หน้าที่ชาวพุทธ : ความรับผิดชอบของใคร
คำสำคัญ:
หน้าที่, ชาวพุทธ, ความรับผิดชอบบทคัดย่อ
ในโลกนี้มีศาสนาที่เกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ศาสนาจำนวนมากจะดำรงอยู่ได้นาน ก็เพราะมีหลักคำสอนที่ชัดเจนและมีสาวกผู้น้อมนำคำสอนไปประพฤติปฏิบัติตาม นำไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเพื่อถึงที่สุดแห่งคำสอนของศาสนานั้น ๆ แม้พระพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน เมื่อมีองค์พระศาสดาคือพระพุทธเจ้าผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนาแล้ว ก็มีสาวกที่น้อมรับคำสอนและเผยแพร่ให้กว้างขวางสืบมากว่า 2500 ปี เป็นที่ทราบกันดีว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้มอบให้ใครรับเป็นภาระหน้าที่ในการดำรงพระศาสดาต่อ แต่ได้มอบพระธรรมและวินัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้นั่นแหละให้เป็นพระศาสนา ฉะนั้นเหล่าสาวก ก็ได้ช่วยกันศึกษา ปฏิบัติและเผยแพร่พระธรรมและวินัย ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่าพระไตรปิฎกนั่นเอง นำสืบมาจนถึงปัจจุบัน แม้บางครั้ง เกิดความแตกต่าง มีนิกายต่าง ๆ เกิดขึ้น แต่เหล่าสาวก ก็ยังคงยึดอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง คือการละชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส สืบต่อพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน ก็ด้วยกำลังความสามัคคีของเหล่าพุทธบริษัท 4 นั่นเอง
References
กรมการศาสนา, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, เล่มที่ 4, 10, 11, 15, 20, 22, 23 พิมพ์เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี, กรุงเทพมหานคร, 2525.
ข้อมูลทุติยภูมิ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 40,กรุงเทพมหานคร;โรงพิมพ์ผลธัมม์ ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด, 2561.
พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ, ประวัติและพัฒนาการพระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 1,นครปฐม;สาละพิมพการ, 2562.ขอมูลจากสื่ออนไลน์
วิกิพีเดีย (2562). พุทธบริษัท 4 แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org เข้าถึงข้อมูลวันที่8 กันยายน 2563
สามารถ มังสัง (2556). พุทธบริษัท 4 แหล่งที่มาhttps://webcache.googleusercontent.com เข้าถึงข้อมูลวันที่ 8 กันยายน 2563
อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน,หน้าที่ของบริษัท 4 แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org เข้าถึงข้อมูล วันที่ 8 กันยายน 2563
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์