การเจริญพรหมวิหาร 4 ในชีวิตประจำวัน
บทคัดย่อ
ปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสาร สังคมมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่เป็นไปอย่างเร่งรัด และคนในสังคมมีค่านิยมในการบริโภคและ ค่านิยมในวัตถุ การเจริญสมถกัมมัฏฐานจึงไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมของสังคมยุคปัจจุบัน การนำพรหมวิหาร 4 มาเผยแผ่และอธิบายขยายความในฐานะหมวดธรรมหนึ่ง ซึ่งพุทธศาสนิกชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามความเหมาะสม เช่น เป็นคุณธรรมประจำใจของผู้บริหาร เป็นต้น จึงเกิดขึ้นในยุคนี้ นอกจากนี้ยังมีการนำองค์ธรรมแต่ละข้อของพรหมวิหาร 4 มาแยกศึกษา วิเคราะห์และเผยแผ่ทำให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติตาม เช่น การนำเมตตาซึ่งเป็น องค์ธรรมข้อหนึ่งในพรหมวิหาร 4 มาเผยแผ่ภายใต้ชื่อต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้น ผู้เขียนสามารถสรุปได้ว่าพรหมวิหาร 4 เป็นหมวดธรรมซึ่งพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญและเผยแผ่อบรมสั่งสอนในระหว่างการบำเพ็ญบารมี การเจริญ พรหมวิหาร 4 จึงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล แต่การเจริญพรหมวิหาร 4 เหล่านั้นไม่ สามารถนำผู้ปฏิบัติไปสู่ปรมัตถประโยชน์ได้เหมือนการเจริญพรหมวิหาร 4 ภายใต้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา และพรหมวิหาร 4 เป็นหมวดธรรมหนึ่งซึ่งพระอรรถกถาจารย์และนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาสนใจ และให้ความสำคัญตลอดมา ทำให้พรหมวิหาร 4 เป็นหมวดธรรมซึ่งถูกนำมาถ่ายทอด และอธิบายขยายความให้เหมาะสมกับยุคสมัยอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งยุคปัจจุบัน
References
2.พระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต). จากสุขในบ้านสู่ความเกษมศานติ์ทั่วสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จํากัด, 2542.
3.พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. รุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จํากัด, 2543.
4.พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จํากัด, 2551.
5.พระพุทธโฆษาจารย์. คัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับ 100 ปี. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จํากัด, 2548.
6.พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะมหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉจที่ 9 เล่ม 1 สมถกรรมฐานทีปนี หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกโท. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. อินเตอร์ พริ้นท์ จํากัด มหาชน, 2547.
7.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). รวมธรรมะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด มหาชน, 2543.
8.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธรเถร). สากลศาสนา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548.
9.เอ็ม. ไอยสวามี ศาสตรี. พัฒนาการของพระพุทธศาสนา, อมร โสภณวิเชฏฐวงศ์, (แปล) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2543.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์