คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน (ไฟล์ PDF)

ตัวอย่าง รูปแบบการเขียนบทความวิจัย

ตัวอย่าง รูปแบบการเขียนบทความวิชาการ

ตัวอย่าง รูปแบบการเขียนบทวิจารณ์หนังสือ

รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ

1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 8-12 หน้ากระดาษ A4 (ไม่รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กําหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนําเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนําเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัด พร้อมระบุหมายเลขกํากับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตารางที่ 1 หรือ Table 1 และภาพที่ 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นําเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วน และเข้าใจได้ โดยไม่จําเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลําดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคําอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นําเสนอ

2) ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกลางหน้าแรก ขนาดอักษร 18

3) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใส่ Footnote ตรงคําสุดท้ายของนามสกุล เช่น “คําแสนเมือง1” ชิดขวาหน้ากระดาษ พร้อมระบุชื่อสังกัดหรือหน่วยงาน ตัวอย่าง ขนาด 16 ใส่ Footnote สถาบันสังกัดและอีเมล ด้านล่างหน้ากระดาษ

4) มีบทคัดย่อภาษาไทย จํานวนคําระหว่าง 250-300 คํา ต่อบทคัดย่อ

5) กําหนดคําสําคัญ (Keywords) 3-5 คํา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้เลข ใส่ด้านหน้าแล้ว “,” คั่นระหว่างคํา

6) การใช้ตัวเลข คําย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คําย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคําเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student-centered Learning)

บทความวิจัย (Research Article) ให้เรียงลําดับหัวข้อสำคัญ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและผลการวิจัยโดยสรุป สั้นกะทัดรัดได้ใจความ หรือเขียนแบบเชิงพรรณนาในลักษณะเฉพาะ ที่เป็นเชิงปรัชญา กระทู้ธรรม อรรถกถา หรือการอธิบายนําเสนอแบบตรรกะเป็นลักษณะรวบยอดการอธิบาย

2) บทนํา (Introduction) ระบุความเป็นมาและความสําคัญของปัญหาในการวิจัย

3) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective) คือ การระบุจุดมุ่งหมายของการศึกษาให้ครอบคลุมเฉพาะประเด็นที่นําเสนอเพื่อตีพิมพ์ ไม่จําเป็นต้องทั้งหมดของรายงานการวิจัย ฉบับเต็ม

4) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ระบุแบบแผนการวิจัยรูปแบบเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ แบบผสมหรือผสานวิธี การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการตรวจเครื่องมือและผล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์และนําเสนอข้อมูล

5) ผลการวิจัย (Results) ควรเสนอผลอย่างชัดเจน ตรงประเด็น โดยอาจมีรูปภาพ ตารางและแผนภูมิประกอบเท่าที่จําเป็น สําหรับการวิจัยเชิงปริมาณต้องมีตารางสถิติพื้นฐานบังคับที่ต้องนําเสนอตามประเภทของสถิติที่ใช้ เช่น ตารางแสดงลักษณะประชากรศาสตร์ของตัวอย่าง ตารางที่นําเสนอตีเส้นในแนวนอนที่หัวตารางและเส้นปิดตาราง ไม่ใช้เส้นตั้งภาพและแผนภูมิประกอบ ต้องมีความคมชัด และตัวหนังสืออยู่ในกรอบไม่ล้นออกมา และไม่มีกรอบล้อมภาพหรือแผนภูมิ

6) อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) นำเสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่าน โดยชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

7) สรุป (Conclusion) ต้องเขียนให้ครอบคลุมผลการวิจัย

8) ข้อเสนอแนะ (Suggestion) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะสําหรับปฏิบัติ และข้อเสนอแนะสําหรับการทําวิจัยต่อไป

9) เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการอ้างอิงที่มีปรากฏในบทความเท่านั้น

บทความวิชาการ (Academic Article) ให้เรียงลําดับหัวข้อ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract) พร้อมคำสำคัญ

2) บทนํา (Introduction)

3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสําคัญที่ต้องการนําเสนอตามลำดับ

4) สรุป (Conclusion)

5) เอกสารอ้างอิง (Reference)

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ให้เรียงลําดับหัวข้อ ดังนี้

1) บทนํา (Introduction)

2) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสําคัญที่ต้องการนําเสนอตามลำดับ

3) สรุป (Conclusion)

4) เอกสารอ้างอิง (Reference)

ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ

เอกสารที่นํามาใช้ในการอ้างอิงบทความ ควรมีที่มาจากแหล่งตีพิมพ์ที่ชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือ สามารถสืบค้นได้ เช่น หนังสือ วารสาร หรืองานวิจัย เป็นต้น ผู้เขียนบทความจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการอ้างอิง เพื่อป้องกันความล้าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้อง จะไม่ได้รับการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา จนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้สมบูรณ์

การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและปีที่ตีพิมพ์กํากับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง มีดังนี้

รายการอ้างอิง

1) การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ (In-text Citation)

รูปแบบการอ้างอิงให้ใช้วงเล็บเปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้แต่ง ปีที่จัดพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เอกสารที่นำมาอ้างอิงในเนื้อหาบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้

1. พระไตรปิฎกและอรรถกถา ให้อ้างชื่อคัมภีร์ พร้อมเลขที่เล่ม แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 15, 2539: 282-283) (พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 16, 2556: 256-320)

2. ผู้แต่ง 1 ราย (ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ วิทยานิพนธ์ สัมภาษณ์ สื่อออนไลน์ เป็นต้น) ให้อ้างชื่อผู้แต่ง แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง (ถ้ามี) เช่น (พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, 2554: 44 (Keown, 2003: 4)

3. ผู้แต่ง 2 ราย ให้อ้างชื่อของผู้แต่งทั้งสอง เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2553: 44) (Hersey & Blanchard, 2000: 3)

หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการ ให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิง เช่น (พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2548: 8; พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, 2554: 44) (Keown, 2003: 4; Hersey & Blanchard, 2000: 3)

4. ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 ราย ให้อ้างชื่อของผู้แต่งคนแรก เว้นวรรคหนึ่งครั้ง เพิ่มคำว่า “และคณะ” สำหรับภาษาไทย หรือคำว่า et al. สำหรับภาษาอังกฤษ จากนั้น ใส่เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ, 2548: 55) (Kaiser, et al., 2008: 55)

ทั้งนี้ หากเป็นการอ้างอิงด้วยการสรุปความหรือเอกสารที่ไม่มีเลขหน้า ไม่ต้องใส่เลขหน้า เช่น (พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, 2554) (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2553) (พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ, 2548) (พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2548; พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, 2554)

5. ราชกิจจานุเบกษา การสัมภาษณ์ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบ ให้อ้างชื่อเรื่อง ชื่อคน ชื่อเว็บไซต์ ชื่อเจ้าของเฟซบุ๊ก ชื่อเจ้าของทวิตเตอร์ หรือชื่อเจ้าของยูทูบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่เผยแพร่ เช่น (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2560) (คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2565)

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์

กรณีเป็นบริษัทหรือสำนักพิมพ์ให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง

บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด ให้ใช้ “21 เซ็นจูรี่"

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ใช้ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”

กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

2) การอ้างอิงท้ายบทความ (End-text Citation)

1. หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ,/ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. เช่น

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Mahamakuta Rajavidyalaya (Royal Academy) Foundation. (2525). The Tripitaka and Commentary Translation. 200th Anniversary Edition of the Chakri Dynasty Rattanakosin, B.E. 2525. Bangkok: Mahamakuta Rajavidyalaya Press.

เบญจมาศ อยู่เป็นแก้ว. (2548). การสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้.

Moghadam, E. (2021). The Conflux of Buddhism with Contemporary Workplace Notions of Leadership and Motivation. New Jersey: Academia Letters.

กรณีผู้แต่ง 1 ราย (หากเป็นภาคภาษาอังกฤษให้เขียนนามสกุลไว้หน้า ตามด้วยชื่อ) เช่น

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2548). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้และการจัดการ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิสิษฐ์ไทย ออฟเซต.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.

กรณีผู้แต่ง 2 ราย (ให้ใช้คำว่า “และ” หรือ “and” เป็นคำเชื่อม) เช่น

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม Participatory Democracy.กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Strauss, A. and Corbin, J. (1998). Basics of Qualitative Research: Grounded Theory, Techniques and Procedures for Developing. London: California Sage Publications. 

กรณีผู้แต่งมากกว่า 2 ราย (ให้ใช้คำว่า “และคณะ” หรือ “et al.” ต่อท้ายชื่อผู้แต่งคนแรก) เช่น

สุขุม นวลสกุล และคณะ. (2550). การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Snyder, C. R., et al. (2011). Positive Psychology: The Scientific and Practical Explorations of Human Strengths, 2nd ed. Los Angeles: SAGE Publications Inc.

กรณีมีทั้งผู้แต่งและผู้แปลหรือบรรณาธิการ (ให้เขียนชื่อผู้แต่งไว้หน้า ชื่อผู้แปลหรือบรรณาธิการเขียนไว้หลัง ชื่อเรื่อง ตามด้วยวงเล็บว่า (ผู้แปล) หรือ (บรรณาธิการ) สำหรับภาษาไทย และ (tran.) หรือ (ed.) สำหรับภาษาอังกฤษกรณี 1 คน หรือ (trans.) หรือ (eds.) กรณี 2 คนขึ้นไป) เช่น

เจมส์ แอล เครย์ตัน. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ. (ผู้แปล). ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

Hylton, P. (2001). Blackwell Companions to Philosophy: A Companion to Analytic Philosophy. Martinich, A. P. and Sosa, D. (eds.). Oxford: Blackwell Publishers Ltd.

Lyotard, J. F. (1984). The Postmodern Condition: A Report on Knowledge. Bennington, G. and Massumi, B. (trans.). Minneapolis: The University of Minnesota Press.

Wittgenstein, L. (1967). Philosophical Investigations, 3rd ed. Anscombe, G. E. M. (tran.). Oxford: Basil Blackwell Ltd. 

2. บทความในหนังสือ

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)./ชื่อเรื่อง/เลขหน้าแรก-สุดท้ายที่ตีพิมพ์./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. เช่น

ชาญณรงค์ บุญหนุน. (2562). ข้อถกเถียงเรื่องพระพุทธศาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญ. ใน ปรีดี หงส์สตัน และอัมพร หมาดเด็น. ศาสนากับความรุนแรง, หน้า 400-459. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions.

Bergstein, M. (2000). Tubular Function. In Richard, E. B., et al. (eds.).  Nelson Textbook of Paediatrics, 16th ed. (p. 596). Philadelphia: Saunders.

3. บทความจากวารสาร

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์. (บทความที่มี DOI ให้ใส่ DOI ไว้ตอนท้าย) เช่น

ประยงค์ จันทร์แดง. (2563). พระภิกษุสามเณรควรเรียนวิชาทางโลกหรือไม่. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 5(1), 123-137.

Yü, C. F., & Glaze, S. (2021). Interviews with Scholars of the Ming: Questions for Professor Chün Fang Yü. Ming Studies. 2021(83), 60-66.

4. บทความในสารานุกรม

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อสารานุกรม,/เล่มที่อ้าง, หน้าเลขหน้าที่อ้าง./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. เช่น

สนิท อาจพันธ์. (2537). หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ, หน้า 274-275. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

Sturgeon, T. (1995). Science Fiction. In The Encyclopaedia Americana, Vol. 24. (pp. 390-392). Danbury, CT: Grolier Press.

5. หนังสือพิมพ์

ผู้แต่ง./(วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า. (กรณีภาษาอังกฤษที่มีหลายหน้า ให้ใช้คำว่า pp. แทน p.) เช่น

สุชาติ เผือกสกนธ์. (9 มิถุนายน 2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้จัดการรายวัน, น.13.

Chetchotiros, N. and Yonpiam, Ch. (16 May 2019). PPRP Faces Major Coalition Sang. Bangkok Post, p. 1.

6. วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายงานการวิจัย

ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/หรือการค้นคว้าแบบอิสระ/ชื่อมหาวิทยาลัย.

สัมฤทธิ์ ต่อสติ. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของสถานบริการสาธารณสุขเขตเมือง กรณีศึกษาศูนย์: แพทย์ชุมชนเมืองพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

Tyrone, R. (2007). Effects of Upland Timber Harvest and Road Construction on Headwater Stream Fish Assemblages in a Southeastern Forest. (Master’s Thesis). Texas State University. San Marcos, Texas.

Lim, H. L. (2018). Contemporary Buddhism: Introduction into Thich Nhat Hanh's Teaching. (Doctoral Dissertation). Mahidol University. Nakhon Pathom.

7. การสัมมนา/ประชุมวิชาการ

ผู้เขียน./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./การสัมมนาหรือประชุม./หน่วยงานที่จัด./วันเดือนที่จัด./หน้าที่ตีพิมพ์.

พระครูวรวรรณวิฑูรย์ และคณะ. (2561). เปรียบเทียบหลักอุเบกขาธรรมในพระพุทธศาสนาและหวู่-เว่ยในเต๋า. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 เรื่อง “การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (The Research on Buddhism for Sustainable Development). วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วันที่ 20 มีนาคม. หน้า 119-129.

8. ราชกิจจานุเบกษา

ชื่อเรื่อง./(วันเดือนปีที่ประกาศ)./ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่... ตอนที่.../หน้าแรกถึงหน้าสุดท้ายของเรื่อง. เช่น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.

9. การสัมภาษณ์

ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์./(ปีที่สัมภาษณ์)./ตำแหน่ง./สัมภาษณ์./วันเดือนที่สัมภาษณ์. เช่น

พระครูจารุสารธรรม จารุธมฺโม (สมคุณ). (2563). เจ้าอาวาสวัดดงพระราม รักษาราชการเจ้าคณะตําบล ตําบลดงพระราม อําเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. สัมภาษณ์. 1 ตุลาคม.

Araya, A. (2021). Psychologist. Interview. September, 15.

Interviewee A. (2019). Student at Faculty of Buddhism, MCU. Interview. March, 1.

10. เว็บไซต์

ผู้แต่ง./(วันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี,/จากแหล่งที่อยู่ของไฟล์ (URL) เช่น

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ). (1 พฤษภาคม 2555). การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษาอาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ.  สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2556, จาก http://www.mcu.ac.th /site/artidecontent_desc.php?artide_id=1304&articlegroup_id=274

Doyle, M. W. (22 June 2004). Liberal Internationalism: Peace, War and Democracy. Retrieved September 2, 2013, from http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/themes/peace /doyle/index.html

11. เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูบ

ผู้แต่ง (ชื่อบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กร)./(วันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง (เนื้อหาที่โพสต์ 20 คำแรก)./สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี,/จากแหล่งที่อยู่ของไฟล์ (URL) เช่น

คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (21 มกราคม 2565). คณะศาสนาและปรัชญา ร่วมกับกองแผนงาน และกองพัฒนาคุณภาพ ประชุมปรึกษาการจัดทำแผนพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565, จาก https://www.facebook.com/philosophy.mbu/photos/a.121432909298908/661310901977770/

หมายเหตุ:

1) พระสงฆ์ ให้ใส่สมณศักดิ์ (หากมี) โดยระบุชื่อจริงและฉายาไว้ในวงเล็บ เช่น   

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). โลกทัศน์ชาวพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2013). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Pali Dhamma Publishing Company.

2) การให้เรียงลำดับเอกสารอ้างอิงให้ปฏิบัติ ดังนี้ 1) เรียงตามลำดับพยัญชนะ ก-ฮ หากซ้ำอักษรให้เรียงตามสระตัว 2) หากซ้ำชื่อผู้แต่งให้เรียงตามลำดับ พ.ศ. โดยเรียง พ.ศ. ที่น้อยสุดไว้หน้า ส่วนเอกสารอ้างอิงที่ซ้ำซึ่งเรียงไว้หลัง ให้เขียนเส้นปรุแทน โดยมีความยาวเท่าย่อหน้า 3) หากยังซ้ำ พ.ศ. ให้ใส่อักษร ก-ฮ กำกับ หลัง พ.ศ. ทั้งในการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ (In-text Citation) และการอ้างอิงท้ายบทความ (End-text Citation) 4) ให้เรียงลำดับเอกสารภาคภาษาไทยก่อน จากนั้น จึงเป็นภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งเรียงตามอักษร A-Z หากซ้ำอักษรให้เรียงตามสระ และหากชื่อผู้แต่งที่ซ้ำกันให้เรียงตามลำดับ ค.ศ. จากน้อยไปหามากเหมือนภาคภาษาไทย หากซ้ำ ค.ศ. ให้ใส่อักษร a-z ตัวเล็ก กำกับหลัง ค.ศ. เหมือนที่ซ้ำ พ.ศ.

หลักเกณฑ์การส่งต้นฉบับบทความเพื่อได้รับการตีพิมพ์

การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบเว็บไซต์ของวารสารได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv

ขั้นตอนการนําบทความลงตีพิมพ์

ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *.docx ของ Microsoft Word Version 2010 หรือมากกว่า หากต้นฉบับประกอบด้วยภาพ ตาราง หรือสมการ ให้ส่งแยกจากไฟล์เอกสาร ในรูปแบบไฟล์ภาพ สกุล *.PDF*.JPG*.GIF หรือ *.bmp ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 12 หน้า (ไม่รวมเอกสารอ้างอิง) กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่าน หรือมีการแก้ไข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคํานึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสม

สิทธิของบรรณาธิการ

ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่บทความไม่ตรงกับแนวทางของวารสาร หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ เมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความจากวารสารปรัชญาปริทรรศน์