พัฒนาคุณภาพชีวิตตามแบบวัตตบท ๗ ที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระเจริญ ทนฺตจิตฺโต อาจารย์พิเศษ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พัฒนาคุณภาพชีวิต, วัตตบท, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

วัตตบทแต่ละข้อ ถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานของบุคคลทั่วไป แม้พระพุทธเจ้าจะไม่อุบัติในโลก คุณธรรมเหล่านี้ก็มีประจำโลกอยู่แล้ว เพราะมฆมาณพก็เกิดในช่วงที่ว่างจากพระพุทธศาสนาแต่ใครจะสามารถปฏิบัติคุณธรรมเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่พื้นฐานของจิตใจ มฆมาณพสามารถนำหลักธรรมเล่านี้มาพัฒนาชีวิตตน นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีพื้นฐานทางด้านคุณธรรมที่ได้เคยสั่งสมอบรมมาแล้วหลายชาติ ดังข้อความในพระไตรปิฎก กล่าวถึงวัตตบททุกๆ ข้อ โดยใช้ศัพท์ว่า ยาวชีวํ คือ การสมาทานตลอดชีวิต อันแสดงถึงอุปนิสัยความตั้งมั่นและความเด็ดเดี่ยวในการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง ซึ่งเป็นนิสัยประจำตัวที่ติดมาทุกๆ ชาติก่อนที่จะมาเป็นมฆมาณพในชาติสุดท้าย และเกิดเป็นท้าวสักกะเพราะหากมาเริ่มบำเพ็ญในชาติเดียวก็เป็นการยากที่จะรักษาคุณธรรมแต่ละข้อไว้ตลอดชีวิตได้เพราะกุศลหรือความดีใดๆ ก็ตามจะมีผลมากก็ด้วยการทำอย่างจริงจัง และทำอย่างต่อเนื่องฉะนั้น

References

1.ก. ข้อมูลปฐมภูมิ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
2.ข. ข้อมูลทุติยภูมิพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๒.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑
3.พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๕๓.

Downloads