กิเลสและการจัดการกิเลส

ผู้แต่ง

  • นางสาวพรทิพย์ พฤทธ์กิตติวงศ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กิเลส, การจัดการกิเลส

บทคัดย่อ

ในทางพระพุทธศาสนาทั้งในเถรวาทและมหายาน มีสิ่งที่กล่าวตรงกันคือ จิตเดิมแท้ของเรานั้น  มีความเป็นประภัสสรอยู่แต่เดิมแล้ว มีความงดงามและมีรัศมีอยู่ในตัวเองบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งใดมาครอบงำเกลี้ยงเกลา ไม่มีคำว่าทุกข์ ไม่มีคำว่าสุข เป็นจิตเดิมที่เรามีคุณสมบัติแบบนี้ตั้งแต่แรกเกิดอย่างเท่าเทียมกันทุกคน แต่ครั้นเราเติบโตมา เจอสภาวะเหตุการณ์ต่าง ๆ ความหิว เจ็บปวด และอื่นๆอีกมากมาย และรวมทั้งสิ่งที่เราเรียกว่า กิเลส 3 ตัวหลักๆ อย่างความโลภ ความโกรธ ความหลง มาครอบงำกดทับจิตเดิมแท้ของเรา ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้าใกล้สัมผัสถึงจิตเดิมแท้ที่เรามีแต่เดิมได้ ทำให้จิตของเราขาดคุณสมบัติเดิมไปนั่นคือ ความสะอาด ความสงบ และความสว่าง จิตเราจึงเกิดความว้าวุ่นกังวลใจ ไม่อาจจะมีอิสระได้ สิ่งที่จะทำให้จิตของเราสว่างได้  เราจะต้องมาศึกษาหลักไตรสิกขา นั่นก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งทั้งสามตัวนี้ทำงานร่วมกัน  ถ้าเรามีศีลได้ครบบริบูรณ์ ก็ง่ายที่จะมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้ว ก็ง่ายที่จะมีปัญญา  ถ้าเรามีปัญญาแหลมลึกแล้ว เราจะมองเห็นซึ่งการปรุงแต่ง มองเห็นโทษของการปรุงแต่ง มองเห็นการปรุงแต่งนั้นมันบีบคั้นกดดันเรา ให้เราต้องเวียนว่ายไป นั่นคือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่จักจบสิ้น พอปัญญามองเห็นอย่างนี้แล้ว ก็เบื่อหน่ายต่อการที่จะเวียนว่ายไปในการปรุงแต่ง จึงทำหน้าที่ที่จะหยุดการปรุงแต่ง  ท้ายสุดแล้วจิตเราของเราจึงสามารถเข้าถึงสภาวะของจิตเดิมแท้หรือจิตประภัสสรได้นั่นเอง

References

1.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุต.โต). ,(2559) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.พิมพ์ครั้งที่ 30.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์
2.พุทธทาสภิกขุ. (2559).สะอาด สว่าง สงบ .พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์(1998)
3.ว.วชิรเมธี. (2555) .กิเลส MANAGEMENT.พิมพ์ครั้งที่ 7.นนทบุรี: สำนักพิมพ์ปราณ
4.สำลี รักสุทธี (2543).ศีล สุดยอดวินัยของศาสนาพุทธ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา

Downloads