พระไภสัชยคุรุพุทธะกับตำนานพระกริ่ง
คำสำคัญ:
พระไภสัชยคุรุพุทธะ, พระกริ่งบทคัดย่อ
พระกริ่งเกิดจากความเชื่อเรื่องของการรักษาโรค เป็นตัวแทนของพระไภสัชยคุรุพุทธะหรือพระไภสัชยไวฑูรยประภาพุทธะ พระผู้มีปณิธาณในการช่วยเหลือผู้อื่น พระผู้บำบัดทุกข์ให้แก่มหาชนและช่วยให้คนทั้งหลายพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นคติความเชื่อของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แต่ได้กระจายแนวความเชื่อมายังพุทธศาสนิกชนชาวไทยซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมานานแล้ว มาในรูปของพระกริ่ง เป็นเครื่องที่เป็นตัวแทนในการรักษาโรค เมื่อมีผู้นิยมมากขึ้นก็ต้องซื้อขายกันตามความต้องการ จนกลายเป็นพุทธพาณิชย์ในสังคมไทยในปัจจุบัน การมีพระไภสัชยพุทธะหรือพระกริ่งไว้ประจำตัว บวกกับความเชื่อว่าสามารถจะรักษาโรคภัยไข้เจ็บและป้องกันอันตรายได้ ทำให้มีการสร้างพระกริ่งขึ้นมาหลายสำนัก แต่การที่จะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียนนั้น อาศัยเพียงคติความเชื่อเรื่องพระกริ่งเพื่อคุ้มครองคงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะการมีสุขภาพดีต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย มีพระกริ่งตัวแทนแห่งพุทธะไว้ป้องกันภัยอย่างน้อยก็จะได้เป็นเครื่องเตือนใจให้ไม่หลงใหลไปกับพลังฝ่ายต่ำที่จะซักนำไปในทางที่ผิด โบราณว่ามีพระอยู่กับคอพอช่วยได้ มีพระอยู่กับใจได้กุศล
References
2.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ แปล. (2548). ไภสัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตสูตร.กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.
3.พระราชธรรมนิเทศ(ระแบบ ฐิตญาโณ). (2536).ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา.กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย.
4.อภิเดช อาภากร(ม.รว.). (2557). สุดยอดพระกริ่งยอดนิยม.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์กรุงเทพ จำกัด.
5.วศิน อินทสระ. (2549).สาระสำคัญแห่งพุทธปรัชญามหายาน.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ธรรมดา.
6.วิศวภัทร มณีปัทมเกตุ แปล.(2544).พระไภสัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร.กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.
7.เสถียร โพธินันทะ.(2555).ปรัชญามหายาน(พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ:,มหามกุฏราชวิทยาลัย.
8.สุมาลี มหณรงค์ชัย.(2547).พระชินพุทธห้าพระองค์.กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์