หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาล

ผู้แต่ง

  • ร้อยตำรวจตรีประกาศิต ชัยรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธธรรม, การปฏิบัติหน้าที่, ตำรวจสันติบาล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาล โดยได้ศึกษาจากประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาลของประเทศไทยและแนวคิด การนำพระพุทธศาสนามาบูรณาการกับศาสตร์การบริหารงานและปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ปรากฏให้เห็นในวงการปฏิบัติงานของข้าราชการต่างๆของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อจะศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาลไทย ศึกษาหลักพุทธธรรม แล้วนำมาบูรณาการหลักพุทธธรรมเข้ากับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาลไทย เพื่อให้ได้รูปแบบในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาลไทยด้วยหลักพุทธธรรม ให้สามารถนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาลอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการทำงานของตำรวจ ส่งเสริมให้ประชาชนรักและไว้วางใจในการทำงานของตำรวจ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการทำงานร่วมกันภายในหน่วยงาน การร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นำมาซึ่งความมั่นคง ปลอดภัยของประชาชนและประเทศชาติสืบไป  โดยการศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาล ได้อาศัยคือแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาล ของปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนวคิดเกี่ยวกับหลักพุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) และแนวทางในการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการบริหารงาน หรือปฏิบัติงานของข้าราชการของ ณรงค์ธรรม บัวทอง ณัฐศักดิ์ แสนสุข. นพดล บงกชกาญจน์. และอาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด

References

1.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. การบริหารงานตํารวจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์ ; 2545.
2.ภานุศักดิ์ คําแผง. แผนพัฒนาสํานักงานตํารวจแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์สูตรไพศาล; 2550.
3.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. บทบาทของตำรวจในการให้บริการแก่ประชาชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ; 2553.
4.ณรงค์ธรรม บัวทอง, พันตำรวจโท. การพัฒนาตำรวจนครบาลตามหลักฆราวาสธรรม 4: กรณีศึกษาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง. [ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. พระนครศรีอยุธยา :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2555.
5.นพดล บงกชกาญจน์. การปฏิบัติงานตามหลักสาราณียธรรมของบุคลากรศูนย์ซ่อมอากาศยาน กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2556.
6.พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2547.
7.สุภาคย์ อินทองคง. การใช้หลักพุทธธรรมนำการวิจัยและพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาพองค์รวม. สงขลา : ศูนย์เรียนรู้ชุมชนภาคใต้ (ศรช.); 2550.
8.ปรีชา ช้างขวัญยืน. มนุษย์กับศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
9.ณัฐศักดิ์ แสนสุข. การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจตามหลักฆราวาสธรรม 4 : กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2555.
10.อาภรณ์รัตน์ เลิศไผ่รอด.ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์. [ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2555.

Downloads