องค์กรพุทธในประเทศไทย : มิติการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • องอาจ เขียวงามดี
  • พระสุทธิสารเมธี, ดร.

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่ององค์กรพุทธในประเทศไทย  มิติการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1.องค์กรพุทธในประเทศไทย   ๒. แนวคิดเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ  พระพุทธศาสนาก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย   การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็เพื่อได้นำหลักธรรมไปใช้ในการพัฒนาชีวิตตนเองและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  จนสามารถพัฒนาไปสู่การศึกษาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สู่การปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง แนวคิดและวิถีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาได้กลายเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมไทย  อย่างไรก็ตามศาสนาที่ปราศจากการอุปถัมภ์บำรุงเอาใจใส่จากรัฐก็มิอาจนำหลักธรรมเข้าไปสู่กลไกของรัฐได้อย่างสะดวก  รัฐที่ปราศจากหลักธรรมทางศาสนาเป็นคู่มือบริหารก็มิอาจนำรัฐไปสู่เป้าหมายและความสงบสุขแห่งรัฐได้  จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ศาสนจักรและอาณาจักรจะต้องร่วมมือกันเดินไปด้วยกันเพื่อความสงบสุขแห่งรัฐและความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาและสันติภาพโลก

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, (2554).ประวัติความเป็นมาของศาสนาพระพุทธศาสนาและองค์การศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย,เอกสารเผยแพร่, 121-131.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9 ราชบัณฑิต) (2556) .คำพ่อสั่ง.กรุงเทพฯ : พิมพ์เลี่ยงเชี่ยง.

พระดาวเหนือ บุตรสีทา. (๒๕๕๗). การสร้างเครือข่ายและการจัดการเครือข่ายในการเผยแผ่    

พระพุทธศาสนาของชุมชนบ้านพบธรรมนาสุข อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต),(๒๕๕๓). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, ข้อมูลออนไลน์,เข้าเมื่อ ๑๐ ส.ค.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต).(๒๕๔๘). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (๒๕๓๐). สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พุทธทาสภิกขุ. (๒๕๔๘). แก่นพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒, (กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖), หน้า ๔๗๘.  

ส. ศิวรักษ์ (แปลและเรียบเรียง),(2534). ความเข้าใจเรื่องพระเจ้าอโศกและอโศกาวทาน, พิมพ์ครั้งที่ 2,กรุงเทพฯ : บริษัท เคล็ดไทยจำกัด.

สิริวัฒน์ คำวันสา,(๒๕๓๔).ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า ๒๔ 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24