การให้ทานของสัตบุรุษ 5 ประการ ตามหลักพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระกิติคุณ สิริคุโณ(เจนยุทธนา)

คำสำคัญ:

๑.ทาน, ๒.สัตบุรุษ

บทคัดย่อ

การศึกษาหลักการให้ทานของสัตบุรุษ 5 ประการ ตามหลักพระพุทธศาสนานี้ เป็นการศึกษาถึงวิธีการและความสำคัญของการให้ทานที่ถูกต้องของสัตบุรุษตามหลักพระพุทธศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อการให้ทานของชาวพุทธในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นวัตถุทาน หรือธรรมทาน เพื่อให้มีความเห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการให้ทาน ทั้งที่เป็นความหมายของทาน ประเภทของทาน องค์ประกอบหลักของทาน องค์ประกอบการให้ทานของสัตบุรุษ และอานิสงส์ของการให้ทาน ชีวิตของมนุษย์อยู่ด้วยกันเป็นสังคม แต่การที่จะทำให้สังคมนั้นมีความสุขความสามัคคีกันได้ คือ ต้องไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว ฉะนั้น การให้ทาน คือ การสละความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ได้ เป็นการช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้ยากไร้ ผู้ตกทุกข์ได้ยากทั้งทางวัตถุ เช่น ปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคในส่วนทางธรรม คือ ให้คำชี้แนะคำสอนเพื่อทำให้มีความเห็นที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต อีกทั้งการให้ทานยังเป็นบุญกิริยาวัตถุในขั้นแรกที่มีบทบาทต่อสังคมชาวไทยที่จะนำพาไปสู่ความสามัคคีปรองดองและเสริมสร้างคุณธรรมทางจิตใจเพื่อความสงบสุขแก่ตนเองและสังคมประเทศชาติ

References

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 38, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์
พระครูโพธิชยธรรม (บุปผาสังข์) .(2555), “การศึกษาเปรียบเทียบการให้ทานสมัยพุทธกาลกับการให้ทานของชาวตำบลนาเลิงอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,(บัณฑิต วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
พระศิริปัญญามุนี (อ่อน) .(2506), คัมภีร์มงคลทีปนีแปล.กรุงเทพมหานคร : ฌรงพิมพ์เลี่ยงเชียงจงเจริญ
พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก.(2541), ทานก้าวแรกแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิต, ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 4, (ปทุมธานี : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรช์ จำกัด ,
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ และคณะ.(2533), หลักการดำรงชีวิตในสังคม, พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยรามคำแหง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-14