วิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ของประติมากรรมที่ปรากฏในพระมหาเจดีย์ชัยมงคล วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
สุนทรียศาสตร์, ประติมากรรม, พระมหาเจดีย์ชัยมงคลบทคัดย่อ
จากการวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ของประติมากรรมภายในพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ความงามเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัววัตถุหรือติดตัววัตถุมาตั้งแต่แรก ไม่ว่าตัวเราจะเห็นหรือใครๆ จะสนใจหรือไม่ก็ตามเพราะศิลปวัตถุชิ้นดังกล่าวนั้นมีสภาพ คือ รูปร่าง มีรูปทรง มีสีสัน มีลวดลายเส้นใยอันประณีตบ้าง ละเอียดบ้าง หรือเป็นสภาพแข็งบ้าง หยาบบ้าง สิ่งเหล่านี้ทาให้เห็นคุณค่าแห่งความงาม เหตุผลคือ ทุกๆ ชิ้นของศิลปะย่อมมีคุณสมบัติติดตัวมากับวัตถุศิลปะชิ้นนั้นๆ ความงามของประติมากรรมในพระมหาเจดีย์ชัยมงคล วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนารามอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า เป็นศิลปวัตถุที่มีความงามอยู่ในตัวของวัตถุ ที่กล่าวเช่นนี้เพราะวัสดุต่างๆที่นำมาสร้างมาแกะสลัก หรือมาปั้นนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามีคุณสมบัติที่ดีในตัวของมันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นปูน ทรายเรซิ่น หรือสีทอง เป็นต้น
References
2.เครือจิต ศรีบุญนาค, ผ.ศ. และคณะ. (2542). สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพมหานคร, เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
3.นิคม มูสิกะคามะ. (2545). วัฒนธรรม : บทบาทใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานค : รุ่งเรืองการพิมพ์.
4.พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2544). ศิลปะวิจักษณ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
5.พ่วง มีนอก. (2536). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
6.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรการท้องเที่ยวไทย หน่วย 9-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
7.ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.
8.เลอสม สถาปิตานนท์. (2552). มิติสถาปัตยกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9.ศรัญย์ วงศ์จาจันทร์. (ม.ป.ป.). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์.
10.สุติมา ฮามคำไพ. (2549). พระมหาเจดีย์ชัยมงคลกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาสารคาม.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์