มาตรฐานจริยธรรมของผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์

ผู้แต่ง

  • พัชมณ ใจสอาด

คำสำคัญ:

มาตรฐานจริยธรรม, ผู้รับใบอนุญาต, กิจการโทรทัศน์

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องมาตรฐานจริยธรรมของผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบมาตรฐานจริยธรรมของผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์ของไทยกับต่างประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลีย และญี่ปุ่น รวมทั้งศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานจริยธรรมของผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์ของไทย ตลอดหาแนวทางแก้ไขปัญหาและยกร่างกฎหมายที่เหมาะสมกับมาตรฐานจริยธรรมของผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์ วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเอกสารทางกฎหมายได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานจริยธรรมผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์ หนังสือหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลียและญี่ปุ่น ประกอบข้อมูลการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบธุรกิจในกิจการโทรทัศน์ นักวิชาการและประชาชนผู้บริโภครวมจำนวน 19 คน และการเสวนากลุ่มเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่เหมาะสมกับมาตรฐานจริยธรรมของผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์จำนวน 14 คน

          ผลการศึกษาพบว่า ประเทศสหราชอาณาจักร เครือรัฐออสเตรเลียและญี่ปุ่น ใช้รูปแบบการกำกับดูแลผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์โดยภาครัฐ (statutory regulation) โดยประเทศสหราชอาณาจักรมีคณะกรรมการ (Office of Communications (Ofcom)) เครือรัฐออสเตรเลียมีองค์การการสื่อสารและสื่อแห่งออสเตรเลีย (The Australian Communications and Media Authority (ACMA)) ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีกระทรวงมหาดไทยและการสื่อสาร (Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC)) เป็นองค์กรกำกับดูแลในส่วนที่เกี่ยวกับการรับใบอนุญาต เนื้อหาและผังรายการ และส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานจริยธรรมได้ใช้ระบบกำกับดูแลกันเอง (self -regulation) โดยใช้องค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐกำกับดูแล  ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ระบบกำกับดูแลร่วมกัน (co-regulation) มีคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (The Federal Communications Commission (FCC)) ทั้งในส่วนการอนุญาต เนื้อหาหรือผังรายการ ตลอดจนมาตรฐานจริยธรรมด้วย ในส่วนประเทศไทยนั้นมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กำกับดูแลการออกใบอนุญาต กำกับผังรายการ และเนื้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ แต่ยังไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมของผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์

ดังนั้น จึงควรนำระบบการกำกับดูแล 2 ระบบ กล่าวคือ การอนุญาตในกิจการโทรทัศน์ใช้ระบบการกำกับโดยภาครัฐ (statutory regulation) โดย กสทช. ส่วนการกำกับดูแลมาตรฐานจริยธรรมผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์ควรใช้ระบบกำกับดูแลกันเอง (self -regulation) โดยใช้องค์กรไม่ใช่ภาครัฐตามแบบประเทศสหราชอาณาจักร เครือรัฐออสเตรเลียและญี่ปุ่น ทั้งนี้จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ให้มีระบบและกลไกเกี่ยวกับมาตรฐานจริยธรรมผู้รับใบอนุญาตในกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทยต่อไป

 

References

ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน,กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบุ๊คส์
พับลิเคชั่น จำกัด, 2556.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(2556). ฐานข้อมูลองค์กรวิชาชีพและบทเรียนการควบคุมกันเอง ด้านจริยธรรมขององค์กร
วิชาชีพ.

ภาษาต่างประเทศ
The Office of Communications, Online Protection Report [Online], available URL:
http://www.ofcom.org.uk/research/telecoms/reports/onlineprotection/repor
t. 2556 (เมษายน, 13).
Office of Communications, Ofcom welcomes passing of Communications Act 2003,
(17 July 2003) Accessed 23 April 2019 [Online], Available URL:
https://www.ofcom.org.uk/about-ofcom/latest/media/media-
releases/2003/ofcom-welcomes-passing-of-communications-act-2003
TV Parental Guidelines, About us [Online], Available URL:
http://www.tvguidelines.org/aboutUs.html
Australian Communications and Media Authority, Register of broadcasting codes &
schemes index (13 February 2019) [Online], Available URL: https://www.acma.gov.au/theACMA/About/The-ACMA-story/Regulating/broadcasting-codes-schemes-index-radio-content-regulation-i-acma
JBA, “Broadcasting Ethics”, (n.d.) accessed on 21 April 2019 [Online], Available
URL: https://j-ba.or.jp/category/english/jba101019
กฎหมาย
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551.
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21