การบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน

ผู้แต่ง

  • ผุสดี โตสวัสดิ์

คำสำคัญ:

1.การบำบัดรักษาโรค, 2.การปฏิบัติกรรมฐาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติในเรื่องการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน การปฏิบัติกรรมฐานเป็นวิธีการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หรือกระบวนการฝึกอบรมจิต พัฒนาจิตให้แน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จนเกิดเป็นสมาธิ คือความสงบนิ่ง จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน กระวนกระวาย ที่เรียกกันว่า “สมถกรรมฐาน” หรือการฝึกอบรมจิตให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ให้รู้เท่าทันความจริงในปัจจุบันของสิ่งทั้งหลาย เพื่อพัฒนาจิตให้สูงขึ้น ยอมรับความเป็นจริงของชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ที่เรียกกันว่า “วิปัสสนากรรมฐาน” สำหรับการดูแลสุขภาพและบำบัดภาวะความเจ็บป่วยต่าง ๆ นั้น พระพุทธศาสนามองแบบองค์รวมคือ ทางกายและทางใจ และการแก้ไขให้ตรงตามเหตุปัจจัยของความเจ็บป่วยนั้น ๆ และสร้างเหตุปัจจัยที่ส่งเสริมสุขภาพขึ้นมา ผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี กำลังจิตที่เข้มแข็งหรือการใช้กำลังสมาธิจะนำมาระงับทุกขเวทนา บรรเทาหรือผ่อนเบาโรคทางกายได้ และยังส่งผลทำให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายค่อย ๆ ปรับสภาพสมดุล ผลิตฮอร์โมนในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งการทำงานของระบบประสาทและระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ทำให้สภาพต่าง ๆ ภายในร่างกายสามารถเข้าสู่ภาวะปกติ โรคภัยต่าง ๆ บรรเทาลงและหายไปในที่สุด

References

การศาสนา, กรม. (๒๕๓๐). พระไตรปิฎก ฉบับสังคายนาในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ ๒๒, ๒๕. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
ชูศักดิ์ เวชแพศย์. (๒๕๓๘). สรีรวิทยาของผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์.
ทัศนียา ชัยประสงค์สุข. (๒๕๕๒). การให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทางพุทธธรรมในผู้ป่วยโรค
เรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า สถานีอนามัยนาข่า จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหา
บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ และคณะ, รองศาสตราจารย์ นายแพทย์. (๒๕๕๒). สมาธิบำบัดในทางจิต
เวชศาสตร์และสุขภาพจิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญมี มาลาวชิโร, มหา, และณเสฎฐ์ ธนาวิสฐพล. (๒๕๕๓). ธรรมะรักษาโรค เล่ม ๑. กรุงเทพฯ:
บริษัท ธิงค์ บียอนด์ บุ๊ค จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (๒๕๔๒). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:
บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (๒๕๔๖). กายหายไข้ ใจหายทุกข์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. กรุงเทพฯ: บริษัท
สหธรรมมิก จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (๒๕๕๒). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่
๑๑. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เพลิน สูงโคตร. (๒๕๕๐). การปฏิบัติสมาธิในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความเครียด : โรงพยาบาลโนน
สูง จังหวัดศรีสะเกษ. รายงานการศึกษาอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภูชิต สุวรรณวัฒน์. (๒๕๕๐). ผลการฝึกเดินจงกรมที่มีต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยา
ศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มยุรี จิรภิญโญ. (๒๕๔๘). การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
มาลัย แสงวิไลสาธร. ผลการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ และการสวดมนต์ ต่อการนอนไม่หลับใน
ผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลลิตา ธีระสิริ. (๒๕๔๕). มะเร็งรักษาด้วยตนเองตามแนวคิดธรรมชาติบำบัด. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒.
กรุงเทพฯ: รวมทรรศน์.
วทินันนท์ เพชรฤทธิ์. (๒๕๕๐). การนำโปรแกรมการฝึกอานาปานสติสมาธิไปใช้ในการลดระดับ
ความเครียดของผู้ป่วยโรคมะเร็ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภชัย ถนอมทรัพย์. คู่มือการปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. เอกสารประกอบการ
ประชุม วิชาการสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี. (อัดสำเนา).
สมภาร ทวีรัตน์, พระ. (๒๕๔๒). การนำหลักวิปัสสนากรรมฐานมาใช้ในการลดภาวะความแปรปรวนทาง
อารมณ์ในสตรีวัยทอง. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ส. ศิวโรจน์. (๒๕๕๑). สมาธิตัดกรรม : อัศจรรย์แห่งการบำบัดรักษาและการแก้ไขกรรมในอดีต.
กรุงเทพฯ: บริษัท ยูแพคอินเตอร์ จำกัด.
สุจิตรา อ่อนค้อม. (๒๕๔๗). การฝึกสมาธิ. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ: ดับเบิ้ลนายน์.
สุนันทา กระจ่างแดน. (๒๕๔๐). ผลของการฝึกสมาธิชนิดอานาปานสติแบบผ่อนลมหายใจในการลด ความเครียดและความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุพรรณี เขียวชอุ่ม. (๒๕๕๒). การปฏิบัติกรรมฐานที่มีผลต่อระดับความเครียด เชาน์อารมณ์และ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์. (๒๕๔๖). รูปแบบการบรรเทาทุกข์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยการอบรมเจริญสติ
ปัฏฐาน ร่วมกับ การเยียวยาทางการพยาบาล. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต.
บัณฑิต วิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-17