ปริศนาธรรม (Koan) แก้ปัญหาสังคมไทยยุคเทคโนโลยี

ผู้แต่ง

  • จิตศริณย์พร ปัญจวัฒนคุณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปริศนาธรรม (Koan), สังคมไทยยุคเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

สังคมของประเทศไทยยุคเทคโนโลยี มีสภาพที่เป็นวิกฤต มีปัญหามากมาย เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาผู้สูงอายุ ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาโสเภณี เป็นต้น เนื่องจากเป็นยุคแห่งวัตถุนิยม บริโภคนิยม ปัญหามาจากความเห็นแก่ตัวเป็นต้นเหตุ จึงแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยหลักธรรมโกอัน

            โกอัน คือ ปริศนาธรรม เป็นหลักธรรมในนิกายเซน ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งของพระพุทธศาสนา   โกอันเป็นปริศนาธรรมการแสดงออกแห่งธรรมะอันเป็นสากลที่แท้จริง แสดงเป็นนิทาน เป็นคำสอนที่อาจารย์ตั้งปริศนาถามศิษย์ คำตอบต้องฉับพลัน เป็นการเห็นแจ้งจากจิตเดิมแท้

            โกอัน : koan แสดงเป็นโมเดล ได้ว่า

            K ในโกอานสื่อถึง Keen หมายความว่า ฉลาด มีไหวพริบ เฉียบแหลม ข้ามความสงสัยในตัวตนได้อย่างฉับพลัน ทำให้พบความเป็นอนัตตา

            O ในโกอานสื่อถึง Origin หมายความว่า ต้นกำเนิด จุดกำเนิด จุดเริ่มต้น จุดตั้งต้น บ่อเกิด แหล่งกำเนิด ของเดิม ความหมายเหล่านี้บ่งบอกถึงของความจริงแท้ของจิตเดิมแท้

            A ในโกอานสื่อถึง Arise หมายความว่า เป็นการยกจิตให้สูงขึ้น เพื่อวิเคราะห์ว่าทุกสิ่งในโลกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือสอนจิตให้ใช้จิตมองจิตของเรา การมองจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา การยกจิตมองจิตจะทำให้พบจิตเดิมแท้ที่บริสุทธิ์

            N ในโกอานสื่อถึง Natural หมายความว่า เป็นธรรมชาติ โดยธรรมชาติ ตามธรรมชาติ ธรรมดา ตามธรรมดา แต่กำเนิด เป็นปกติ บ่งบอกถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ

            Keen บ่งบอกความว่าง ความไม่มีแก่นสาร Origin บ่งบอกจิตเดิมแท้ที่บริสุทธิ์ Arise บ่งบอกถึงไตรลักษณ์ ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และNatural บ่งบอก อิทัปปัจจยตาหรือ ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกันและกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น หลักธรรมเหล่านี้มุ่งเน้นให้ปล่อยวางจากการยึดมั่น    ถือมั่น การคลายความยึดมั่นถือมั่นและมองเห็นทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามธรรมชาติ ทุกๆอย่างอิงอาศัยกันเป็นปัจจัยต่อกัน การคิดดี พูดดี ทำดี ก็ย่อมส่งผลให้เกิดผลดี การยึดมั่นในวัตถุที่เรียกกันว่าวัตถุนิยมในปัจจุบันที่เจริญไปด้วยเทคโนโลยี ย่อมก่อทุกข์เกิดเป็นปัญหาต่างๆ มีความอยากเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมเห็นแก่ตัว ส่งผลกระทบเป็นปัญหาต่อตนเอง สังคม ประเทศชาติและโลก

References

1.คณะกรรมการวิชาไทยศึกษา ศูนย์วิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. ไทยศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2557.
2.จุลชีพ ชินวรรโณ. โลกในศตวรรษที่ 21: กรอบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560.
3.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. สังคมวิทยาอาชญากรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551.
4.ซัม สาวพัตร์. พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ย้อนรอย. 2559.
5.ณัจฉลดา พิชิตบัญชาการ. ปัญหาสังคม.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2530.
6.ปฐม ทรัพย์เจริญ. ปัญหาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2553.
7.ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977). 2524.
8.ธีรพงษ์ มหาวีโร และฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์เดอะบุคส์. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เดอะบุคส์, 2555.
9.พระมหา. ดร.ประสงค์ กิตติญาโณ (พรมศรี). การพัฒนาจิตแบบพุทธนิกายเซ็น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์. 2557.
10.มัสยา นิรัติศยภูติ. (ผู้เรียบเรียง). พระพุทธศาสนานิกายเซน. อ้างใน พระสุชาติ ตื่อเยี่ยน (เชื้อรุ่ง).ศูนยตาในพุทธปรัชญามหายานนิกายเซ็น : การศึกษาวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ศาสนศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 2556.
11.ยุค ศรีอาริยะ. วิเคราะห์ระบบโลกในสหัสวรรษใหม่.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับสิชชิ่ง. 2546.
12.วิสันต์ ท้าวสูงเนิน. 99 พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท คำสอนของพ่อหลวง. นนทบุรี: หมู่บ้านบัวทองธานี. ม.ม.ป.
13.Noriyuki Suzuki and Somsak Srisontisuk. Civil society movement and development in Northeast Thailand ขบวนการประชาสังคมกับการพัฒนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. Khon Kaen: Published by Khon Kaen University Book Center. 2008.
14.Sasaki, R. F., The Zen Koan: Its History and Use in Rinzai Zen. New York: Harcourt.Brace & World. 1965.
15.www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=686&articlegroup_id=21 สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2561

Downloads