พัฒนาการของมนุษย์ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ สุทธิพรโอภาส

คำสำคัญ:

มนุษย์, พุทธปรัชญา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการของมนุษย์ ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ให้มีคุณค่าตามทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท จากการศึกษาพบว่า    การกำเนิดมนุษย์ขึ้นอยู่กับพลังของกฎแห่งกรรม และประเภทมนุษย์แตกต่างกันในด้านคุณภาพทางจิต กระบวนสำคัญที่ทำให้มนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาเป็นมนุษย์มีคุณค่า ฝึกอบรมปัญญาให้รู้แจ้งในอริยสัจ ละเหตุแห่งทุกข์ และเจริญแนวทางการพัฒนาให้มนุษย์มีคุณค่า 3 ประการ ตามหลักไตรสิกขา คือ

  1. ศีลภาวนา คือ การพัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล ควบคุมกาย วาจา ให้อยู่ในระเบียบวินัยไม่เบียดเบียน และอยู่ร่วมกันด้วยดีเกื้อกูลกัน
  2. สมาธิหรือจิตตภาวนา คือ การพัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข็มแข็งมั่นคงเจริญ งอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย
  3. ปัญญาภาวนา คือ การพัฒนาปัญญา การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจทั้งหลายตาม   ความเป็นจริง ตามสภาวะการณ์ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลส และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นๆได้ด้วยปัญญา บทความนี้มองที่ตนเองเป็นหลัก

References

พระไตรปิฎก กรมศาสนา (2525).พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์การศาสนา.เล่มที่ 1, 4, 12, 13, 18, 19, 22, 25, 28, 36, 37.
พุทธทาสภิกขุ. (2543) บางแง่มุมของมนุษย์ในทัศนะพุทธสาสภิกขุ เล่ม 1, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, หน้า 177-188.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต).(2540) ถึงเวลาพัฒนาคนกันใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา. หน้า 24.
ธรรมปิฎก, พระ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).(2544) ธรรมนูญชีวิตฉบับรับปรุงใหม่.พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ. : ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ราชบัณฑิตสถาน. (2546) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, หน้า 684.
อำพล บุดดาสาร, พระมหาสมบัติ คุเณสโก ดร.,พ.ต.ท. หญิงปิยะนุช ศรีสรานุกรม (2563) รากฐานการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์.วารสาร มจรบาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. (6/6 6/27).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21