พระพุทธศาสนากับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยทรงดำภาคกลาง
คำสำคัญ:
พระพุทธศาสนา, อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, ไทยทรงดำบทคัดย่อ
ไทยทรงดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่นในเรื่อง ความเชื่อ วิถีชีวิต พิธีกรรมและประเพณี สิ่งเหล่านี้มีรากฐานมาจากความเชื่อเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษและแถน
ด้วยระยะเวลาที่ชาวไทยทรงดำเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและนับถือพระพุทธศาสนา ทำให้ความเชื่อ วิถีชีวิต พิธีกรรมและประเพณีมีการปรับเปลี่ยนไปในขั้นตอนของการปฏิบัติ มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม มีการประพฤติปฏิบัติตามแนวคำสอนของพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป แต่ก็ยังคงให้การนับถือแถนและผีบรรพบุรุษควบคู่กันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ เพราะเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ซึ่งนำไปสู่คุณธรรมในข้ออื่น ๆ เช่น สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 อปริ-หานิยธรรม 7 สาราณียธรรม 6 หลักพลีกรรม 5 ทิศ 6 มงคล 38 หลักมัชฌิมาปฏิปทา หลักสันโดษ หลักไตรลักษณ์ หิริโอตตัปปะ ความซื่อสัตย์ ความอดทนอดกลั้น ความสามัคคี ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความมีระเบียบวินัย ความสำรวม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ ความเมตตาอารี และการพึ่งตนเอง
References
ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จเจ้าพระยา. (2507).ประวัติการของจอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต). กรุงเทพฯ : แพร่วิทยา.
บุญมี ปาริชาติธนกุล. (2546) ความเชื่อเรื่องผีในพิธีกรรมของชาวไทยโซ่งบ้านไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง..
บุปผา บุญทิพย์. (2543). คติชาวบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โฆษิต. 2551.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม, 2539.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546.
เรณู เหมือนจันทร์เชย. โลกทัศน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ความเชื่อเรื่องผีของไทยโซ่ง. นครปฐม : สำนักงานวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542.
สมุดราชบุรี. กรุงเทพฯ: สมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย. 2468.
สุกัญญา จันทะสูน. ภูมิปัญญาชาวบ้านและกระบวนการถ่ายทอด: การศึกษา “พิธีเสนเรือน” ของลาวโซ่ง จังหวัดพิษณุโลก. หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2538.
อนุมานราชธน, พระยา. ชาติ-ศาสนา-วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร, 2506.
อภิญวัฒน์ โพธิ์สาร. (2552). สารัตถะคติความเชื่อและพิธีกรรมลาวโซ่ง. มหาสารคาม: หจก.อภิชาติการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์