พุทธรูป : สัญลักษณ์แห่งศรัทธาหรือ พานิชย์

ผู้แต่ง

  • พระอนัญญ์พงศ์ สนเตสโก (ชายเกต)

คำสำคัญ:

พระพุทธรูป สัญลักษณ์แห่งศรัทธา พุทธพานิชย์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ ที่จะนำเสนอ ถึง พระพุทธรูป เป็น สัญลักษณ์แห่งศรัทธา หรือ เป็นพุทธพานิชย์ ในมุมมองของสังคมไทย ในยุคปัจจุบัน พุทธศาสนา เป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวของชนชาติไทยมาตั้งแต่บรรพกาล ซึ่งจุดกำเนิด พุทธรูปในยุคแรก สมัยหลังพุทธกาล เป็นต้นมา พุทธรูปเป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวแห่งจิตใจ เป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธา ที่มีต่อพระบรมศาสดากาลเวลาเปลี่ยน ผ่านจากยุคสู่ยุค มาถึงยุคที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์  บริบทของสังคมในยุคบริโภคนิยม ทุนนิยม พุทธศาสนา ก็มีการปรับตัวให้เข้ายุคสมัย สังคมและวัฒนธรรมใหม่ ในกระแสโลกาภิวัตน์ จนละเลยคำสอนดั้งเดิม อันเป็นพุทธวจนะ อันเป็นผลมาจากวัฒนธรรมบริโภคนิยม ทำให้วัตถุนิยมเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยมีเงินตรา มีอำนาจในสังคม พุทธศาสนาที่แท้จริงถูกปกปิด กลายเป็นพุทธพานิชย์ มีการแสวงหากำไร มีการสร้างศานสถานที่ใหญ่โต มีการระดมทุน เพื่อ การก่อสร้าง ถาวรวัตุ ให้เช่าบูชา วัตถุมงคลอย่างมากมาย ในสังคมยุคปัจจุบัน ด้วยลัทธิ วัตถุนิยมเข้าครอบงำสังคมไทย ในยุคปัจจุบัน ทำให้ พุทธศาสนา ที่มีหลักคำสอนอันบริสุทธิ์ ถูกปกปิดไปด้วยวัตถุนิยม เป็นการแสวงหากำไร เชิงพุทธพานิชย์ บนความศรัทธาของประชาชน

ในการนำเสนอต่อไปนี้ เบื้องต้นจะเป็นการกล่าวถึงทัศนะในการนำเสนอต่อไปนี้ เบื้องต้นจะเป็นการกล่าวถึง ความเป็นมาของพระพุทธรูป   จากนั้นจะกล่าวถึงมุมมอง ของ สัญลักษณ์แห่งศรัทธา หรือ พุทธพานิชย์  ทั้งนี้ โดยอาศัย การศึกษาค้าคว้า จากเอกสารที่มีท่านผู้รู้ได้เรียบเรียงไว้ก่อนหน้า  พระพุทธรูป  : สัญลักษณ์แห่งศรัทธา หรือพุทธพานิชย์ ที่ผู้เชียนได้ ค้นคว้าเรียบเรียงไว้ในบทความ ไปตามลำดับ คือ  ความเป็นมาของพระพุทธรูป สัญลักษณ์แห่งศรัทธา อะไร คือ พุทธพานิชย์ การเข้าถึงศรัทธาที่แท้จึง ต้องมีพระพุทธรูปหรือไม่

References

ภณกุล ภวคุณวรกิตติ์ (2555). พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย : กรณีศึกษาวัด ในจังหวัดนครปฐม, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม, บัณฑิต วิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฺฒโน และศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์. (2559). “มอดศาสนา” ภัยคุกคามที่พระสงฆ์อาเซียน ต้องระวัง. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. : หน้า 142-145.วารสาร มจร. การพัฒนาสังคม ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน- ธันวาคม ๒๕๖๑.

วีรยุทธ เกิดในมงคล. (2560). “รูปแบบและวิธีการทางธุรกิจกับพุทธพาณิชย์ในสถาบันพระพุทธศาสนา”. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๏ ปีที่ 24 ฉบับที่ 1.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. พระพุทธรูป วันที่ค้นข้อมูล 18 พฤศจิกายน 2562. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki /พระพุทธรูป

สัมภาษณ์
รศ. ดร. สรรเสริญ อินทรัตน์., อาจารย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, สัมภาษณ์, 20 สิงหาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24