ปัจจัยในการเลือกใช้บริการด้านสุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือกของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • อุสุมา เบ็ญจคาร คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ตะวัน วิกรัยพัฒน์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ชนินทร์ วิชุลลตา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์
  • พรพนา ศรีสถานนท์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, สุขภาพ, แพทย์ทางเลือก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบการเลือกใช้บริการด้านสุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือกของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามลักษณะของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจ ประกอบด้วย ด้านส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคาสถานที่และการส่งเสริมการตลาดด้านพฤติกรรมด้านสุขภาพด้านความคาดหวัง ด้านผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและด้านการรับรู้เกี่ยวกับแพทย์ทางเลือก กับการเลือกใช้บริการด้านสุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือกของผู้บริโภคในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ใช้บริการจำนวน 385 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ   ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า 1)กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีการเลือกใช้บริการด้านสุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือกแตกต่างกัน 2) การเลือกใช้บริการด้านสุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือก มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง กับส่วนประสมทางการตลาด (r=.574)ความคาดหวัง (r=.603) และผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ (r=.686) การเลือกใช้บริการด้านสุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือกของผู้บริโภคในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ (r=.758)

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2554). คู่มือการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองการแพทย์ทางเลือก. (2562). แพทย์ทางเลือก. สืบค้นจาก https://thaicam.go.th/ความหมายของแพทย์ทางเลือก/ ( 30 พฤศจิกายน 2562)

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญชนก เทพปัน. (2560). การตัดสินใจเลือกใช้บริการแผนแผนไทยของประชาชนผู้ใช้บริการที่โรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 28(2).

ณัฐวรรณ วรพิสุทธิวงศ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วย การแพทย์แผนไทยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วรรณวิมล เมฆวิมล. ( 2553). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ฝึก ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อายุพร ประสิทธิเวชชากูร. (2557). สุขภาพทางเลือกกับมุมมองในการพิจารณาเลือกใช้ที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3), 38-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-07