บ่อเกิดความรู้ในพุทธปรัชญา
คำสำคัญ:
บ่อเกิดความรู้, พุทธปรัชญาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาบ่อเกิดของความรู้ใน พุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาความหมายและประเภทของความรู้ กระบวนการเข้าถึงความรู้ คุณค่าของความรู้ที่มีต่อมนุษย์ ที่นับว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่และสลับซับซ้อนมากที่สุด ผลการศึกษา พบว่า เมื่อสังคมปัจจุบันได้เจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการผลิตวัตถุต่าง ๆ มาตอบสนองความต้องการของมนุษย์มาก เป็นกระบวนการนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตจริง คือ ฝึกฝนพัฒนาตนเอง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญาและสังคม ความรู้เกิดจาก กาย กับ จิต เป็นพื้นฐานที่อาศัยกัน ประกอบด้วย ความรู้ทางตา ความรู้ทางหู ความรู้ทางจมูก ความรู้ทางลิ้น ความรู้ทางกาย ความรู้ทางใจ เมื่อมีเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ประตูทั้งหกจะเห็นว่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ดี (กุศล) และไม่ดี (อกุศล) จะถูกเก็บไว้ในจิต กระนั้นกระบวนการทำงานของจิตก็มีหน้าที่ส่งต่อหรือเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมออกทางกายทั้งเรื่องดี (กุศล) และไม่ดี (อกุศล) ทั้งนี้จะเห็นว่าความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท เกิดจาก (1) สุตตมยปัญญา (2) จินตามยปัญญา (3) ภาวนามยปัญญา กระนั้นเมื่อประมวลความรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาทจะเห็นว่ามีเพียง 2 ระดับ คือ (1) ระดับโลกิยะ (2) ระดับโลกุตตระ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยภายนอก มีชื่อเรียกว่า ปรโตโฆสะและปัจจัยภายในมีชื่อเรียกว่า โยนิโสมนสิการ มีบทบาทที่สำคัญมากในกระบวนการศึกษาหรือการพัฒนาชีวิต เป็นแหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและการแก้ไขปัญหาทั้งหมด
References
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2555). ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้). นครปฐม : สาลพิมพการ.
เดือน คำดี. (2535). พุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติง เฮ้าส์.
บุญมี แท่นแก้ว. (2535). ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้). กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์.
พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2528). ทางเกิดของปัญญา. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564,
จาก https://www.payutto.net/book-content› ทางเกิดของปัญญา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 9).
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2529). ธรรมปริทัศน์ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร.
รศ.ดร.ลักษณะวัต ปาละรัตน์. (2554). พุทธญาณวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : หจก.
เม็ดทราย พริ้นติ้ง.
ลักษณ์วัต ปาละรัตน์. (2542). ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่?.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสง จันทร์งาม. (2535). พุทธศาสนวิทยา. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์