แนวทางสร้างสันติสุขในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พัชรี ศิลารัตน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการขอนแก่นจังหวัดมหาสารคาม
  • พระมหาประภาส แก้วเกตุพงษ์ สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ประเวช วะทาแก้ว สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สันติสุข, พระพุทธศาสนาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสันติสุขในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่า คำว่า ”สันติสุข„แปลว่า ความสุขที่เกิดจากความสงบ ดังพุทธภาษิตที่ว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ. สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี มนุษย์จะหาความสงบสุขได้อย่างไรเมื่อมนุษย์เกิดความสับสน ไม่รู้จะหันไปพึ่งใครหรือจะยึดอะไรที่จะช่วยให้เขามีความสงบสุข มนุษย์จึงหลงทางอยู่ในโลกและไปยึดกับสิ่งที่ไม่มีคุณค่าต่อความเป็นมนุษย์ เราไปยึดวัตถุสิ่งของต่างๆ โดยคิดว่าสิ่งนั้นจะนำความสุขมาให้ แต่มนุษย์ก็ยังไม่มีความพอใจ เราจึงหลงอยู่ในกิเลส จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหันกลับมาศึกษาในเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่มีความสุขกับการดำเนินชีวิต อันได้แก่ ความสงบสุขภายนอกและภายใน การที่มนุษย์จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้หากสันติสุขมีความหมายเพียงความอยู่ดีทางกาย แต่มนุษย์นั้นประกอบด้วยกายและใจในการมีชีวิตที่พัฒนาและมีความสุขอย่างสมบูรณ์ บุคคลนั้นจะต้องพัฒนาทั้งกายและใจจึงจะพบสันติสุขโดยสมบูรณ์

References

1.มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
2.เตชปัญโญ ภิกขุ. (2535). อริยสัจเพื่อมวลมนุษย์. ชลบุรี : อาศรมพุทธบุตร.
3.นิตย์ จารุศร. (2537). สารธรรม. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดเหรียญบุญการพิมพ์.
4.บุญมี แท่นแก้ว. (2546). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
5.ปิ่น มุทุกันต์. (2535). พุทธศาสตร์ (ภาค 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามงกุฎราชวิทยาลัย.
6.ปิยทัสสี ภิกขุ. (2540). วิมุตติธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
7.พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2532). พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
8.วริยา ชินวรรโณ, ผศ. (2546). จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์.
9.หลวงวิจิตรวาทการ. (2510). ศาสนาสากล. พระนคร : ลูก ส.ธรรมภักดี.

Downloads