การมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนวิถีพุทธ
คำสำคัญ:
1.การมีส่วนร่วม, 2..พระสอนศีลธรรม, 3.การจัดการเรียนการสอน, 4.โรงเรียนวิถีพุทธบทคัดย่อ
ยุทธวิธีการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้าทุกขั้นตอน สามารถนำหัวข้อธรรมมา ใช้เป็นหลักควบคู่กันไปได้อย่างกลมกลืน กล่าวคือ การคิดใช้โยนิโสมนสิการ การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกวิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย และเป็นฝ่ายปัญญา ไตรสิกขา เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนควรจะทำตัวใหเป็นกลาง อย่าสนิทสนมกับนักเรียนมากเกินไป หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ทำตัวให้น่าเชื่อถือ เตรียมความพร้อมก่อนที่จะสอน ปราศรัยทักทาย สร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน สอนเนื้อหาให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ให้ครอบคลุมและชัดเจน เนื้อหาให้เข้ากับปจจุบัน ควรจะมีสื่อประกอบ หาแนวทางสอนให้เข้าใจ สร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน กิจกรรมต้องหลากหลาย
Downloads
References
ประเสริฐ ธรรมโวหาร. (๒๕๔๒). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชา
หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม,
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (๒๕๔๔). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (๒๕๔๗). การบริหารการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2543). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์. การพัฒนาปัจจุบัน,พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช
วารี ถิระจิตร. (๒๕๒๖). การจัดและปรับปรุงสภาพห้องเรียน. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.
เสาวนิตย์ ชัยมุสิก. (๒๕๔๒). การบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บุคพอยท์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์