พุทธจริยศาสตร์ : พันธสัญญาที่บุคคลพึงกระทำต่อกันในทิศ 6
คำสำคัญ:
1. พุทธจริยศาสตร์, 2. พันธสัญญา, 3. ทิศ 6บทคัดย่อ
เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เรื่องทิศ 6 ที่ส่งเสริมการทำความดีและหน้าที่ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อกันในสังคม การดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกัน พุทธจริยศาสตร์คือ หลักการปฏิบัติต่อตนเองและคนอื่น เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีการอยู่ร่วมกัน มีการกระทำและมีความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกัน หลักพุทธปรัชญาเกี่ยวกับสังคมในสิงคาลกสูตรว่าด้วยหลักทิศ 6 คือการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลใน 6 กลุ่ม ซึ่งทุกคนต้องมีหน้าที่อันพึงปฏิบัติต่อผู้อื่นที่ตนเกี่ยวข้องด้วย ในขณะเดียวกันตนเองก็มีสิทธิได้รับการอนุเคราะห์จากผู้อื่นที่ตนเกี่ยวข้องด้วยเหมือนกัน เป็นการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันและปฏิบัติต่อกันทุกฝ่าย เช่น มารดา บิดาปฏิบัติกับบุตร, ครูอาจารย์ปฏิบัติกับลูกศิษย์, สามีปฏิบัติกับภรรยา, มิตรสหายปฏิบัติกับมิตรสหาย, นายจ้างปฏิบัติกับลูกจ้าง, สมณะปฏิบัติกับประชาชน ดังนั้น พันธสัญญาที่บุคคลพึงกระทำต่อกันจึงเป็นพุทธจริยศาสตร์หรือความรับผิดชอบคือ ความตั้งใจปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของตนด้วยความเต็มใจ ทั้งในหน้าที่โดยตรง เช่น เป็นบิดา มารดา เป็นบุตรธิดา และเป็นสามีภรรยา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาพันธสัญญาและหน้าที่ก็จะส่งผลให้ตนเองและสังคมมีความสุข ความมั่นคงในชีวิต และความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีกด้วย
References
เดือน คำดี.(2534). พุทธปรัชญา, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ขันธ์.(2543).จริยศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พันเอกปิ่น มุทุกันต์.(2527).แนวสอนธรรมะตามหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี,พิมพ์ครั้งที่ 2,กรุงเทพฯ : กมลการพิมพ์.
พิทูร มลิวัลย์.(2540). แบบเรียนวิชาธรรมสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : โรง
พิมพ์การศาสนา.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ).(2536). เตือนใจวัยรุ่น และ 5 ดีสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์, กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
พระธรรมกิตติวงศ์และคณะ.(2546). คลังธรรมเล่ม 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต).(2543). พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 9,กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุชีพ ปุญญานุภาพ.(2532). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎ
ราชวิทยาลัย, 2532.
สมภาร พรมทา.(2541). พุทธศาสตร์กับปัญหาจริยศาสตร์, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ (2529)นิทานคติธรรมและนิทานชาดก,กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร, 2529
อารย์ สมาธยกุล.(2539). จริยธรรมกับชีวิต, ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎมหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์