การท่องเที่ยวเชิงพุทธเพื่อส่งเสริมศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของผู้จาริกแสวงบุญตามวัดต่างๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • พระศรีรัชมงคลบัณฑิต

คำสำคัญ:

1. การท่องเที่ยวเชิงพุทธ, 2. ศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา, 3. จาริกแสวงบุญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวเชิงพุทธเพื่อส่งเสริมศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของผู้จาริกแสวงบุญตามวัดต่าง ๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี 2. เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวเชิงพุทธกับการส่งเสริมศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของผู้จาริกแสวงบุญ 3. เพื่อกำหนดเส้นทางและจัดทำคู่มือการท่องเที่ยวเชิงพุทธเพื่อส่งเสริมศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของประชาชน วิธีดำเนินการวิจัยผสมผสาน การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการสุ่มแบบเจาะจง การวิจัยเชิงปริมาณได้สุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวซึ่งมาท่องเที่ยวใน 4 วัด ๆ ละ 40 คน โดยใช้โควตา เครื่องมือการเก็บข้อมูลมี 4 คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (ปลายเปิด) แบบสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตการณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยประมวลผลเพื่อคำนวณหาค่าสถิติต่าง ๆ การตีความหมายตามเนื้อความหลัก ในภาพรวมและทำการสงเคราะห์ ในประเด็นที่สำคัญ ๆ นำเสนอผลของการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาการ ผลการวิจัย พบว่า การท่องเที่ยวเชิงพุทธเพื่อส่งเสริมศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของผู้จาริกแสวงบุญมีความสัมพันธ์ระดับหนึ่ง ขาดความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรม 2) มีความสัมพันธ์ระดับหนึ่งกล่าวคือในระดับไหว้พระขอพรทำบุญนั้นอยู่ในระดับสูงส่วนในระดับการฟังธรรมปฏิบัติธรรมนั้นอยู่ในระดับต่ำ และ3) เส้นทางที่จะไปท่องเที่ยวในวัดแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 4 แห่งนี้มีความสะดวกสบายเดินทางได้ 3 รูปแบบหลัก ปัญหาในการท่องเที่ยวเชิงพุทธเพื่อส่งเสริมศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือความร่วมมือระหว่างผู้ไปท่องเที่ยวและเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวในการจัดเวลาและกิจกรรมจะส่งเสริมศรัทธาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และปัญหาเรื่องขาดงบประมาณในการดำเนินงาน

References

กุลวรา สุวรรณพิมล. (2548). ความหมายของนักท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.พระราชทานพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพอดุลยเดชกับคำสอนของพระพุทธศาสนาแก่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2513.
พระมหาสุริยา มะสันเทียะ(2558) งานวิจัย ประสิทธิผลของกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อการส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาพระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานครวารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ : ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน
ภัทร์สุภา ลีลานภาพรรณ์. (2551). การท่องเที่ยวเชิงพุทธ : กรณีศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ, เล่มที่ 11,14,29, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ. 2538.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-04