พุทธปรัชญาเซนในสวนโมกขพลาราม
คำสำคัญ:
พุทธปรัชญาเซน, สวนโมกขพลารามบทคัดย่อ
พุทธปรัชญาเซนเป็นนิกายมหายานที่นับถืออยู่ในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนามและประเทศตะวันตกหลายประเทศ ในประเทศไทยเริ่มรู้จักพุทธปรัชญาเซนอย่างแพร่หลาย เพราะการแปลคัมภีร์เซนโดยพุทธทาสภิกขุ ท่านศึกษาเซนแล้วนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ในการปฏิรูปสังคมไทย ด้วยการสร้างสวนโมกขพลารามอันเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมให้อยู่ใกล้กับธรรมชาติมากที่สุด รูปแบบการปฏิบัติของพุทธทาสภิกขุที่สะท้อนจุดเด่นของคำสอนในพุทธปรัชญาเซนอย่างมาก คือโรงมหรสพทางวิญญาณ ลานหินโค้ง อุโบสถธรรมชาติ ธรรมวารีนาวาอิสรกุลนฤมิต รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และสระนาฬิเกร์ ทั้งหกแห่งเป็นศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดในเรื่องโกอานและการจัดสวนแบบเซน ในแง่ของหลักธรรม สวนโมกขพลารามได้แฝงปริศนาธรรมที่ผสมผสานระหว่างคำสอนในพุทธปรัชญาเถรวาทกับเซนได้อย่างลงตัว นั่นคือหลักคำสอนเรื่องการทำงานด้วยจิตว่าง
References
พุทธทาสภิกขุ. แปล. (ม.ป.ป.ก). คำสอนฮวงโป. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
___________. (ม.ป.ป.ข). เซ็นในสวนโมกข์. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
___________. (2551). นิทานเซ็น : มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
รัตนชัย บุญศรี. อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเซนในงานของท่านพุทธทาสภิกขุ. (2545). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2549). สาระสำคัญแห่งพุทธปรัชญามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธรรมดา.
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ. (2554). 8 เรื่องน่ารู้ สวนโมกข์กรุงเทพ. กรุงเทพฯ : หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ.
อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. (2539). พระพุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Suzuki, Daisetz Teitaro. (2000). Zen and Japanese Buddhism. New Delhi : Munshiram Manoharlal.
การเก็บข้อมูลภาคสนาม
พระมหาสุรชัย ชยาภิวฑฺฒโน (พุดชู). 7 กุมภาพันธ์ 2559. การเก็บข้อมูลภาคสนาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์