วัฒนธรรมความเชื่อที่มีต่อประเพณีบั้งไฟของคนอีสาน
คำสำคัญ:
1) วัฒนธรรม, 2) ความเชื่อ, 3) ประเพณีบั้งไฟ, 4) คนอีสานบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมความเชื่อที่มีต่อประเพณีบั้งไฟของคนอีสาน ที่เรียกว่า “บุญบั้งไฟ”หรือ“บุญเดือนหก” ซึ่งสรุปได้ 2 ประการคือ 1) เป็นเดือนที่เป็นวันคล้ายวัน “ประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน”ของพุทธเจ้า องค์ประกอบหลักในบุญเดือนหกนี้ จึงเกี่ยวข้องอยู่กับพระพุทธศาสนา “บั้งไฟ” คือความดีเชิงอุปกรณ์ที่ชาวพุทธใช้บูชาคุณของพระพุทธเจ้า ดังจะเห็นได้จากวรรณกรรมอีสานเรื่อง“ผาแดง–นางไอ่” ที่ได้ปรากฏกำหนดการจัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และเรื่อง“พญาคันคาก ” ที่ปรากฏว่าเป็นตำนานชาดกอีสานที่เล่าถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นพระโพธิสัตว์ 2) เป็นช่วงที่ชาวอีสานกำลังจะเข้าสู่ฤดูลงนา และเลยเดือนหกไปคือเดือนเจ็ดก็เป็นเดือนที่ชาวอีสานจะต้องเลี้ยงผี เช่น ผีปู่ตา เพราะความที่ชาวอีสานเคยนับถือลัทธิถือผี ได้แก่ “ลัทธิผีแถน”มาก่อนนั้น การบูชาผีด้วยบั้งไฟก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ “ไฟ” คือวัตถุที่ใช้เป็นองค์ประกอบของเครื่องบวงสรวง บูชา ที่เรียกว่า “อามิสทาน” มีดอกไม้ ธูปเทียน ของหอม และน้ำมัน เป็นต้น ความเชื่อลัทธิถือผีในศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา จึงมีความสัมพันธ์กันบนพื้นฐานธรรมชาติเรื่องน้ำฝน จนก่อนให้เกิดพิธีกรรมและกิจกรรมบุญบั้งไฟ บุญบั้งไฟตามความเข้าใจของคนอีสานจึงหมายถึงดอกไม้ไฟ ที่มีขนาด สัดส่วนตามความเหมาะสมต่อการใช้งาน ทั้งจุดขึ้นฟ้าและจุดให้เสียงดัง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีพิธีบูชาแถนเพราะเป็นการแสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณไปยังแถน และมีบทบาทต่อวิถีชีวิตแบบผสมผสานของการบรวงสรวงแถน และบูชาคุณของพระพุทธเจ้าในที่สุด
References
ส่วนจังหวัดในเขตการศึกษา 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันราภัฏ
อุบลราชธานี.
ทวี ภุมรินทร์.(มปพ). มงคลชีวิต. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต).(2547).พระไตรปิฏกสิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).(2554). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อังคนา ใจเหิม.(2546). การวิเคราะห์ดนตรีพื้นเมืองเหนือ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.,กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อภิศักดิ์ โสมอินทร์(2537). โลกทัศน์อีสาน. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
เว็ปไซต์
วรรณกรรมพื้นบ้าน http://www.kpsw.ac.th/teacher/chantana/page4.htmสิรัวัฒน์ คำวันสา http://www.thaiesan.net
ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ, http://personal.swu.ac.th/students/sc491010579/noname1.htm
สุชีพ ปุญญานุภาพhttp://www.thaiwisdom.org/p_culture/api/api_1.htm)
พิธีขอฝนคนอีสานhttp://www.isangate.com/local/boran_isan_08.html)
วรรณกรรมพื้นบ้านhttp://www.kpsw.ac.th/)(http://addcom.is.in.th/)
ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟhttp://personal.swu.ac.th/)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์