ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านองค์การ ที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคกลาง

ผู้แต่ง

  • ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์

คำสำคัญ:

จจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านองค์การ ที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคกลาง

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านองค์การ ที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคกลาง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  และเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานระดับปฏิบัติการประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคกลาง จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น แบบสอบถามแบบปลายปิด (Closed-end Questionnaire) สำหรับกลุ่มตัวอย่าง และแบบสอบถามแบบปลายเปิด (Opened-end Questionnaire) สำหรับผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.วิชาชีพ) การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์หาค่าสถิติบรรยาย หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากการศึกษาวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเรื่องการจัดการความปลอดภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.852 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทัศนคติที่มีต่อความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 078 รองลงมา คือ ค่านิยม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.048 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.731 และการได้รับแรงจูงใจ ด้านความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.551 ตามลำดับ
  2. ปัจจัยทางด้านองค์การ พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความคิดเห็น เรื่องการจัดการความปลอดภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.880 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า บรรยากาศด้านความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 974 รองลงมาคือ การกำหนดนโยบาย และทิศทางองค์การ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.851 การจัดสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ และเครื่องมือในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.847 และการจัดให้มีการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.846 ตามลำดับ

ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ การรับรู้ ข้อมูลการข่าวสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน บรรยากาศด้านความปลอดภัย และการจัดสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ และเครื่องมือในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนทัศนคติที่มีต่อความปลอดภัย ค่านิยม การได้รับแรงจูงใจด้านความปลอดภัย การกำหนดนโยบาย และทิศทางองค์การ และการจัดให้มีการฝึกอบรม ไม่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน

References

กระทรวงสาธารณะสุข. (2535). กรมอนามัย. กองอาชีวอนามัย. คู่มือการปฏิบัติงานอาชีวอนามัยสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข
_________. (2537). กรมการแพทย์. สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุ และสาธารณภัย. สถิติอุบัติเหตุในประเทศ
ไทย.นนทบุรี : หจก.วชรินทร์สาสน์.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2538). ประกาศกระทรวงแรงงงานและสวัสดการสังคมเรื่องคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (เอกสาร).
_________. (2547). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ.2547. กรุงเทพมหานคร: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
_________. (2547). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร: กองตรวจความปลอดภัย.
_________. (2548). ระเบียบกรมสวัสดการ และคุ้มครองแรงงานว่าด้วยมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และการทดสอบการเรียนรู้ในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ พ.ศ.2548. กรุงเทพมหานคร: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (เอกสาร).
_________. (2548). การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานให้ครบวงจร: รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มแอดวานซ์รีเสิร์ช.
_________. (2549). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัยอา ชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549. กรุงเทพมหานคร : กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน. (เอกสาร)
กองตรวจความปลอดภัย. (2547). พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.
กองตรวจความปลอดภัยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2549). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานใน การบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549. กรุงเทพมหานคร : กองตรวจความปลอดภัย.
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2557). เอกสารแสดงข้อมูล รายการรายละเอียดการ จัดซื้อ/จัดจ้าง (TOR). กรุงเทพมหานคร : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 3 ภาคกลาง. (2555). ดัชนีการประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน. นครปฐม: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 3 ภาคกลาง
กันยา สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : รวมสาส์น (1977) จำกัด.
กิตติ อินทรานนท์. (2544). วิศวกรรมความปลอดภัย : พื้นฐานของวิศวกร. กรุงเทพมหานคร : สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.
เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์. (2533). ความปลอดภัยในการทำงาน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาอาชีวอนามัยหน่วยที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช, หน้า 71-72. นนทบุรี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
_________. (2540). ปรัชญาและแนวคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานความปลอดภัย, หน่วยที่ 1 (หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2537) น.20-21. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ และชัยยะ พงษ์พาณิช. (2531). เอกสารการสอนชุดวิชาอาชีวอนามัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชวลิต หมื่นนุช. (2540). ปัญหาสิ่งแวดล้อมในไทย แนวทางแก้ไขระดับนโยบาย. วารสารกฎหมายจุฬา, มกราคม-มีนาคม (5): 85.
ชวาล แพรัตนกุล. (2538). เทคนิคการวัดผล. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษา และจิตวิทยา.
ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล. (2534). อาชีวอนามัย เล่มที่ 1 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
_________. (2539). การฝึกปฏิบัติงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและเออร์โกโนมิคส์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
_________. (2539). คู่มืออุบัติเหตุเป็น “0” โดยวิธี KYT. กรุงเทพมหานคร : สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมแรงงาน กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย.
ชัยสวัสดิ์ เทียนวิบูลย์. (2535). ระบบความปลอดภัยในโรงงาน. กรุงเทพมหานคร. (อัดสำเนา)
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2528). การศึกษากับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา
ณัฐวัตร มนต์เทวัญ. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารความปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
_________. (2537). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยร้างแรงในงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
เทพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
ธีระ รามสูตร. (2535). แนวคิดและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). การวัด และประเมินผลการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร. B&B Plublishing.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2528). ทัศนคติ การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียสโตร์.
ปรมะ สตะเวทิน. (2538). หลักนิเทศศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
พีระ จิระโสภณ. (2529). ทฤษฎีเกี่ยวกับตัวแปรระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองในเอกสารการสอนชุดวิชาหลัก และทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พงศ์ หรดาล. (2545). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ม.ป.ท.ม.ป.พ.
พูนพร ศรีสะอาด. (2533). การศึกษาสภาวะของผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม. รายงานการฝึกภาคปฏิบัติ หลักสูตรสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ ทางการแพทย์ (ฝ่ายจิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพจิตร บุญยานุเคราะห์. (2534). นิยามและบทบาทของวิศวความปลอดภัย. วารสารโรงงาน. 10 ตุลาคม 2533 - มกราคม 2534 : 50-54.
มยุรี น่วมพิพัฒน์. (2540). พฤติกรรมการเปิดรับ ข่าวสารความปลอดภัยในการทำงานของ คนงานระดับปฏิบัติการ : ศึกษาเฉพาะกรณีอุตสาหกรรมการ ผลิตผลิตภัณฑ์ โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์. กรุงเทพมหานคร : คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รอง เจริญศิริ. (2530). นโยบายในการส่งเสริมกิจกรรมการฝึกอบรมและข้อมูลความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และสวัสดิการในสถานประกอบการ. เอกสารประกอบการสัมมนาไตรภาคี เรื่องการส่งเสริมความปลอดภัยสุขภาพอนามัย และสวัสดิการในการทำงาน.
รัจรี นพเกตุ. (2540). จิตวิทยาการรับรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ประกายพรึก.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2526). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์.
วัลลภ ลำพาย. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาตร์. กรุงเทพมหานคร:
วิโรจน์ เชาว์จิรพันธุ์. (2537). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “หลักการเทคโนโลยีสะอาดและเทคนิค การตรวจประเมินเบื้องต้น”, สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
วิวรรธน์กร สวัสดี. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานปฏิบัติการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ปิโตรเคมี จำกัด. สาขาวิชาการบริหาทั่วไป มหาวิทยาลับบูรพา.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2537). จิตวิทยาองค์การอุตสาหกรรม : การพัฒนาองค์กรและนววิศวกรรม. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี.
_________. (2539). จิตวิทยาองค์การอุตสาหกรรม : การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการเพิ่มผลิตภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วิฑูรย์ สิมะโชคดี และวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2547). วิศวกรรม และการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
_________. (2537). การควบคุมความปลอดภัยทั่วทั้งองค์กร. วารสารคุณภาพปีที่1. (กรกฎาคม – สิงหาคม). (หน้า 19) : ส.เอเซียเพรส.
_________. (2541). วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. กรุงเทพมหานคร : ส.เอเซียเพรส.
วิทยา อยู่สุข. (2527). อาชีวอนามัย : สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร : ชินอักษรการพิมพ์.
_________. (2533). การจัดการความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
_________. (2542). อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นำอักษร การพิมพ์.
วิทยา เมฆขำ. (2545). การบริหารความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
วีระ จันนิกร. (2527). อุบัติเหตุและความปลอดภัยในงาน. (หน้า 38-39) สารการท่าเรือแห่งประเทศไทย 21, 321
วีริศ จิรไชยภาส. (2541). การสร้างและพัฒนาแบบสอบถามวัดเจตคติด้านความปลอดภัยในการทำงานของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วนิดา เสนีเศรษฐ และชอบ อินทรประเสริฐกุล. (2530). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ. (2534). จิตวิทยาธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ศูนย์เทคโนโลยีความปลอดภัย. (2543). 5ส. สู่ความหมายกรุงเทพมหานคร : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
สราวุธ สุธรรมาสา. (2533). แนวคิดการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาบริหารงานความปลอดภัย. หน่วยที่ 3. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 85-87. นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สราวุธ สุธรรมาสา และคณะ. (2544). แนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้กับคณะกรรมการความปลอดภัยในโรงงานในประเทศไทย (Guideline for strengthening to safety committee in factory in Thailand). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงาน.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2542). ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : ข้อกำหนด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สมยศ ภวนานนท์. (เมษายน-มิถุนายน 2537). “การบริหารความปลอดภัยสมัยใหม่”. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม : 18 - 29.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2538). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. (กรุงเทพมหานคร) : ไทยวัฒนาพานิช
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2543). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุรพล พยอมแย้ม. (2541). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
_________. (2541). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กาญจนบุรี : สำนักพิมพ์ธรรมเมธี – สหายพัฒนาการพิมพ์.
โสภณ เสือพันธ์. (2538). [ออนไลน์]. ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม.รุงเทพมหานคร: เอมพันธ์. สถาบัน ความปลอดภัยในการทำงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. หน่วยฝึกอบรม/บริการ. http://www.oshthai.org/service_detail.aspx?cid=626.
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (2554). [ออนไลน์]. จำนวนการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานจำแนกตามความรุนแรงปี 2550-2554. สืบค้นวันที่ 11 กุมภาพันธ์2556, เข้าถึงได้จาก http://www.sso .go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/accidentanalyze54.pdf
Anton, T.J. (1989). Occupational Safety and Health Management. (2nd ed). McGraw Hill: New York, Book Company.
Atherley, Gordon R. C.(1978). Occupational health and safety concepts : chemical and processing hazards. London : Applied Science Publishers ltd., 1978.
Bateman, L.R., King, L.R. & Lewis, P. (1996). The Handbook of Health & Safety at work. London : McGraw Hill.
Bird, F.E. & German, G.L. (1991). Practical Loss Control Leadership. Geogia : International Loss Control Institute.
Cox, S & Cox, T. (1991). The Structure of Employee Attitudes to Safety. Journal of Work and Stree 5. 93-106.
Crowther, J. (1995). Oxford Advance Learning’s Dictionary. England : Clay Ltd.
Dedobbeleer, Nicole, and Pearl German. (1987). Safety practices in construction industry. Journal of Occupational Medicine 29, 11 (November): 8639868.
Dejoy, D.M. (1994). Managing Safety in the Workplace : An Attribution Theory Analysis and Model. Dissertation Abstracts International.
Gilmer, V. B. (1971). Industrial Psychology. New York : McGraw-Hill Book.
Goldberg, A.I., E. Dar and E. Rubin. Theat Perception and the Readiness to Participate in Safety Programs. Journal of Organizational Behavior. 12 (March 1991) : 109-122., 1991.
Guralnik, D.B. (1994). Webster’s New World Dictionary of American English. New York : Prentice Hall.
Heinrich, H.W. (1959). Industrial Accident Prevention. New York : McGraw-Hill
Janssens. M, Brett, J. M & Smith, F.J.(1995).Confirmatory Cross-Cultural Research Testing the Viability of a Corporation-wide Safety Policy. Academy of Management.
Klapper Joseph T. (1960). The Effects of Mass Communication. New York : The free Press.
Klonowicz, T & Sokolowska, J. (1993). Every Danger : Individual Difference, Accident Perception, and Safety Behavior. Journal of Polish Psychology Bullentin, 24, 51-61.
Heinrich, H.W.. (1959). Industrial accident prevention. (4th ed). Mc Graw-Hill. New York.
Holmes N., Triggs T.J., Gifford S.M. and Dawkins A.W. (1997). Occupational Injury Risk in a blue collar, small business industry: implications for prevention. Safety Science Vol.25 No.1-3, Elsevier Science Ltd.
Janssens, M., Brett, J.M, & Smith, F.J. (1995). Confirmatory cross-cultural research. Academy of Management Journal.
Kemm and Close. (1995). Health Promotion Theory and Practice. London : Mac Millian Press Ltd.
Kennedy, C.J.; Probart, C.K.; & Dorman, S.T. (1991). The Relationship between Random Knowledge, Concern and Behavior, and Health Value,Health Locus of Control, and Preventive Health Behavior. Health Education Quarterly. 18(3): 319-329.
Macay , Bruce Campbell. AIDS and Protection Motivation Theory (PMT) : Effects of Imagined Scenarios on Intent to use Condom . Michigan : A Bell and Howell Information Company,1992.
Martin Fishbein. (1967). Reading in Attitude Theory and Measurement. Ney York : John Wiley and Sons.
Meshkati, N. (1990). Preventing Accident at Oil and Chemical Plant Professionals Safety, 35, 59-65.
Niskanen, T. (1994) Assessing the Safety Environment in Work Organization of Road Maintenance Jobs. Accident Analysis and Prevention. 26 (February) : 27-39.
Ray, P.S. (1989). Determinants of Safe Behavior in Occupational Setting. P.1591. Pro Quest-Dissertation Abstract. 50.
Richard M Burton. (1999). Tension and Resistance to Change in Organizational Climate: Managerial Implications for a Fast paced World. Duke University.
Roger, Everett M.(1978). Communication Channels. Chicago : Rand MC.Nelly.
Rosenblum, E.H.; Stone, E.J.; & Skipper, B.E. (1981, November-December). Maternal Compliance in Immunization of Preschoolers as Related to Health Locus of Control, Health Value, and Perceived Valnerability. Nursing Research. 30 (6) : 338.
Sawacha, E., S. Naoum, and Fong. (1999). Factors Affecting Safty Performance on Construction Sites. International Journal of Project Management. 17(5)
Schultz and Schultz (1998). Develop by Job engagement. Schultz & Schultz Enterprises, Inc.
[online] :www.schultzandschultz.com/
Sharon Clarke. (2006). Safety climate in an automobile manufacturing plant: The effects of work environment, job comunication and safety attitudes on accidents and unsafe behavior. Personnel Review Vol.35 No.4, Emerald Group Publishing Ltd.
Spector, Rachel E. (2000). Cultural Diversity in Health & Illness. New Jersey: Prentice Hall Health.
Stringer.R. (2002). Leadership and organizational climate. New Jersey: McGraw-Hill.
Strickland, B. F. (1977). A study of factor affecting administrative unit of North California.
Dissertation Abstracts International, 23(12), 4598-4599.
Susan M. Heathfield. (2007). Top ten idea about What Employees want from work. Human Resource Journal.
Wolman, B. (1989). Dictionaly of Behvioral Science. (2nd ed). San Diego : Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24