รูปแบบการดำเนินชีวิตสมาชิกในชุมชนคุณธรรมในเขตจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระคมน์ ขนฺติวโร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการดำเนินชีวิต, สมาชิกในชุมชนคุณธรรม

บทคัดย่อ

สำคัญของการดำรงอยู่ของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยและความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยมการค้า ก็คือ ศักยภาพของชุมชนในการจัดระเบียบทางสังคมใหม่ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ ระบบคุณค่าและบรรทัดฐานที่ทำให้ชุมชนสามารถสร้างศักยภาพในการปรับตัวอย่างมีอำนาจต่อรองและดำรงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตนเองไว้ได้ ท่ามกลางบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเองจากแนวคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง ดังกล่าว เป็นแนวคิดที่ยึดทางสายกลางหรือความพอดี ในการพึ่งพาตนเอง 2 ระดับ คือ

1.ระดับบุคคล คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญ ไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสระเสรีภาพไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด

          2.ระดับสังคม คือ ความสามารถของชุมชน สังคม ประเทศในการผลิต และบริการ เพื่อให้สังคมอยู่รอดอยู่ได้โดยการพึ่งตนเองพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันเทคโนโลยี คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์การ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชุมชนคุณธรรม

References

1. โกวิท ประวาลพฤกษ์, พัฒนาการศึกษาแท้ (กรุงเทพฯ : เดอะ มาสเตอร์กรุ๊ป). 10, 2554.
2.วีรวุธ มาฆะศิรานนท์, องค์กรเรียนรู้สู่องค์กรอัจฉริยะ (กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท), 35. 2542.
3.วิโรจน์ สารรัตนะ, โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้ (กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์), 14. 2544.
4.สุจิตรา ทิพบุรี : “หลักพุทธธรรมที่ส่งผลความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนรางวัลพระชราทาน” วิทยานิพนธ์ศาสนาศาสตร์ดุษฎีบัญฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.2556.
5. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, มาตรฐานการศึกษาของชาติ (กรุงเทพฯ : สหายบล็อกและการพิมพ์),1,2548.
6.อภิวัฒน์ บุญสาธร,ศึกษากรณี : ผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง ประชานิเวศน์ และหัวหมาก (กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์), 30-34. 2544.
7.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา. (2550). “Governance: การจัดการปกครอง/วิธีการปกครองและการจัดการ (กรุงเทพฯ : วิริยะการพิมพ์), 45-68. 2544.
8.Payutto,P.A. 1994. Buddhist economic: Middle way for the market place, Buddhadhamma Foundation, Bangkok.
9.J. Bennette and M. O’Brien, “The Building Block of the Learning Organization,” Training31,6 (August 1994) : 77-79.
10.Sivaraksa, S., Dulayakasem, U., Viriyaphinij, A., Chamduang, N. & Watts, J. 1993 Buddhist perception for desirable societies in the future, A Paper prepared for the United Nations University, Suksit Siam &Kled Thai, Bangkok.

Downloads