ศึกษาการบรรลุธรรมของสหชาติของพระพุทธเจ้าเชิงเปรียบเทียบ

ผู้แต่ง

  • แม่ชีธัญธารีย์ ฉัฐบวรสิทธิ์

คำสำคัญ:

1.การบรรลุธรรม, , 2.สหชาติ, 3.เชิงเปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

บทความสารนิพนธ์เรื่อง“ศึกษาการบรรลุธรรมของสหชาติของพระพุทธเจ้าเชิงเปรียบเทียบ”มีวัตถุประ สงค์เพื่อศึกษาประวัติและการสั่งสมบารมีของสหชาติของพระพุทธเจ้าและเพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติเพื่อการบรร]6ธรรมของสหชาติของพระพุทธเจ้า พบว่าการสั่งสมบารมีของสหชาติ (เกิดร่วมวัน เดือน ปี เดียวกัน) ทั้ง ๗ คือ พระอานนท์ พระกาฬุทายี พระฉันนะ พระยโสธราเถรี (พระภัททากัจจานาเถรี) ม้ากัณฐกะ ต้นศรีมหาโพธิ์ ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ โดยการตั้งจิตอธิษฐานปรารถนาและสั่งสมบารมีอย่างมุ่งมั่น ทำให้ได้เกิดเป็นอริยสาวกของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ และได้เกิดเป็นสหชาติของพระพุทธเจ้า การบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ คือ ๑) ทานบารมี ๒) ศีลบารมี ๓) เนกขัมมบารมี ๔) ปัญญาบารมี ๕) วิริยบารมี ๖) ขันติบารมี ๗) สัจจบารมี ๘) อธิษฐานบารมี ๙) เมตตาบารมี ๑๐) อุเบกขาบารมี แบ่งเป็นระดับคือ ๑) บารมี ๒) อุปบารมี ๓) ปรมัตถบารมี รวมเรียกว่า บารมี ๓๐ ทัศ และมีวิธีการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมของสหชาติคือ พระอานนท์ได้เจริญกายานุปัสสนา หมวดสัมปชัญญ พระกาฬุทายี เจริญวิปัสสนาโดยกำหนดรู้อาสวะ๓  พระยโสธราเถรี เจริญสมถะและยกจิตขึ้นวิปัสสนา พระอริยสาวกทั้ง ๓ บรรลุพระอรหันต์ ได้วิชชา ๓ และคุณวิเศษคือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ส่วนพระฉันนะได้ฟังปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นองค์ของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้บรรลุพระอรหันต์ ม้ากัณฐกะได้บรรลุโสดาบันหลังได้จุติเป็นกัณฐกะเทพบุตรแล้วได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ต้นศรีมหาโพธิ์และขุมทรัพย์ ทั้ง ๒ เป็นสัญลักษณ์แสดงความสมบูรณ์ของพระพุทธเจ้า

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
คณะกรรมการโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ ๑๙. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๖.
จำเนียร ทรงฤกษ์. (๒๕๕๓). ชีวประวัติพุทธสาวิกา(พระภิกษุณี หรือพระเถรี). พิมพ์ครั้งที่ ๔ กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพ่อนวล แม่พัว ทรงฤกษ์,
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต, ๒๕๕๖.
พระมหาประมวล ฐานทตฺโต (บุลาลม). (๒๕๔๘). ต้นไม้ประจำพระพุทธองค์. พิมพ์ครั้งที่ ๓. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ ร่มธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-04