006870

กระทรวงการต่างประเทศ. (2553, 21 มกราคม). สาธารณรัฐคองโกhttps://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1e15e39c306000a099?cate=5d5bcb4e15e39c3060006870

กระทรวงการต่างประเทศ. (2554, 14 ธันวาคม). สาธารณรัฐแอฟริกาใต้.https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1e15e39c306000a07b?cate=5d5bcb4e15e39c3060006870

กระทรวงการต่างประเทศ. (2555, 28 มีนาคม). สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย.https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1e15e39c306000a0ca?cate=5d5bcb4e15e39c3060006870

กฤษณะ โชติสุทธิ์. (2560). อองซาน: ความทรงจำร่วมของแรงงานพม่าในจังหวัดระนอง. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 17(2), 49-74.

กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ. (2566). จำนวนคนหางานที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยจำแนกตามภูมิลำเนา ประเทศ และวิธีการเดินทาง ประจำปี 2566. https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/90a7951e9d85d10eb0d3e6dd1d2fe09d.pdf

กิริยา กุลกลการ. (2562). แรงงานไทยผิดกฎหมายในสาธารณรัฐเกาหลี: สาเหตุและแนวทางแกไข.วารสาร HR intelligence, 14(1), 105-121

นราธร สายเส็ง. (2560). พื้นที่กับความทรงจำ. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม, 15(1), 23-41.

นัทธนัย ประสานนาม. (2557). บทวิจารณ์หนังสือ “Memory in Culture”. วารสารมนุษย์ศาสตร์, 21(2), 297-307.

นิมนตรา ศรีเสน. (2561). การลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลี(ปริญญามหาบัณฑิต ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บีบีซีไทย-ก. (2565, 22 มกราคม). ซาอุดีอาระเบีย จะยังเป็น “ขุมทอง” ของแรงงานไทยได้เหมือนในอดีตหรือไม่. https://www.bbc.com/thai/thailand-60151736

บีบีซีไทย-ข. (2565, 13 กันยายน) เกาหลีใต้: แกะรอยเส้นทางแรงงาน "ผีน้อย" ระลอกหลังโควิด. https://www.bbc.com/thai/articles/c4nmjznl182o

บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล. (2565). การอพยพย้ายถิ่นและปรากฏการณ์ทางสังคม. ใน บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล, กวินธร เสถียร, ฐานิดา บุญวรรโณ และกุลธิดา ศรีวิเชียร (บ.ก.), ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมร่วมสมัย (น.115-154). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข. (2551). อัตลักษณ์ของแรงงานข้ามชาติคืนถิ่นกับการต่อรองการพัฒนาของชาวบ้านในจังหวัดลำปาง [ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาวนา เพ็ชรพราย. (2563). การศึกษาและเปรียบเทียบสิทธิเสรีภาพของแรงงานถูกกฎหมายและผีนอย ในสาธารณรัฐเกาหลี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2(2), 36-58.

ลักษมี แก้ววงศ์ใหญ่, พัชรินทร์ ลาภานันท์ และภาณุ สุพพัตกุล. (2565). ชาวบ้านอีสานกับ “วัฒนธรรมการย้ายถิ่น”. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 152-178.

วาสนา ละอองปลิว. (2561). การเมืองของการ(ไม่)เคลื่อนย้ายของแรงงานหนุ่มสาวไทย. ใน ประเสริฐ แรงกล้า(บ.ก.), ชีวิตทางสังคมในการเคลื่อนย้าย (Social Life on the Move) (น. 45-78). คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิลาสินี อารียะกิจโกศล และศยามล เจริญรัตน์. (2559). การยายถิ่นแบบไมปกติของหมอนวดหญิงแผนไทยในเกาหลีใต. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 35-55.

สมฤทัย ปานมี และบุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล. (2566). เงื่อนไขการย้ายถิ่นและวัฒนธรรมจากซีรีส์เกาหลีที่มีต่อกลุ่มคนที่ต้องการย้ายประเทศไปเกาหลี. ในอัครพนท์ เนื้อไม้หอม (บก.) การพัฒนา: การปรับตัว: ความยั่งยืน. การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ (CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 21 (น.224-270). สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และสมาคมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม.

สมพงศ์ อาษากิจ. (2561). โครงสร้างความรู้สึกในชีวิตและเรื่องเล่าของแรงงานชายอีสานคืนถิ่น 3 รุ่นอายุ.วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(2), 87-122.

สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ. (2548). สภาวะตลาดแรงงานไทยในทวีปแอฟริกา.https://lib.doe.go.th/ebookdoc/020400003816_7.pdf

สำเริง จันทรสุวรรณ. (2528). แรงงานไทยในตะวันออกกลาง. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 4(2), 10-17.

อมรรัตน์ บุญนายืน. (2542). ปัญหาของแรงงานไทยในการไปทำงานต่างประเทศ: ศึกษากรณีจังหวัดเชียงใหม่เชียงราย และลำปาง (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุษามาส เสียมภักดี. (2562). การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ พัฒนาการ และความคิด. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Ayogut, M. (2006). Infrastructure development in Africa: Prospects and challenges. Paper on Economic Development in the Millennium AERC-AfDB Project on Africa’s Development, Tunis 22-24 November 2006.https://www.researchgate.net/profile/Melvin-Ayogu/publication/228376795_Infrastructure_Development_in_Africa_Prospects_and_Challenges/links/56a3360508aeef24c5880a40/Infrastructure-Development-in-Africa-Prospects-and-Challenges.pdf

Castles, S., de Haas, D., Miller, M.J. (2014a). Introduction. In S. Castles, H. de Haas, & M.J. Miller (Eds.), The Age of migration: International population movements in the modern world (pp.1–24). Palgrave Macmillan. https://doi.org/10.1007/978-0-230-36639-8_1

Erll, A. (2011). Memory in culture. Macmillan. https://doi.org/10.1057/9780230321670

Fitzgerald, J. M. (1998). Vivid memories and the reminiscence Phenomenon: The role of a self-narrative. Human Development, 31, 261-273. https://doi.org/10.1159/000275814

Foster, V. & Briceño-Garmendia, C. (2010). Africa’s infrastructure: A time for transformation. The International Bank for Reconstruction and Development/ The World Bank. https://doi.org/10.1596/978-0-8213-8041-3

Lauser, A. Fuhse, A. Bräunlein, P.J. & Yee-Neumann, F. (2022). From ‘bare life’ to ‘moving things’: on the materiality of (forced) migration. In F. Yee-Neumann, A. Lauser, A. Fuhse, P. J. Bräunlein (Eds.) Material culture and (forced) migration: Materializing the transient (pp.1-20). UCL Press. https://doi.org/10.14324/111.9781800081604

Linde, C. (2015). Memory in narrative. In K. Tracy, T. Sandel, & C. Ilie (Eds.), The International Encyclopedia of language and social Interaction. Wiley. https://doi.org/10.1002/9781118611463.wbielsi121

McLean, K. C. (2008). Stories of the young and old: Personal continuity and narrative identity. Developmental Psychology, 44(1), 254-264. https://doi.org/10.1037/0012-1649.44.1.254

Rungmanee, S. (2021). Returning and departing: Livelihood challenges of returned migrants and intergenerational reproduction of migration in Northeast Thailand. Journal of Mekong Societies, 17(2), 121-139.

Salaff, J. W. (2013). Return migration. In S. J. Gold & S. J. Nawyn (Eds.), Routledge International Handbook of Migration Studies (pp.460-468). Routledge.

Tajaroensuk, D. (2018). A study of Thai ‘illegal workers’ in South Korea (Master Thesis). Chonnam National University.

United Nations. Department of International Economic and Social Affairs. Population Division. (1986). The Meaning, Modalities and Consequences of Return Migration. International Migration (Geneva, Switzerland), 24(1), 77–93.

https://doi.org/10.1111/j.1468-2435.1986.tb00103.x

Wang, C. (2016). Introduction: The “material turn” in migration studies. Modern Languages Open. https://doi.org/10.3828/mlo.v0i0.88

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01