การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองตามแนวปรัชญาโสคราตีส

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมภาณโกวิท (ประภาส ปริชาโน) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พัชรี ศิลารัตน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการขอนแก่นจังหวัดมหาสารคาม
  • ประเวช วะทาแก้ว สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง, ปรัชญาโสคราตีส

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองตามแนวปรัชญาโสคราตีส จากการศึกษาพบว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งความขัดแย้งนั้นเกิดจากสาเหตุที่สลับซับซ้อนหลายประการ จนนำมาสู่ความรุนแรงหลายครั้ง ในที่สุดกลายเป็นโศกนาฏกรรม ความวุ่นวายทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม จนทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา และนำไปสู่การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับแนวคิดและสร้างทางเลือกให้กับสังคมในการเผชิญหน้ากับความรุนแรงทางการเมือง โดยการเสนอแนะและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้เป็นทางเลือกในการจัดการความขัดแย้ง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งได้นำหลักปรัชญาของโสคราติสมาเป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองต่อไป

References

1.กีรติ บุญเจือ, (๒๕๒๐). แก่นปรัชญากรีก. พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช.
2.จรูญ สุภาพ, (๒๕๒๒). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิชย์.
3.จำนงค์ ทองประเสริฐ, (๒๕๑๔). ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ. พระนคร : แพร่วิทยา.
4.ประยงค์ สุวรรณบุบผา, (๒๕๔๑). รัฐปรัชญา แนวคิดตะวันออก-ตะวันตก. กรุงเทพมหานคร : โอเดียน-สโตร์.
5.ฟื้น ดอกบัว, (๒๕๓๒). ปวงปรัชญากรีก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
6.วิทยากร เชียงกูล, (๒๕๔๘). ปรัชญาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เดือนตุลาจำกัด.
7.สุพิศวง ธรรมพันทา, (๒๕๔๓). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : ภูมิไทย.
8.สุรพล สุยะพรหมและคณะ, (๒๕๔๗). ปรัชญาการเมือง, กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาบรรณาคาร.
9.สุลักษณ์ ศิวรักษ์, (๒๕๔๓). แนวคิดทางปรัชญาการเมืองของอริสโตเติล. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : ศยาม.
10.หลวงวิจิตรวาทะการ, (๒๕๑๐). ศาสนาสากล. พระนคร : ลูก ส.ธรรมภักดี.

Downloads