สมาธิในพระพุทธศาสนาต่อการตื่นตัวของโลก

ผู้แต่ง

  • สิริพร ครองชีพ ศน.ม. อาจารย์ประจำคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • กฤตสุชิน พลเสน Ph.D., อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • พระสุทธิสารเมธี, ดร. ศน.ด., อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สมาธิ, พระพุทธศาสนา, การตื่นตัว

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง สมาธิในพระพุทธศาสนาต่อการตื่นตัวของโลก มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา              1.สมาธิในพระพุทธศาสนา 2.ความสำคัญของสมาธิในพระพุทธศาสนา 3.การส่งเสริมการปฏิบัติสมาธิในพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลกในภาพรวม 4.สมาธิในพระพุทธศาสนาต่อการตื่นตัวของโลก ผลการศึกษาพบว่า  สมาธิตามหลักพระพุทธศาสนาทั้ง 3 ระดับ แตกต่างกันโดยสมาธิระดับขณิกสมาธิ หรือสมาธิชั่วคราว สมาธิในระดับอุปจารสมาธิเป็นสมาธิจวนเจียนจะแน่วแน่โดยสมบูรณ์ ใกล้จะถึงฌาน เมื่อชำนาญคุ้นดีแล้วก็จะแน่วแน่กลายเป็นอัปปนาสมาธิ อันเป็นองค์แห่งฌานต่อไป ความสำคัญของสมาธิผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านมีความเห็นสอดคล้องถึงความสำคัญของสมาธิที่มีต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะสมาธิจะเป็นฐานที่มั่นสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้ สมาธิจะเป็นตัวสร้างฐานพลังจิตจนสามารถนำไปสู่ขั้นปัญญาหรือวิปัสสนาญาณ เข้าสู่มรรคผลนิพพานได้สำเร็จ การส่งเสริมการปฏิบัติสมาธิในพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลกในภาพรวม ควรสนับสนุนให้มีการเผยแผ่ทำความเข้าใจในหลากหลายรูปแบบ การปฏิบัติสมาธิมีความจำเป็นทุกชาติศาสนา เพื่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและการประกอบธุรกิจการงาน สมาธิในพระพุทธศาสนาต่อการตื่นตัวของโลก ปัจจุบันถือว่า ประชาชนมีการตื่นตัวเรื่องสมาธิกันมากขึ้น เพราะว่าเราจะเห็นว่าสังคมปัจจุบันคนต้องการที่พึ่งแห่งจิตใจมากขึ้น ปัจจุบันผู้คนมีอิสระในการแสวงหาสันติภาพกันมากขึ้น ผู้คนทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับสมาธิกันมาก แสดงให้เห็นว่าเขาเหล่านั้นต่างต้องการและแสวงหาสันติภาพภายในตน ด้วยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ, 2500.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

_________พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทฺธิ). วิปัสสนาญาณโสภณ. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานครศรีอนันต์การพิมพ์, 2546.

นายเจริญ ช่วงชิต, การศึกษาสมาธิในพระพุทธศาสนา, สารนิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย, 2557.

สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา
1. พระราชปริยัติกวี ศ.ดร.(สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ). น.ธ.เอก, ป.ธ.9, Ph.D.,อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สัมภาษณ์ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2563

2.พระมงคลธรรมวิธาน,ผศ.ดร.(สำเร็จ ภูริจิตฺโต). น.ธ.เอก, ป.ธ.4, Ph.D.,รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, สัมภาษณ์ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2563

3.พระครูภาวนาวิจิตร (สำรวย จารุวณฺโณ ). น.ธ.เอก, ป.ธ.5, พธ.ม, ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ครูใหญ่สายวิปัสสนา สายหลวงพ่อสด, สัมภาษณ์ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2563

4. ศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ, น.ธ.เอก, ป.ธ.9, Ph.D., คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,สัมภาษณ์ วันที่ 18 กันยายน 2563

5.ผศ.ดร.ณัฐพัชร สายเสนา. น.ธ.เอก, ป.ธ.5, Ph.D., รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, สัมภาษณ์ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2563

6.ผศ.ดร.สมบูรณ์ วัฒนะ. น.ธ.เอก, ป.ธ.7, Ph.D., อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล, สัมภาษณ์ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2563

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24