การนําศีล 5 ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อพัฒนาทักษะด้านคุณธรรม ในรายวิชาการปฏิบัติกรรมฐาน

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร (ทิพย์โอสถ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

1.การนําศีล 5, 2.การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน, 3.การพัฒนาทักษะด้านคุณธรรม, 4.การปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการนําศีล 5 ไปประยุกต์ใชในชีวิตประจําวันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อพัฒนาทักษะด้านคุณธรรม ในรายวิชาการปฏิบัติกรรมฐาน 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะด้านคุณธรรม ในรายวิชาการปฏิบัติกรรมฐานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือนักศึกษาวิทยาเขตล้านนา กลุ่มตัวอย่าง 302 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive samplings) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือเป็นแบบสอบถามปลายปิดมีจำนวน 55 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า การนําศีล 5 ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อพัฒนาทักษะด้านคุณธรรม โดยรวมทั้ง 5 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.05 อยู่ในระดับนาน ๆ ครั้ง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านศีลข้อที่ 1 ห้ามฆ่าสัตว์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.84 ซึ่งมีค่าแปลผลอยู่ในระดับบ่อยปานกลาง ด้านศีลข้อที่ 3 ห้ามประพฤติผิดในกาม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.28  ด้านศีลข้อที่ 2 ห้ามลักทรัพย์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.06 มีค่าแปลผลอยู่ในระดับนานๆ ครั้ง ด้านศีลข้อที่ 4 ห้ามพูดคําเท็จ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.70 ด้านศีลข้อ 5 เว้นจากการดื่มสุรา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.38 ซึ่งมีค่าแปลผลอยู่ในระดับไม่เคย ตามลำดับ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะด้านคุณธรรม ด้านศีลข้อที่ 1 พบว่า ควบคุมตัวเองให้ดี นำเอาหลักศีลธรรมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตให้มากขึ้น อย่าเบียดเบียนและแผ่เมตตาให้มาก ด้านศีลข้อที่ 2 พบว่า ไม่ควรเอาสิ่งของที่เป็นของตนเอง ควรอบรมคุณธรรมจริยธรรม เป็นการผิดกฎกหมายห้ามลักทรัพย์ ควรทำงานสุจริต สิ่งใดไม่ใช่ของเราก็ไม่ควรหยิบเอา ด้านศีลข้อที่ 3 พบว่า ควรมีความซื่อสัตย์ต่อคนรัก รักเดียวใจเดียว การผิดศีลข้อนี้เป็นบาป ควรอบรมเกี่ยวกับโทษของสื่อลามก ให้เสพสื่อธรรมะแทน ด้านศีลข้อที่ 4 พบว่า ไม่ควรนินทาคนอื่น พูดแต่ความจริง ควรเลิกใส่ร้ายคนอื่น เอาธรรมะเป็นแนวทางปฏิบัติ ด้านศีลข้อที่ 5 พบว่า ปรับทัศนคติว่าสิ่งเสพติดเป็นสิ่งที่ไม่ดี เอาธรรมะเข้ามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เข้าร่วมกิจกรรม เช่น งดเหล้าเข้าพรรษา

References

กรมวิชาการ. (2539). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ลักษณ์.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2540). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ณัฐสุดา เต้พันธ์ และวัชราภรณ์ เพ์งจิตต์. (2547). ศึกษารูปแบบความผูกพันธ์ ค่านิยมทางวัตถุ และเจตคติต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. เอกสารการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 4 เด็กกับการพัฒนาสังคม, คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิต อยู์โพธิ์. (2540). อานิสงส์ศีล 5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
บุญหนา จิมานัง และคณะ. (2550). พฤติกรรมการรักษาศีลห้าของเด็กเยาวชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2532). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 23, คุณทวิช ชุนหชา พิมพ์เป็นธรรมทาน.
พระมหาพิชิตชัย ยมพาลไพ่. (2542). การศึกษาทัศนะเรื่องศีล5 ของชาวพุทธในสังคมไทยปัจจุบัน:ศึกษาเฉพาะ กรณีการฆ่าสัตว์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระอุบล กตปุญโญ (แก่ววงษ์ล้อม). (2537). การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของศีลที่มีต่อสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2540). ทาน ศึล ภาวนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
ภมริน เชาวนจินดา. (2540). ศึกษาลักษณะทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพัฒนาสังคมสถาบันพัฒนาบริหารศาสตร.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร : อักษราพิพัฒน์.
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2516). จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย. พระนคร : ห้างหุ์นส่วนจํากัดบรรณกิจเทรดดิ้ง.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2538). ความจริงที่ต้องเข้าใจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำลี รักสุทธี. (2543). สุดยอดวินัยของพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา พิมพที่บริษัทธนธัชการพิมพ์ จํากัด.
เสาวรีย์ ตะโพทอง และกุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร. (2549). ศึกษาพฤติกรรมการนําศีลห้าไปใช้ในชีวิตประจำวันของนิสิตนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2549.
Elizabeth B. Hurlock. (1967). Adolescent Development. 3rd. New York : Mc. Graw.Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-14